บริษัท มีเดีย เสิร์ซ จำกัด

จำหน่ายและติดตั้ง กล้องวงจรปิด CCTV FUJIKO KENPRO JVC SAMSUNG PELCO PANASONIC LG MESSOA SANYO บริการดูหน้างานประเมินราคาฟรีถึงที่ สอบถามรายละเอียดได้ที่ เลขที่ 200 ซอยบรมราชชนนี 70 ถนนบรมราชชนนี แขวงศาลาธรรมสพน์ เขตทวีวัฒนา กทม. 10170

 
โทร. 02-888-3507-8,  081-700-4715

Line กล้องวงจรปิด cctv dvr ip camera @CctvBangkok.com   E-mail กล้องวงจรปิด cctv dvr ip camera contact@mediasearch.co.th

กล้องวงจรปิด cctv facebook icon
promotion kenpro

 

ความรู้เรื่องภัยที่เกิดจากการกระทำของคนโดยตั้งใจและการป้องกัน

 

4. ความรู้เรื่องภัยที่เกิดจากการกระทำของคนโดยตั้งใจและการป้องกัน
ภัยที่เกิดจากการกระทำของคนโดยตั้งใจ ทั้ง 4 กลุ่ม ได้แก่ การโจรกรรม การจารกรรม การก่อวินาศกรรม และการบ่อนทำลาย


ความรู้เรื่องภัยที่เกิดจากการกระทำของคนโดยตั้งใจและการป้องกัน


4.1 การโจรกรรม (pilferage and robber)

4.1.1 การโจรกรรมเป็นภัยที่รู้จักกันเป็นเรื่องธรรมดา เป็นภัยที่ทำให้เกิดปัญหาแก่เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย(CCTV)ของหน่วยงานและขององค์กรเป็นอย่างมาก ลักษณะของภัยจากการโจรกรรม มีทั้งการกระทำที่ รุนแรง และไม่รุนแรง เช่น จี้ปล้น การทุจริต ยักยอก การโจรกรรมที่รุนแรงจะเป็นที่สนใจของคนมากกว่า แต่การโจรกรรมที่ไม่รุนแรงกลับทำความเสียหายที่คิดเป็นจำนวนเงินมากกว่า

4.1.2 ความหมายของคำว่าการโจรกรรม
การโจรกรรมเป็นภัยที่ทำความเสียหายแก่หน่วยงานเอกชนและหน่วยงานราชการ ในระเบียบว่าด้วยการรักษาความปลอดภัย ก็ไม่ได้จำกัดความของคำว่า โจรกรรมไว้ อาจเพราะเห็นว่าการโจรกรรมไม่ใช่ภัยที่กระทบกระเทือนต่อความมั่นคงโดยตรง ดังนั้นจึงต้องศึกษาถึงความหมายลักษณะของการโจรกรรม และวิธีรักษาความปลอดภัยของหน่วยงานจากการโจรกรรมตามความเหมาะสม ความหมายของการโจรกรรมในแง่ของการรักษาความปลอดภัย ให้ความหมายของคำว่า โจรกรรม คือ การลัก การขโมย และการปล้น

หน้าที่ของการรักษาความปลอดภัย คือ การป้องกันอาชญากรรม (crime prevention) คำว่าอาชญกรรมนั้น ความหมายตามกฏหมายนั้นกว้าง หมายถึงการทำผิดกฏหมาย แยกเป็น 2 ประเภท การประทุษร้าย หรือการกระทำผิดต่อชีวิตและร่างกาย และความผิดที่เกี่ยวกับทรัย์สิน

4.1.3 องค์ประกอบของการโจรกรรม


ทำไหมคนจึงโจรกรรม ?

