จำหน่ายและติดตั้ง กล้องวงจรปิด CCTV FUJIKO KENPRO SAMSUNG PELCO PANASONIC LG MESSOA WATASHI บริการดูหน้างานประเมินราคาฟรีถึงที่ สอบถามรายละเอียดได้ที่ เลขที่ 200 ซอยบรมราชชนนี 70 ถนนบรมราชชนนี แขวงศาลาธรรมสพน์ เขตทวีวัฒนา กทม. 10170

 
โทร. 02-888-3507-8,  081-700-4715

Fax กล้องวงจรปิด cctv dvr ip camera แฟ็กซ์. 02-888-3199   E-mail กล้องวงจรปิด cctv dvr ip camera E-mail : Krittiwit@gmail.com

กล้องวงจรปิด cctv facebook icon
promotion kenpro

 

โปรโตคอลสำหรับ World Wide Web

การใช้งานในโลกของอินเตอร์เน็ตคงไม่มีใครปฏิเสธว่าการใช้งาน World Wide Web นั้นได้รับความนิยมมากที่สุดและเป็นผู้ปลุกกระแสการใช้งานอินเตอร์เน็ตให้ขยายตัวจากผู้ใช้งานคอมพิวเตอร์สู่ผู้ใช้งานทั่วไป สามารถใช้เป็นเครื่องมือในการค้นหาข้อมูลและบริการต่าง ๆ ของอินเตอร์เน็ตได้อย่างสะดวกและรวดเร็ว ดังนั้นจึงมีการพัฒนามาอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งยังสามารถใช้งานในแบบมัลติมีเดียได้ภายใต้เวิลด์ไวด์เว็บ บริการอื่น ๆ ภายใต้อินเตอร์เน็ตเช่น e-mail หรือ FTP (cctv) ก็สามารถใช้งานผ่านโปรแกรมบราวเซอร์ได้ทั้งสิ้น

โปรโตคอลสำหรับ    World   Wide  Web

- Host-to-Host layer การทำงานที่ชั้นของ Host-to-Host layer (กล้องวงจรปิด)นี้จะมีบทบาทในการจัดการต่อจาก Process layer โดยจุดที่เชื่อมกันเพื่อรับส่งข้อมูลนี้เรียกว่า port หรือ socket และในแต่ละแอพพลิเคชันก็จะสร้างการเชื่อมต่อผ่าน port ได้พร้อมกันหลายแอพพลิเคชัน ซึ่งการใช้งาน port ของแต่ละแอพพลิเคชันที่อยู่ในชั้น Process layer ในชั้น Host-to-Host จะมีโปรโตคอลทำงานอยู่ 2 โปรโตคอลที่แตกต่างกัน คือ โปรโตคอล TCP และโปรโตคอล UDP ในการส่งผ่านข้อมูลลงไปในที่ชั้นถัดไป โปรโตคอล TCP และ UDP จะถูกผนึกเข้าไปในโปรโตคอล IP และส่งต่อไปยังเครือข่ายอินเตอร์เน็ตต่อไป

- Internetwork layer มีหน้าที่ส่งผ่านข้อมูลในระหว่างเครือข่าย โดยมีโปรโตคอลที่ทำงานเป็นกลไกสำคัญในการส่งผ่านข้อมูลไปยังเครือข่ายบนอินเตอร์เน็ต คือ โปรโตคอล IP นอกจากนี้ในชั้น Internetwork layer ยังมีโปรโตคอลทำงานอยู่ด้วยอีก 2 ชนิด คือ โปรโตคอล Internet Control Message Protocol (ICMP) และโปรโตคอล Address Resolution Protocol (ARP)

- Network Interface layer การทำงานระดับล่างสุดต่อจาก Internetwork layer จะเป็นการแปลงข้อมูล IP datagram ให้อยู่ในรูปที่เหมาะสม และแปลงเป็นสัญญาณไฟฟ้าส่งไปยังเครือข่ายต่อไป ซึ่งในชั้น Network Interface layer นี้ เมื่อเทียบกับมาตรฐาน OSI model แล้วจะเป็นการรวม 2 layer เข้าด้วยกันคือ Data link layer และ Physical layer

