สารจาก
ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
การเตรียมความพร้อมเพื่อรับมื กับการก่อการร้ายถือเป็นมาตรการที่จำเป็นและเร่งด่วนสำหรับสถานการณ์ในปัจจุบันเพื่อลดความ
สูญเสียทั้งชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนการฝึกฝนให้รู้จักการป้องกันภัยและการสร้างความร่วมแรงร่วมใจกันของทุกฝ่ายไม่เพียง
แต่จะช่วยให้ภัยก่อการร้ายไม่สามารถเข้ามาทำลายหรือสร้างความรุนแรงได้ แต่ยังก่อให้เกิดความสมัครสมานสามัคคื ปลุกจิตสำนึก
ให้เกิดความรักและหวงแหนชุมชน ร่วมกันดูแลสาธารณสมบัติและการรู้จักป้องกันตนเองบุคคลให้ครอบครัวและบุคคลในสังคมอีกด้วย
เพื่อส่งเสริมให้พี่น้องประชาชนตั้งมั่นอยู่ในความไม่ประมาท และลดการสูญเสียที่อาจจะเกิดขึ้นจากภัยการก่อการร้ายในรูปแบบต่างๆ
กรุงเทพมหานคร จึงได้จัดทำคู่มือ “คนกรุงฯ ร่วมใจ..ระวังภัยให้เมือง” ขึ้นเพื่อให้ประชาชนได้รู้เท่าทันเหตุการณ์ เข้ามามีส่วนร่วมในการป้องกันและแก้ไขสถานการณ์เบื้องต้นได้อย่างทันท่วงทีในขณะเดียวกันก็มีส่วนช่วยเหลือเจ้าหน้าที่ให้
สามารถปฏิบัติภารกิจได้อย่างมีประสิทธภาพรวดเร็วสร้างความมั่นคงปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินให้แก่พี่น้องประชาชนเพื่อให้
สามารถดำรงชีวิตอยู่ในสังคมเมืองด้วยความสุข และความอบอุ่นใจได้ตลอดไป
กรุงเทพฯ
เมืองปลอดภัยสังคม..เต็มไปด้วย..รอยยิ้ม
สภาพเศรษฐกิจและสังคมของประเทศไทยในปัจจุบันกำลังตกอยู่ในภาวะสับสนโดยมีปัจจัยทั้งภายในและภายนอกประเทศเข้ามา
กระทบอย่างต่อเนื่อง เริ่มจากเศรษฐกิจตกต่ำทั่วโลกการเมืองภายในยังไม่สงบส่งผลให้การค้าและการลงทุนซบเซา
ผู้ประกอบการบางรายปลดพนักงานออกในรายที่ได้รับผลกระทบมากถึงกับปิดกิจการไปก็มี ทำให้ปัญหาการว่างงานรุนแรงขึ้น เมื่อประชาชนขาดรายได้ จึงกลายเปนเงื่อนไขก่อให้เกิดปัญหา เช่น อาชญากรรม ยาเสพติด ฉก ชิง วิ่งราว จี้ ปล้นทรัพย์สิน...เพิ่มมากขึ้น
ประเด็นที่น่าวิตกสำหรับผลกระทบที่เกิดจากภาวะความไม่สมดุลของปัจจัยทั้งภายในและภายนอกประเทศก็คือ “ภัย”
ที่เกิดขึ้นกับประชาชน โดยเฉพาะชาวกรุงเทพมหานคร และต่างจังหวัด ที่มีความซับซ้อน รุนแรง และหลายรูปแบบ อย่างคาดไม่ถึง ซึ่งล้วนแต่ส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตประจำวัน อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ลำพังการแก้ไขปัญหาและมาตราการป้องกัน ทั้งจากภาครัฐและหน่วยงานในสังกัดกรุงเทพมหานคร คงจะไม่เพียงพอ เนื่องจากปริมาณเจ้าหน้าที่และงบประมาณมีจำกัด จึงจำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือจากภาคประชาชนให้เข้ามามีสวนร่วมในการป้องกันภัยในรูปแบบ ซึ่งกรุงเทพมหานครเชื่อว่า หากทุกฝ่ายร่วมมือกันเฝ้าระวังและป้องกันอย่างจริงจัง ภัย..ที่กำลังขยายตัวเพิ่มมากขึ้นจะค่อยๆ ลดปริมาณลง
กรุงเทพฯของเราก็จะเป็นเมืองน่าอยู่ ประชาชนปลอดภัย การค้าขายก้าวหน้า นักท่องเที่ยวอยากเดินทางเข้ามาพักผ่อน ซึ่งแน่นอนว่าสิ่งที่จะปรากฎให้เห็นก็คือ เมืองหลวงจะเต็มเปี่ยมไปด้วยบรรยากาศของเมืองแห่ง “ความสุข” และเต็มเปี่ยมไปด้วย ”รอยยิ้ม” ความสงบสุข ร่มเย็น และปลอดภัย ก็จะหวนคืนมาสู่วิถีชีวิตของคนกรุงเทพฯอีกครั้ง
ระวัง..และเตรียมพร้อมกันตั้งแต่ระดับครัวเรือนขยายไปสู่ระดับชุมชนและสังคม หากทุกคนทำได้กรุงเทพฯจะเป็นเมืองปลอด”ภัย”อย่างแท้จริง...