นักวิชาการทางอาชญาวิทยา กล่าว การที่พนักงานขโมยทรัพย์สินในบริษัท หรือโกงหน่วยงานของตนเอง ลูกค้าขโมยของในห้างหรือร้านค้า และการโจรกรรมอื่น ๆ มีเหตุจูงใจหลายอย่าง อาจสรุปเป็นสมการได้ดังนี้

ความต้องการ + การให้เหตุผล + โอกาสเปิด = การโจรกรรม

(need) (Justification) (opportunity) (theft of pilferage)

4.1.3.1 ความต้องการ (need)
แรงกระตุ้นที่ทำให้คน ๆ หนึ่ง เกิดความต้องการเงินหรือทรัพย์สินจนต้องทำการโจรกรรม

4.1.3.1.1 เป็นโรคขโมย ซึ่งเป็นโรคจิตชนิดหนึ่ง

4.1.3.1.2 มีปัญหาด้านการเงิน เกิดจากการติดการพนัน หนี้สิน ติดยาเสพติด

4.1.3.1.3 ปัญหาด้านสังคมจิตวิทยา บางคนขโมยเพราะ “ต้องการให้คนในกลุ่มยอมรับ” หรือบางคนขโมยเพื่อความตื่นเต้น หรือเพื่อสนองคำท้าทาย

4.1.3.1.4 ด้านการบริหารงาน ความรู้สึกว่าที่ทำอยู่ไม่มั่นคง เป็นแรงจูงใจให้พนักงานทุจริต หรือความสัมพันธ์ระหว่างผู้บริหารและพนักงานไม่ดีเท่าที่ควร การบริหารไม่มีประสิทธิภาพเกิดความรู้สึกว่าองค์กรไม่มั่นคงก็อาจนำมาซึ่งการทุจริตและเกิดการโจรกรรม

4.1.3.1.5 ปัญหาการควบคุมที่ไม่รัดกุม เกิดจาการบริหารงานไม่เป็นระเบียบไม่รัดกุม อาจกระตุ้นความอยากของคนทั้งภายในและนอกองค์กร เป็นการล่อใจให้เกิดการต้องการและการขโมย และการโจรกรรมเกิดขึ้น

4.1.3.1.6 ปัญหาส่วนตัวและเกี่ยวกับครอบครัว ซึ่งบางคนอาจจะมีปัญหาทางบ้าน เกิดจากการใช้จ่ายอย่างฟุ่มเฟือยของคนในครอบครัว

 

4.1.3.2 การให้เหตุผล (justification)
การให้เหตุผลกับตัวเองในการโจรกรรมเป็นอีกเหตุผลหนึ่งในสมการของการโจรกรรม ซึ่งส่วนมากเป็นเรื่องทางจิตวิทยา โดยทั่วไปถ้ามีความต้องการเพียงอย่างเดียวจะยังไม่ขโมย

4.1.3.2.1 เกิดจากการไม่ได้รับความเป็นธรรม พนักงานเกิดความรู้สึกว่าไม่ได้รับความเป็นธรรมจากการปฏิบัติของผู้บังคับบัญชาหรือหัวหน้างาน

4.1..3.2.2 เกิดจากการใช้วาจาหรือกิริยาที่ไม่เหมาะสมของผู้บริหาร และไม่ดูแลเกี่ยวกับเรื่องสวัสดิการ การแสดงอาการดูถูกดูหมิ่นไม่เป็นกันเอง อาจเป็นแรงผลักดันให้เกิดการทุจริต

4.1.3.2.3 การเอาอย่าง ภายในองค์กรหรือหน่วยงานถ้ามีการบริหารงานหรือการควบคุมไม่ดี อาจมีการขโมย การทุจริต การรั่วไหล ถ้าผู้บริหารเห็นเป็นเรื่องเล็กน้อยไม่แก้ไข ก็จะทำให้เกิดการขโมย หรือ การทุจริต โดยให้เหตุผลว่า “การทำอย่างนี้ใคร ๆ ก็ทำ”

4.1.3.2.4 การบริหารงานที่ไม่ซื่อสัตย์ เป็นแรงจูงใจอีกประการหนึ่งที่ผู้บริหารหรือหน่วยงานไม่ยอมรับ ซึ่งข้อเท็จจริงแล้วผู้บริหารอาจจะไม่ซื่อสัตย์เสียเอง และเป็นผลให้ลูกจ้างหรือพนักงานเกิดความรู้สึกว่าเขาก็ไม่จำเป็นต้องซื่อสัตย์ต่อนายจ้างเช่นกัน