กลไกของโปรโตคอล IP

การส่งผ่านข้อมูล หรือ IP datagram ไปยังเครือข่ายอินเตอร์เน็ตนั้น โปรโตคอล IP จะทำหน้าที่พิจารณาว่าปลายทางในการส่ง IP datagram นั้นจะเป็นภายในเครือข่ายของตนเองหรือจะต้องส่งข้อมูลข้ามเครือข่ายไปอีก โดยการพิจารณานี้โปรโตคอล IP จะตรวจสอบจากค่า IP address ปลายทางว่าส่วนที่เป็นค่าหมายเลขเครือข่ายจะเหมือนกับค่าหมายเลขเครือข่ายของ IP address ต้นทางหรือไม่ ถ้าค่าตรงกันแสดงว่าการส่งข้อมูลอยู่ภายในเครือข่ายเดียวกัน แต่ถ้าค่าต่างกัน แสดงว่าต้องส่งข้อมูลไปยังปลายทางที่อยู่คนละเครือข่ายกัน

โปรโตคอลสำหรับ    World   Wide  Web

การกำหนด IP address ให้กับอุปกรณ์

เราไม่จำเป็นต้องกำหนดหมายเลข IP address ให้กับอุปกรณ์ทุกชิ้นในเครือข่ายทั้งหมดก็ได้ แต่มีหลักอยู่ว่า เราจะต้องกำหนดหมายเลข IP address ให้กับจุดเชื่อมต่อเข้าสู่เครือข่ายทุกจุด อาจจะหมายถึง คาร์ด LAN ที่ติดตั้งในเครื่องเซิร์ฟเวอร์ที่ Router ใช้เชื่อมต่อเข้ากับเครือข่าย เป็นต้น การกำหนดหมายเลข IP address ให้กับจุดเชื่อมต่อนี้ทำให้เราเข้าใจได้ว่าในบางอุปกรณ์ที่มีจุดเชื่อมต่อเข้าเครือข่ายมากกว่าหนึ่งจุด

การ Bind IP address

การกำหนดหมายเลข IP address ให้กับจุดเชื่อมต่อ เช่น LAN card แล้ว ที่เครื่องเซิร์ฟเวอร์จะต้องมีการ bind หรือผนวกค่า IP address เข้ากับ Ethernet driver เพื่ออ้างอิงหมายเลข IP กับฮาร์ดแวร์ ให้ทำหน้าที่ติดต่อส่งข้อมูลระดับ network interface ได้ต่อไป

 

เทคโนโลยีพื้นฐานของเวิลด์ไวด์เว็บ

เทคโนโลยีพื้นฐานนี้จะครอบคลุมในเรื่องของความคิดและองค์ประกอบ และรวมทั้งโปรโตคอลที่ใช้งานอยู่ในอินเตอร์เน็ต พื้นฐานที่เกี่ยวกับ URL ที่ใช้ในการอ้างอิงถึงเว็บไซท์ต่าง ๆ HTTP ที่เป็นโปรโตคอลพื้นฐานที่ใช้ติดต่อกันระหว่างเว็บเซิร์ฟเวอร์และโปรแกรมบราวเซอร์ HTML ซึ่งเป็นภาษาพื้นฐานที่ใช้ในการสร้างเว็บเพจ และสุดท้ายเป็นเรื่องเกี่ยวกับ CGI ซึ่งเป็นแนวทางการพัฒนาโปรแกรมหรือภาษาสคริปต์ต่าง ๆ เพื่อร่วมใช้งานกับเวิลด์ไวด์เว็บ และรายละเอียดเหล่านนี้สามารถใช้เป็นพื้นฐานในการศึกษาที่ซับซ้อนมากขึ้น

URL (Uniform Resource Locator)

หลักการกำหนดชื่ออ้างอิงของทรัพยากรต่าง ๆ ที่อยู่ภายในเครือข่ายอินเตอร์เน็ต เทียบกับการจัดเก็บข้อมูลในคอมพิวเตอร์ทั่วไปก็คือ ชื่อของไฟล์ ชื่อของไดเร็คทอรี่ เป็นต้น แต่ URL ต้องรองรับการทำงานภายใต้เน็ตเวิร์ก ซึ่ง URL จะต้องสามารถบ่งบอกชื่อหรือแอดเดรสของเครื่องคอมพิวเตอร์ในเน็ตเวิร์ก โปรโตคอลที่ใช้งาน รวมทั้งพารามิเตอร์และออฟชั่นต่าง ๆ ด้วย