 

4.1.3.3 โอกาสเปิด (opportumity)

เป็นองค์ประกอบส่วนหนึ่งที่สำคัญที่สุด ของการโจรกรรมภายในหน่วยงาน ส่วนมากเป็นการโจรกรรมที่ไม่รุนแรง ส่วนการโจรกรรมที่รุนแรงแม้จะมีการรักษาความปลอดภัยที่เข้มแข็ง นักโจรกรรมก็จะหาจุดอ่อนเพื่อหาวิธีโจรกรรม โอกาสเปิดมักเกิดขึ้นจาก “การรักษาความปลอดภัยที่บกพร่อง” ซึ่งเกิดจากมาตรการหรือการควบคุมไว้ไม่ดีเกิดความบกพร่อง ทำให้เกิดการโจรกรรมหรือลักขโมย ในแง่ของการรักษาความปลอดภัย ถือว่าการวางมาตรการในการรักษาความปลอดภัยต่าง ๆ เช่น การติดตั้งกล้องวงจรปิด นั้นทำเพื่อ “ลดโอกาส” ในการทุจริตหรือการลักขโมยถือเป็นวิธีการป้องกันที่ดีที่สุดซึ่งถือเป็นเรื่องจำเป็น

4.1.4 หลักและวิธีโจรกรรม
การทำการโจรกรรมนั้นมีมากมายหลายวิธีและเทคนิคในการทุจริตหรือลักขโมยให้เหมาะสมกับเหตุการณ์ สถานที่ สิ่งแวดล้อม และทรัพย์สินที่ทำการโจรกรรม เพื่อให้เกิดแนวคิดในการวางมาตรฐานการรักษาความปลอดภัยต่อการโจรกรรมทั่ว ๆ ไป ดังนี้

4.1.4.1 ประเภทของนักโจรกรรม
นักโจรกรรมโดยทั่วไป จะมีอยู่ 2 แบบ คือ นักโจรกรรมตามโอกาส และ นักโจรกรรมที่มีการวางแผน ซึ่งเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยจะต้องจดจำและจะต้องรู้จักลักษณะของพวกโจรกรรมทั้ง 2 ประเภทนี้ไว้เพื่อวางมาตรการการป้องกันทรัพย์สินให้พ้นจากพวกนักโจรกรรม

4.1.4.1.1 พวกนักโจรกรรมตามโอกาสหรือพวกนักโจรกรรมสมัครเล่น คือ พวกที่ลักขโมยเพราะไม่สามารถทนความต้านทานความยั่วยวนใจได้เนื่องจากโอกาสเปิด เพราะการรักษาความปลอดภัยเกิดบกพร่องหรือไม่มีระบบรักษาความปลอดภัย ส่วนมากมักจะขโมยของที่ไม่ได้ต้องการมาก่อนหรือคิดไว้ก่อน อาจจะเป็นของเล็ก ๆ น้อย ๆ เช่น เครื่องดื่ม อาหาร หรือของใช้ในบ้าน เป็นต้น
สรุปได้ว่า การโจรกรรมตามโอกาสจะเกิดขึ้นได้ทุกเมื่อ ถ้าเกิดความต้องการหรือปรารถนาอยากได้สิ่งของขึ้นมาทันทีทันใดและเมื่อมีโอกาส เพราะระบบการรักษาความปลอดภัยบกพร่อง

4.1.4.1.2 นักโจรกรรมที่มีการวางแผน มักจะวางแผนไว้ล่วงหน้าว่าจะขโมยทรัพย์สินเพื่อนำไปขายเป็นเงินหรือแลกเปลี่ยนเป็นสิ่งของที่นักโจรกรรมนั้นต้องการได้ นักโจรกรรมประเภทนี้มักจะมีการรวมงานกับคนอื่นเพื่อที่จะเข้าถึงทรัพย์สินที่ต้องการจะขโมยได้ อาจจะเป็นพนักงานหรือบุคคลในหน่วยงานนั้น ๆ อาจจะทำเป็นครั้งคราวหรือทำเป็นเดือนเป็นปี

4.1.4.2 ช่องทางและโอกาสในการโจรกรรม
การโจรกรรมอาจเกิดขึ้นได้ทุกโอกาสและทุกแห่ง ไม่ว่าทรัพย์สินจะเก็บไว้ในที่ใดหรือในคลังสินค้าก็ตาม ก็ยังถูกโจรกรรมอยู่ดี ถ้าไม่มีการรักษาความปลอดภัยที่ดีเพียงพอ
การโจรกรรมจะมีมากเพิ่มขึ้นถ้าทรัพย์สินนั้นมีการเคลื่อนย้ายที่ โอกาสของการโจรกรรมขณะที่ทรัพย์สินเคลื่อนที่ เช่น ระหว่างการขนส่งและจุดขนถ่ายสินค้าจะถูกโจรกรรมมากที่สุด ฉนั้นจะต้องมีการตรวจนับและเซ็นรับ-ส่ง หรือส่งมอบความรับผิดชอบเพราะถือเป็นจุดล่อแหลมต่อการโจรกรรมทั้งสิ้น เมื่อเกิดความต้องการหรือความอยากได้เกิดขึ้นและโอกาสเปิดทำให้เกิดการโจรกรรมขึ้นได้

4.1.4.3 ข้อพิจารณาในการโจรกรรม
ก่อนที่จะทำการโจรกรรม ทั้งประเภทตามโอกาสและที่มีการวางแผน ต้องคิดแก้ปัญหาให้ได้เพื่อการโจรกรรมให้สำเร็จตามความมุ่งหมาย ได้แก่

4.1.4.3.1 นักโจรกรรมต้องรู้และกำหนดว่าทรัพย์สินที่จะขโมยนั้นอยู่ที่ไหน หรือ พบทรัพย์สินเข้าโดยบังเอิญ จึงไม่ต้องพิจารณาในเรื่องนี้ แต่นักโจรกรรมมักจะมีแผนที่ซับซ้อนหรือใช้หลาย ๆ วิธีร่วมกันที่จะสามารถให้เข้าถึงทรัพย์สินได้

4.1.4.3.2 นักโจรกรรมต้องคิดหาวิธีเข้าถึงทรัพย์สินและเอาทรัพย์สินมากครอบครอง อาจใช้วิธีง่าย ๆ เช่น การงัดแงะ ย่องเบา นักโจรกรรมต้องศึกษาสถานที่ ระบบการปฏิบัติงาน และการรักษาความปลอดภัย เพื่อหาจุดอ่อนแล้วนำมาวางแผนเพื่อการโจรกรรม ส่วนนักโจรกรรมตามโอกาสที่ไปพบทรัพย์สินที่ไม่มีการรักษาความปลอดภัย ก็ไม่ต้องแก้ปัญหานี้ก็ได้

4.1.4.3.3 นักโจรกรรมต้องคิดถึงวิธีการนำทรัพย์สินออกจากสถานที่ อาจใช้วิธีการซุกซ่อนตามร่างกายหรือการซ่อนในรถยนต์หรือการปลอมแปลงใบผ่านออกไป

4.1.4.3.4 วิธีการนำทรัพย์สินที่โจรกรรมได้ไปใช้ประโยชน์ หรือเพื่อสนองความต้องการหรือนำไปจำหน่ายทางใดทางหนึ่งหรือนำไปขายตามตลาดมืด หรือโรงรับจำนำ