ส่วนเวิลด์ไวด์เว็บที่ใช้งานเว็บเพจต่าง ๆ URL สามารถระบุชื่อของเว็บเซิร์ฟเวอร์จนถึงที่เก็บไฟล์ HTML ของเว็บเพจนั้น ๆ คำสั่ง HTML โดยระบุเป็น URL ลงไป ช่วยให้บราวเซอร์ทำงานร่วมกับ HTML ในแบบไฮเปอร์เท็กซ์ได้ หน้าจอของโปรแกรมที่ใช้งานจะแสดง URL ที่อ้างถึงไว้ตลอดเวลาทำงาน เพื่อให้ผู้ใช้ทราบว่ากำลังใช้เว็บใดอยู่ บริการอี่น ๆ ก็สามารถอ้างถึงได้ในลักษณะของ URL เช่น การดาวน์โหลดไฟล์ด้วย FTP หรือการใช้งาน gopher ก็สามารถทำได้โดยระบุชื่อโปรโตคอลที่ต้องการใช้งานที่ URL กำหนดไว้

HTTP (HyperText Transfer Protocol)

โปรโตคอลหลักหรือกลไกที่แลกเปลี่ยนข้อมูลกันระหว่างเซิร์ฟเวอร์และไคลเอนท์ของเวิลด์ไวด์เว็บ ออกแบบมาให้มีความกระทัดรัด สามารถทำงานได้รวดเร็ว มีการทำงานที่ไม่ซับซ้อน และมีคำสั่งในการใช้งานไม่มากนัก แต่สามารถรองรับข้อมูลได้ทุกรูปแบบ หลักการทำงานโดยทั่วไปของ HTTP จะแบ่งการทำงานออกเป็น 2 ด้านคือ ด้านเว็บเซิร์ฟเวอร์ และด้านไคลเอนด์ โดยไคลเอนด์จะติดต่อเข้ามายังเซิร์ฟเวอร์โดยใช้โปรแกรมบราวเซอร์ อ้างถึงแอดเดรสของเซิร์ฟเวอร์รูปแบของ URL

โปรโตคอลสำหรับ    World   Wide  Web

HTTP มีโครงสร้างข้อมูลแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนเฮดเดอร์ หรือ metadata จะเป็นส่วนที่เก็บข้อมูลที่จำเป็นต้องใช้ภายในโปรโตคอล ส่วนที่สองเป็นข้อมูลจริงที่ต้องการรับส่ง ทั้งนี้ HTTP ออกแบบมาให้สามารถรับส่งข้อมูลผ่าน Proxy หรือ Firewall ต่าง ๆ ได้ การทำงาน HTTP จะอาศัยโปรโตคอลพื้นฐาน TCP / IP ซึ่งทั่วไปจะใช้หมายเลขพอร์ตที่ 80

ในปัจจุบัน HTTP ได้พัฒนาขึ้นมาเป็นเวอร์ชัน 1.1 ซึ่งโปรแกรมทั่วไปจะสามารถรองรับโปรโตคอลในเวอร์ชันใหม่ได้ และได้กำหนดไว้เป็นมาตรฐานใน RFC 2068 แล้ว และได้เพิ่มประสิทธิภาพการทำงานให้สูงขึ้น และปรับปรุงในด้านต่าง ๆ ที่ทำให้มีความสามารถมากขึ้นดังนี้

- ลดภาระของการเชื่อมต่อผ่านโปรโตคอล TCP และสามารถใช้ประสิทธิภาพของ TCP ได้อย่างเต็มที่ - สามารถทำการบีบอัดข้อมูลที่รับส่งระหว่างเซิร์ฟเวอร์และไคลเอนด์ได้

- รองรับการทำงาแบบ virtual host หมายถึงเว็บเซิร์ฟเวอร์เครื่องหนึ่ง ๆ มีชื่อโดเมนมากกว่าหนึ่งชื่อได้ - สามารถรองรับการทำงานได้หลายภาษา

- โอนไฟล์ข้อมูลเฉพาะบางส่วนได้ ซึ่งคุณสมบัตินี้จะมีประโยชน์มากในกรณีที่มีการโอนไฟล์ข้อมูลขนาดใหญ่ และเกิดปัญหาขึ้นระหว่างการทำงาน ซึ่งโปรโตคอล HTTP 1.1 มีจุดเด่นที่สามารถตรวจสอบได้ และโอนไฟล์ข้อมูลต่อจากส่วนที่เคยโอนมาแล้วได้