4.1.4.4 เป้าหมายของการโจรกรรมตามโอกาส มักจะเป็นทรัพย์สินที่เข้าถึงได้ง่าย และ ซ่อนง่าย นำ
ออกจากสถานที่ได้ง่าย ข้อพิจารณาที่สำคัญอีกข้อหนึ่ง นักโจรกรรมตามโอกาสไม่ได้มีความคิดที่จะขายทรัพย์สินที่ขโมยมาได้อยู่แล้วแต่จะนำไปใช้เอง ดังนั้นทรัพย์สินที่ไม่มีการดูแลและระวังรักษาย่อมถูกโจรกรรมได้ง่าย จึงเป็นเป้าหมายของนักโจรกรรมตามโอกาส ส่วนนักโจรกรรมแบบมีแผน มักจะขโมยทรัพย์สินที่เปลี่ยนเป็นเงินได้ เป้าหมายของนักโจรกรรมประเภทนี้จะขโมยทรัพย์สินที่มีขนาดเล็ก และมีราคาสูง มักจะเป็นเป้าหมายของนักโจรกรรมที่มีการวางแผน

4.1.4.5 วิธีโจรกรรม

การโจรกรรมเพื่อใช้เคลื่อนย้ายทรัพย์สินจากสถานที่มีอยู่หลายวิธี และจากมูลเหตุจูงใจและเป้าหมายที่นักโจรกรรมแต่ละประเภทเลือกใช้ก็แตกต่างกันไป วิธีการโจรกรรมแต่ละรายจึงแตกต่างกันด้วย วิธีการโจรกรรมตามโอกาสมักจะขโมยท รัพย์สินที่อยู่ใกล้มือ และเคลื่อนย้ายได้สะดวกซุกซ่อนได้ง่าย ส่วนการโจรกรรมที่มีการวางแผนจะเป็นวิธีที่ซับซ้อน ละมีวิธีต่าง ๆ สามารถพลิกแพลงไปตามความคิดของนักโจรกรรมแต่ละราย ซึ่งจะยกมาเป็นตัวอย่างให้เกิดแนวคิดป้องกันและวางมาตรการรักษาความปลอดภัย ดังนี้

4.1.4.5.1 การขนส่งทางรถยนต์ ขณะที่ขนถ่าย ขึ้น – ลง หรือการตรวจรับ เป็นการเสี่ยงภัยที่สุดสำหรับการโจรกรรมอย่างมีแผน เพราะพนักงานที่รับผิดชอบในการส่งหรือรับของกับพนักงานขับรถจะติดต่อกันโดยตรง อาจจะร่วมมือกันทุจริต และลักลอบนำของออกนอกสถานที่หรือทำหลักฐานปลอมตบตาเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย

4.1.4.5.2 การขนส่งทางรถไฟ ก็อาจทำได้ขณะขนถ่ายและการตรวจนับ เช่นเดียวกับทางรถยนต์หรืออาจจะสับเปลี่ยนรถ การทำให้ขบวนรถล่าช้าเพื่อการโจรกรรม และการสับเปลี่ยนรถระหว่างทางทำให้รถไฟไปไม่ถึงที่หมายได้ตามปกติ ซึ่งวิธีการเหล่านี้จะต้องมีผู้รวมมือมากขึ้น

4.1.4.5.3 กิจการขนส่งน้ำมัน รถบรรทุกน้ำมันอาจแก้ไขเพื่อการโจรกรรมน้ำมันระหว่างทางได้หลายวิธี เช่น ทำให้การถ่ายน้ำมันออกจเครื่องแสดงว่าน้ำมันหมดถังแล้วแต่จริง ๆ แล้วน้ำมันยังเหลืออยู่ หรือกุญแจผนึกฝาถังน้ำมันถอดออกได้โดยไม่มีร่องรอย เป็นต้น

4.1.4.5.4 การทิ้งและการเก็บขยะ เป็นอีกช่องทางหนึ่งสำหรับการโจรกรรมอย่างมีแผน เป็นการซ่อนของมีค่าในกองวัสดุที่ทิ้งในรถขนขยะ มีการสมรู้ร่วมคิดกับเจ้าหน้าที่ขนขยะ หรืออุปกรณ์ที่ยังใช้งานได้หรือเป็นของใหม่และแจ้งว่าเป็นของเสียและทิ้งไป เป็นต้น