คำสั่งของโปรโตคอล HTTP

คำสั่งของ HTTP มีไม่มากนัก เพื่อให้สามารถใช้งานได้อย่างสะดวกและรวดเร็วโดยมีคำสั่งที่ใช้งานแพร่หลายอยู่เพียง 3 คำสั่ง คือ GET, HEAD, และ POST ส่วนคำสั่งอื่น ๆ อีก 4 คำสั่งคือ PUT, DELETE, LINK และ UNLINK มีให้ใช้งานเช่นกัน แต่ไม่เป็นที่นิยมมากนัก

HTML (HyperText Markup Language)

ผู้ที่พัฒนาโฮมเพจคุ้นเคยกันดี ได้แก่ HTML และเป็นภาษาที่ออกแบบมาเพื่อให้โปรแกรมบราวเซอร์สามารถเข้าใจ และทำงานได้ในแบบของไฮเปอร์เท็กซ์ ในการสร้างเพจและเก็บไว้ในเว็บเซิร์ฟเวอร์ เมื่อผู้ใช้ติดต่อใช้งานผ่านโปรแกรมบราวเซอร์ที่เครื่องไคลเอนด์ โดยระบุ URL ของเว็บเซิร์ฟเวอร์นั้น ๆ ไฟล์ html ที่เก็บไว้ในเว็บเซิร์ฟเวอร์ก็จะถูกส่งไปยังไคลเอนด์โดยใช้โปรโตคอล HTTP ให้ผู้ใช้ได้เห็นผ่านโปรแกรมบราวเซอร์ html มีพื้นฐานมาจากที่เรียกว่า SGML และ HTML ได้รับการออกแบบมาให้ใช้งานกับเว็บเพจที่ไม่มีการเปลี่ยนแปลงหรือเคลื่อนไหวในเพจนั้น ๆ

HTML เป็นภาษาที่ได้รับการพัฒนามาหลายเวอร์ชัน เดิมไม่มีมาตรฐานหรือรูปแบบการใช้งาน จนได้มีการกำหนดและยอมรับเป็นมาตรฐานขึ้น หน่วยงานที่ทำหน้าที่ดูแลมาตรฐานของ HTML เรียกว่า W3C และที่ใช้งานเป็นมาตรฐานกันมาเป็นเวลานานคือเวอร์ชัน 3.2 และปัจจุบันได้พัฒนาขึ้นมาเป็นเวอร์ชัน 4 ซึ่งสามารถใช้งานร่วมกับโปรแกรมบราวเซอร์ทั่วไปได้

Image Map

ในบางครั้งจะสังเกตได้ว่าในเว็บเพจต่าง ๆ ไม่ได้มีแต่ข้อความเท่านั้นที่สามารถคลิกต่อไปได้ รูปภาพบางรูปก็สามารถคลิกเพื่อแสดงข้อความอื่น ๆ ยิ่งกว่านั้นรูปภาพรูปเดียวกันยังสามารถแบ่งออกเป็นส่วนย่อย ๆ ที่สามารถที่จะคลิกแล้วลิงค์ไปยังที่ต่างกันได้อีกด้วย

หลักของ Image Map อ้างถึงตำแหน่งต่าง ๆ บนรูปภาพโดยใช้พิกัดตามพิกเซลของรูปภาพ คล้ายกับการกำหนดเส้นรุ้งเส้นแวงของแผนที่ จากพิกัดนี้จะประกอบกันเป็นรูปเหลี่ยมต่าง ๆ ดังนั้นยิ่งต้องการรูปหลายเหลี่ยมมากขึ้น ก็ต้องกำหนดจุดพิกเซลให้มากจุดขึ้น

Image Mape แบ่งออกเป็น 2 ประเภท ประเภทที่ทำงานในด้านเซิร์ฟเวอร์ และประเภทที่ทำงานในด้านไคลเอนด์ ซึ่งเทคโนโลยีในสมัยแรกจะเป็นการทำงานในด้านเซิร์ฟเวอร์ที่จะต้องคำนวณพิกัด ต่อมาในยุคหลัง ๆ ภาระการทำงานที่เกี่ยวข้องกับ Image Map ก็จะมาเป็นหน้าที่ของไคลเอนด์คือโปรแกรมบราวเซอร์แทน ซึ่งช่วยลดภาระการทำงานของเน็ตเวิร์กได้มาก และสามารถแสดงรูปภาพในแบบออฟไลน์ได้ด้วย

CGI (Common Gateway Interface)

การใช้งาน HTTP ที่ต้องการติดต่อกับเซิร์ฟเวอร์อื่นที่ไม่ใช่ HTTP เช่น การให้ไปค้นหาข้อมูลเซิร์ฟเวอร์อื่นที่เก็บฐานข้อมูลไว้ การทำงานในลักษณะนี้สามารถทำได้หลายวิธี แต่กลไกพื้นฐานที่ง่ายและสะดวกที่สุดคือการทำงานโดยใช้ CGI ซึ่งหลักการทำงานของ URL เมื่อ HTTP ได้รับคำสั่งก็จะเรียกไฟล์ CGI ขึ้นมาทำงาน ก็จะส่งผลลัพธ์การทำงานกลับให้ไคลเอนด์ ภาษาที่จะใช้ในการเขียน CGI นั้นก็เป็นประเภทภาษาสคริปต์ต่าง โดยให้โปรแกรมไปทำงานตามที่กำหนดไว้ และสร้างเป็นไฟล์ HTML ขึ้นมา ในการติดต่อกับ HTTP หรือเว็บเซิร์ฟเวอร์ของ CGI นั้น จะรับข้อมูลจากบราวเซอร์ผ่านมาที่เว็บเซิร์ฟเวอร์ โดย CGI ต้องอ่านข้อมูลจากอินพุตมาตรฐาน และเขียนข้อมูลลงเอาท์พุตมาตรฐาน จากนั้นเอาท์พุตก็จะถูกส่งมาแสดงผลที่จอภาพของบราวเซอร์โดยอัตโนมัติ

เทคโนโลยีของเว็บ - ด้านไคลเอนต์

เทคโนโลยีพื้นฐานต่าง ๆ ที่ใช้ในเรื่องของเวิล์ดไวด์เว็บ ในปัจจุบันได้มีการพัฒนาเทคโนโลยีเพิ่มขึ้นอีกมากมาย ที่เข้ามาช่วยเสริมการทำงานของการใช้เวิล์ดไวด์เว็บในด้านไคลเอนต์

MIME Helper Application

โปรแกรมบราวเซอร์ที่ทำงานทางฝั่งไคลเอนต์ จะรู้จักไฟล์เอกสารทั่วไปและไฟล์กราฟิกบางประเภท ไฟล์ที่ส่งมาจากเว็บเซิร์ฟเวอร์นี้จะถูกกำหนดไว้ที่ฟิลด์ในเฮดเดอร์ของโปรโตคอล HTTP แต่ไฟล์บางประเภทที่โปรแกรมบราวเซอร์ไม่รู้จัก เช่น ไฟล์ที่เป็นเสียง รวมทั้งไฟล์ที่สร้างจากโปรแกรมเฉพาะทางอื่น ๆ เมื่อบราวเซอร์ได้รับข้อมูลที่มีลักษณะเป็นไฟล์ที่ไม่รู้จัก จะไปค้นหาประเภทของไฟล์นั้นจากฐานข้อมูลของ MIME ฐานข้อมูล MIME นี้จะเก็บอยู่ในเครื่องที่เป็นไคลเอนต์ ซึ่งไฟล์นี้จะถูกสร้างและปรับปรุงด้วยโปรแกรมบราวเซอร์หรือระบบปฏิบัติการ แต่ในกรณีที่บราวเซอร์ค้นหาในฐานข้อมูลไม่พบ ก็จะปรากฏข้อความขึ้นเพื่อให้ผู้ใช้ระบุชื่อโปรแกรมที่จะใช้งานร่วมกับข้อมูลที่ได้รับมาแทน

HTTP Cookies

เทคนิคการใช้ Cookies ใช้โดย Netscape จะเป็นข้อมูลเล็ก ๆ ที่เก็บอยู่ในเครื่องไคลเอนด์ตามตำสั่งของเว็บเซิร์ฟเวอร์ เมื่อมีการกลับเข้าไปใช้งานเว็บไซท์เดิมอีกครั้งหนึ่งในภายหลัง Cookies ก็จะส่งข้อมูลเดิมกลับไปให้เว็บเซิร์ฟเวอร์ใช้งานอีกครั้ง เมื่อผู้ใช้ติดต่อเข้ามายังเว็บไซท์และลงทะเบียนไว้ เว็บเซิร์ฟเวอร์ก็จะส่งหมายเลขลงทะเบียนของผู้ใช้ผ่าน Cookies ไปเก็บไว้ที่ไคลเอนต์และเมื่อมีการติดต่อครั้งต่อไป ผู้ใช้ก็ไม่ต้องลงทะเบียนใหม่ แต่เพื่อความปลอดภัยในการใช้งาน ผู้ใช้สามารถกำหนดในโปรแกรมบราวเซอร์ได้ว่าจะยอมให้ Cookies ทำงานหรือไม่