4.1.4.5.5 วิธีการอื่น ๆ มีวิธีการอีกหลายวิธีที่นักโจรกรรมอย่างมีแผนนำมาใช้เพื่อเคลื่อนย้ายทรัพย์สิน เช่น การโยนของออกนอกรั้ว แล้วตามไปเก็บทีหลัง หรือ มีผู้สมรู้ร่วมคิดคอยอยู่ด้านนอก หรือบรรจุหีบห่อแล้วส่งออกด้วยระบบที่ถูกต้อง โดยวิธีอำพราง หรือทำหลักฐานเท็จโดยการร่วมมือของพนักงานรักษาความปลอดภัย

 

4.1.5 มาตรการป้องกันการโจรกรรม
มาตรการป้องกันการโจรกรรมเป็นเพียงคำแนะนำที่ผู้รับผิดชอบรักษาความปลอดภัยของหน่วยงานนำไปเป็นแนวทางวางแผนการป้องกันการโจรกรรมในสถานที่ความรับผิดชอบของตน เพื่อให้การป้องกันที่จะกำหนดขึ้นมีประสิทธิภาพควรตรวจสอบ และวิเคราะห์แต่ละสถานที่อย่างรอบคอบก่อนที่จะกำหนดมาตรการใด ๆ

4.1.5.1 การป้องกันการโจรกรรมตามโอกาส
การควบคุมการโจรกรรมตามโอกาสที่ปฏิบัติได้ผลดีที่สุด คือการป้องกันทางจิตวิทยา (psychological deterrents) ซึ่งมีอยู่หลายวิธีดังนี้

4.1.5.1.1 การตรวจค้น การค้นตัวบุคคลและยานพาหนะที่ออกไปนอกสถานที่ โดยไม่แจ้งเวลา สถานที่ และจุดตรวจค้นเป็นวิธีธรรมดาที่สุดที่ใช้ป้องกันพนักงานที่คิดจะทำการโจรกรรมให้เกิดความกลัวที่จะถูกจับได้
“การตรวจค้นเฉพาะจุด” ก็ตรวจสอบได้บ้างบางโอกาสแต่เพื่อให้เกิดผลดีต้องทำให้พนักงานและบุคคลอื่นทราบว่าถ้าใครเคลื่อนย้ายทรัพย์สินโดยมิชอบจะถูกจับกุม โดยออกเป็นคำสั่งและระเบียบเพื่อป้องกันการขัดแย้งระหว่างยามและผู้ถูกตรวจค้น ในการปฏิบัติต้องระมัดระวังความรู้สึกของพนักงานด้วย และไม่ให้เป็นการละเมิดสิทธิหรือทำให้ผู้อื่นเสื่อมเสียตามกฏหมายด้วย

4.1.5.1.2 โครงการศึกษาอบรม ให้พนักงานตระหนักว่าการขโมยและทุจริตนั้น มีทางเสียมากกว่าได้เป็นการผิดศีลธรรม และในการนี้อาจนำมาซึ่งคดีความด้วยพนักงานที่คิดจะโจรกรรมอาจถูกฟ้องและถูกไล่ออก วิธีที่ดีที่สุดคือการทำให้พนักงานตระหนักว่าการโจรกรรมไม่ว่าจะเป็นของเล็กหรือใหญ่จะมีมูลค่ามากหรือน้อยหรือเป็นของที่ไม่สำคัญก็เป็นเรื่องทิ่ผิดศีลธรรมทั้งสิ้น

4.1.5.1.3 ผู้บริหารทุกระดับจะต้องทำตัวเป็นตัวอย่างที่ดีแก่พนักงาน โดยการปฏิบัติตามระเบียบการรักษาความปลอดภัยของหน่วยงานที่วางไว้และคงไว้ซึ่งศีลธรรมอันดี

4.1.5.1.4 การอบรมพนักงานให้รู้สึกว่าเป็นหน้าที่และความรับผิดชอบที่จะต้องรายงานถึงการสูญหายของทรัพย์สินต่อผู้รับผิดชอบโดยตรงทันที่ที่รู้ว่าทรัพย์สินนั้นสูญหาย