การส่งข้อมูลของ Cookies จะมีการสร้างเฮดเดอร์ของโปรโตคอล HTTP ขึ้นมา 2 แบบคือ Cookies Header และ Set Cookies Header ครั้งแรกเว็บบราวเซอร์จะสั่งให้ไคลเอนต์บันทึก Cookies โดยส่งข้อมูลผ่าน

Set Cookies Header ต่อจากนั้นถ้ามีการติดต่อกลับมาที่เว็บไวท์นั้นอีกครั้งหรือเรียก URL ที่เกี่ยวเนื่องกับ Cookies บราวเซอร์จะส่ง Cookies กลับมาที่เซิร์ฟเวอร์โดยใช้ Cookies Header ซึ่งในเฮดเดอร์ของ Cookies นี้จะมีพร็อพเพอร์ตี้ที่ใช้กำหนดการทำงานต่าง

Client Pull และ Server Push

ปัจจุบันนี้ไม่เป็นที่นิยมมากนักในการใช้เทคนิค Client Pull and Server Push และโปรแกรมบราวเซอร์ก็ไม่ได้สนับสนุนการใช้งานนี้ทุกโปรแกรม แต่ก็ยังมีผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ ที่ได้พัฒนาโดยใช้เทคนิคนี้ มีการปรับปรุงให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ซึ่งในปัจจุบันได้ปรับปรุงขึ้นมาอีกหลายกลุ่ม

GIF Animation

เป็นกราฟิกไฟล์ที่ใช้กันอยู่ทั่วไป และสามารถแสดงผลเป็นรูปกราฟิกบนบราวเซอร์ได้ จึงได้มีการพัฒนาเทคโนโลยีสำหรับสร้างภาพเคลื่อนไหวขึ้นบนเว็บบราวเซอร์จากพื้นฐานไฟล์ GIF โดยปรับปรุงให้สามารถจัดเก็บข้อมูลในไฟล์ GIF หลาย ๆ รูปมารวมอยู่ในไฟล์เดียว แล้วบราวเซอร์จะเปลี่ยนรูปที่ปรากฏ ทำให้เห็นเป็นภาพเคลื่อนไหว ซึ่งเทคนิคนี้เรียกว่า GIF animation นิยมใช้ในการทำโฆษณาบนเว็บเพจ นอกจากนี้ยังเป็นเทคโนโลยีที่จัดทำได้ง่าย และราคาถูก แต่ข้อจำกัดของ GIF animation คือไม่สามารถแสดงผลในรูปของเสียงได้

PICS (Platform for Internet Content Selection)

บนอินเตอร์เน็ตนั้นมีข้อมูลข่าวสารต่าง ๆ มากมายมหาศาล ข้อมูลบางประเภทอาจไม่เหมาะสมสำหรับคนบางกลุ่ม เช่น ภาพอนาจาร ข้อมูลที่นำเสนอความรุนแรง เป็นต้น สำหรับการจำกัดผลกระทบจากสิ่งเหล่านี้ นอกจากการห้ามเผยแพร่หรือการเซ็นเซอร์ การกำหนดเรตติ้งจะเป็นการบ่งบอก ผู้ที่เหมาะสมหรือยอมให้เข้าไปดูข้อมูลข่าวสารนั้น ๆ ซึ่งเทคนิคนี้ก็จะถูกนำมาใช้กับข้อมูลบนเว็บเพจเช่นกัน อย่างเช่นที่เสนอและวางแนวทางเรียกว่า PICS (Platform for Internet Content Selection) ประกอบด้วย 2 ส่วนสำคัญคือ

- ลาเบล (Label) ตัวกำหนดลักษณะของข้อมูลว่าเกี่ยวกับอะไรหรือมีเนื้อหาอยู่ในระดับใด - Label reading software คือโปรแกรมหรือกลไกที่จะเลือกสรรหรือกำหนดว่าอะไรดูได้หรือไม่ได้ รวมทั้งอาจจะระบุด้วยว่าช่วงเวลาที่ดูได้ โดยพิจารณาจาก Label นั้น ๆ อีกทีหนึ่ง