4.1.5.1.5 การวางระเบียบการตรวจสอบบัญชี การตรวจนับตลอดจนระบบการควบคุม เครื่องมือ พัสดุ ทรัพย์สิน อย่างสม่ำเสมอ แม้ว่าจะเป็นทรัพย์สินที่ตรวจสอบได้ง่ายก็เป็นเหตุจูงใจที่สำคัญมาก ที่ทำให้นักโจรกรรมตามโอกาสถือโอกาสขโมยได้

4.1.5.1.6 การทำตำหนิหรือประทับตราทรัพย์สิน เครื่องมือเครื่องใช้ เพื่อทำการตรวจสอบได้ง่ายว่าเป็นทรัพย์สินของหน่วยงาน สำหรับทรัพย์สินที่ไม่สามารถประทับตราได้ ผู้ที่เบิกไปใช้ก็จะต้องเซ็นต์ชื่อรับไว้เป็นหลักฐาน วิธีนี้ช่วยลดโอกาสและแรงจูงใจที่จะนำทรัพย์สินของหน่วยงานไปเป็นของตนเอง
การกำหนดมาตรการป้องปรามนักโจรกรรมตามโอกาส ผู้รับผิดชอบการรักษาความปลอดภัยของหน่วยงานจะต้องไม่ลืมข้อเท็จจริงว่าพนักงานส่วนมากเป็นผู้ที่มีความซื่อสัตย์สุจริต ไม่ชอบการลักขโมย การให้ความยกย่องต่อกันระหว่างพนักงานและเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยจะต้องดำรงไว้ตลอดเวลาเพราะหน่วยงานจะต้องเผชิญหน้ากับภัยอื่นที่จะเกิดขึ้นและเป็นอันตรายมากกว่าการโจรกรรมอีกมาก มาตรการการรักษาความปลอดภัยที่ละเมิดสิทธิมนุษยชนของบุคคลอื่นแทนที่จะเป็นการส่งเสริมกลับเป็นการทำให้เกิดความเสียหายต่อการป้องกันเสียมากกว่า

4.1.5.2 มาตรการป้องกันการโจรกรรมย่างมีแผน
นักโจรกรรมอย่างมีแผนมักจะไม่กลัวการป้องกรามทางจิตวิทยาเหมือนกับนักโจรกรรมตามโอกาสเพราะตั้งใจที่จะขโมย ดังนั้น การป้องกันความเสียหายที่เกิดจากการโจรกรรมอย่างมีแผนจึงไม่มีอะไรที่จะดีกว่าการรักษาความปลอดภัย โดยเฉพาะการรักษาความปลอดภัยที่เกี่ยวกับสถานที่อย่างเข้มงวดและกวดขัน เช่น

4.1.5.2.1 การเฝ้าตรวจการรักษาความปลอดภัยตามช่องทางเข้า – ออก ของสถานที่ทุกช่องทาง

4.1.5.2.2 การจัดที่จอดรถให้อยู่ภายนอกรั้ว และกั้นขอบเขตสถานที่

4.1.5.2.3 การจัดสายตรวจตามอาคาร บริเวณ และสถานที่โดยรอบและพิจารณาพื้นที่ที่อาจจะเป็นที่ซุกซ่อนทรัพย์สินก่อนที่จะนำออกไปจากสถานที่

4.1.5.2.4 กำหนดให้มีการสร้างรั้ว การให้แสงสว่าง ตลอดจนการกำหนดวิธีการควบคุมความปลอดภัยที่มีประสิทธิภาพต่อประตู - เข้าออก สำหรับคนเดินเข้า - ออก รถยนต์ และรถไฟ

4.1.5.2.5 การติดตั้งสัญญาณตรวจผู้บุกรุกและแจ้งเหตุในพี้นที่ที่เหมาะสม

4.1.5.2.6 เก็บของที่ลักขโมยหรือโจรกรรมได้ง่ายและมีจำนวนมากไว้ในสถานที่ปิดและปลอดภัย และจ่ายให้กับหน่วยงานที่ใช้ได้อย่างรวดเร็ว

4.1.5.2.7 วางระบบการควบคุมกุญแจอย่างมีประสิทธิภาพ

4.1.5.2.8 วางระบบการควบคุมพัสดุและหีบห่อให้รัดกุมรอบคอบอย่างถี่ถ้วน

4.1.5.2.9 ประสานงานกับทางเจ้าหน้าที่พัสดุ เพื่อกำหนดให้รู้ว่าใครเป็นผู้มาติดต่อ เพื่อใช้ตรวจสอบความถูกต้องของเอกสารรับ – จ่าย สิ่งของและอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่คลังรวมทั้งช่องทางเข้า - ออก ต่าง

4.1.5.2.10 วางระบบการตรวจสอบ ตรวจบัญชี ให้ถี่ถ้วนทุกขั้นตอน นับตั้งแต่การจัดหา แจกจ่าย จำหน่าย และ เก็บรักษา

4.1.5.2.11 ตรวจสอบประวัติพนักงานก่อนที่จะบรรจุเข้าทำงานอย่างละเอียด

4.1.5.2.12 ตรวจสอบการสูญหายทั้งปวงทันที่ที่เกิดเหตุอย่างมีประสิทธิภาพ

4.1.5.2.13 การติดต่ออย่างใกล้ชิดกับเจ้าหน้าที่รักษากฏหมาย เช่น ตำรวจ สรรพากร และหน่วยงานอื่น ๆ

4.1.5.2.14 การประสานงานอย่างใกล้ชิดกับฝ่ายตรวจสอบภายใน และ ฝ่ายการพนักงาน เพื่อให้แน่ใจว่าเจ้าหน้าที่เหล่านั้นได้รับข่าวสารที่ถูกต้องเกี่ยวกับผู้กระทำผิด

4.1.6 ภัยจากการโจรกรรมโดยการตั้งใจของคน มีหลายรูปแบบ การศึกษารายละเอียดของการโจรกรรมแต่ละชนิดเป็นเรื่องของวิทยาการทางตำรวจและเป็นเรื่องของกฏหมาย ส่วนด้านการรักษาความปลอดภัยเราไม่จำเป็นต้องศึกษาทุกกรณี เพียงแต่ศึกษารูปแบบ เหตุจูงใจ และการโจรกรรมแบบกว้าง ๆ ซึ่งก็พอจะลดโอกาสของการโจรกรรมได้ทุกรูปแบบ




FUJIKO CCTV


SAMSUNG CCTV

SANYO CCTV


GANZ CCTV
เธซเธ?เน?เธฒเน?เธฃเธ?เธ?เธฅเน?เธญเธ?เธงเธ?เธ?เธฃเธ?เธดเธ” เน€เธ?เธตเน?เธขเธงเธ?เธฑเธ?เธ?เธฅเน?เธญเธ?เธงเธ?เธ?เธฃเธ?เธดเธ” เธชเธดเธ?เธ?เน?เธฒเธ?เธฅเน?เธญเธ?เธงเธ?เธ?เธฃเธ?เธดเธ” เธงเธดเธ?เธตเธ?เธฒเธฃเธ?เธณเธฃเธฐเน€เธ?เธดเธ?เธ?เธฅเน?เธญเธ?เธงเธ?เธ?เธฃเธ?เธดเธ” เธ•เธดเธ”เธ•เน?เธญเธ?เธฅเน?เธญเธ?เธงเธ?เธ?เธฃเธ?เธดเธ”

บริษัท มีเดีย เสิร์ซ จำกัด เลขที่ 200 ซอยบรมราชชนนี 70 ถนนบรมราชชนนี แขวงศาลาธรรมสพน์ เขตทวีวัฒนา กทม. 10170
Tel. 02-888-3507-8 Fax. 02-888-3199 E-mail: krittiwit@gmail.com
www.MediaSearch.co.th | www.CctvBangkok.com