การกำหนด Label ปัญหาของการให้เรตติ้งก็คือผู้ใช้หรือผู้ปกครองแต่ละคนมีมาตรฐานไม่เท่ากัน บางคนเห็นว่าบางเรื่องเป็นความรุนแรงระดับเล็กน้อยที่อาจยอมให้เด็กพบเห็นได้บ้าง ในขณะที่บางคนอาจหัวโบราณมากจนเห็นอะไรเป็นเรื่ออนาจารหรือเสื่อมเสียศีลธรรมไปหมด ในกรณีนี้ผู้ใช้อาจไม่เชื่อ Label ที่ผู้ผลิตกำหนดเอง

การควบคุมโดยอาศัยข้อมูลจาก Label นั้น โปรแกรมบราวเซอร์จะมีหน้าที่กลั่นกรองเรตติ้งนี้ และห้ามผู้ที่ไม่สมควรเข้ามาดูเว็บเพจนั้น ทั้งนี้ผู้ใช้อาจปรับแต่งความเข้มงวดของเงื่อนไขเองได้อีก ขึ้นอยู่กับว่าจะนำไปใช้อะไร และนอกจากนี้ในปัจจุบันคุณสมบัติที่ใช้ในการตรวจสอบ PICS – Label นี้จะถูกสร้างไว้ถาวรในอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ที่เกี่ยวกับการสื่อสารต่าง ๆ ด้วย เช่น โมเด็ม ด้วยเลย

CSS (Cascading Style Sheet)

เป็นกลไกที่ช่วยเสริมการทำงานของภาษา HTML โดยช่วยให้การกำหนดสไตล์ของเอกสารได้สะดวกขึ้น ในเรื่องของฟอนต์ สี ช่องไฟ ขอบด้านข้าง หรือรายละเอียดอื่น ๆ การทำงานของ CSS จะคล้ายกับการสร้างเทมเพลตให้กับการแสดงผลของเอกสาร HTML เทคนิคที่ใช้สร้าง CSS ทำได้หลายวิธี การกำหนด Style Sheet นี้สามารถใส่ไว้เป็นส่วนหนึ่งของไฟล์ HTML ได้โดยกำหนด Tag

XML (Extensible Markup Language)

เป็นอีกหนึ่งของการพัฒนาเอกสารที่แสดงบนเว็บเพจ ซึ่งได้รับการสนับสนุนจาก W3C แต่รายละเอียดของ XML นี้จะคำนึงถึงประเภทหรือแหล่งที่มาของข้อมูลต่าง ๆ ที่อยู่ภายใต้เว็บเซิร์ฟเวอร์ด้วย รูปแบบภาษาของ XML ได้รับการออกแบบมาเพื่อให้สามารถใช้งานได้เป็นสากลกับข้อมูลในทุกภาษา จึงใช้รูปแบบของรหัสข้อมูลเป็นแบบ UTF – 8 เป็นการเข้ารหัสที่พัฒนาขึ้นมาจากข้อกำหนด Unicode ซึ่งกำหนดให้แต่ละตัวอักษรมีขนาด 16 บิต รวมทั้งสัญลักษณ์ต่าง ๆ ด้วย

ในส่วนที่เกี่ยวกับระบบความปลอดภัยของ XML ก็ได้มีการจัดเตรียมไว้เช่นเดียวกับใน HTML โดยสามารถเข้ารหัสและถอดรหัสข้อมูลที่รับส่งด้วยโปรโตคอล HTTP หรือ เรียกว่า S-HTTP ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบัน และ XML ยังสนับสนุนเทคโนโลยีแบบของ MOSS หรือ MIME Object Security Service หรือเทคโนโลยีด้านการรักษาความปลอดภัยอื่น ๆ ในอนาคตอีกด้วย นอกจากนี้วิธีการต่าง ๆ ที่ใช้อยู่บนเว็บเพจในปัจจุบันที่สนับสนุน HTML ก็ได้จัดเตรียมไว้ใน XML ด้วย

 

line

ติดตามข่าวสารที่ LINE : @cctvbangkok

 


FUJIKO CCTV


KENPRO CCTV

PANASONIC CCTV


HIKVISION CCTV