ป้องกัน”ภัย”
โจรกรรม - ลักทรัพย์ ในที่พักอาศัย
เพื่อความปลอดภัยของทรัพย์สินภายในบ้านขอแนะนำให้ปฏิบัติดังนี้
- ไม่ทิ้งบ้านไว้โดยไม่มีคนเฝ้าดูแลเป็นเวลานาน
- ก่อนออกจากบ้าน ต้องปิดประตู – หน้าต่างใส่กลอนล็อคกุญแจชนิดมั่นคง แข็งแรง ให้เรียบร้อย
- ผูกสัมพันธ์ที่ดีกับเพื่อนบ้าน เมื่อต้องออกจากบ้าน ให้ฝากบ้านเพื่อนบ้านช่วยดูแล และที่สำคัญไม่ควรเก็บทรัพย์สินมีค่า
หรือเงินสดไว้ในบ้าน
- ต้องไม่ปล่อยให้พื้นทีว่างเปล่าที่อยู่ติดกับที่พักอาศัย มีต้นไม้หรือหญ้าขึ้นสูง เพราะคนร้ายอาจใช้เป็นที่ซ่อนตัวเพื่อหลบหนี ช่วงกลางคืนควรเปิดไฟฟ้าให้มีแสงสว่างทั่วบริเวณบ้าน
- เลี้ยงสุนัขหรือสัตว์อื่นที่ส่งเสียงดังเพื่อช่วยเตือนภัย
- เมื่อมีผู้โทรศัพท์มาสอบถามว่า “มีใครอยู่บ้านบ้างหรือไม่” ให้ตอบว่า..”มีคนอยู่หลายคน” เพราะอาจเป็นกลลวง
เพื่อหาข้อมูลและโอกาสเข้าโจรกรรม
- ควรเล่ารายละเอียดเกี่ยวกับกลอุบายต่างๆ ของคนร้ายให้กับคนรับใช้หรือผู้ที่พักอาศัยทราบ เพื่อไม่ให้หลงเชื่อเล่ห์เหลี่ยมของคนร้าย
- การติดตั้งกล้องวงจรปิด CCTV IP CAMERA หรือสัญญาณกันขโมย แจ้งภัยควรใช้ระบบไซเรน เพราะคนร้ายมักกลัวเสียงดัง และทำให้เพื่อนบ้านใกล้เคียงทราบจะได้ช่วยเหลือทัน
- เมื่อไม่อยู่บ้านควรเปิดไฟระบบตั้งเวลาปิด – เปิด ทิ้งไว้ในห้องบ้าง เพื่อให้คนร้ายเข้าใจว่ามีคนอยู่ในบ้าน
- ก่อนเปิดประตูบ้านให้ผู้ใด ต้องตรวจดูให้แน่ใจว่าเป็นคนที่ท่านรู้จักหรือคุ้นเคยหรือไม่
- ต้องตรวจสอบบัตรประจำตัวของช่างซ่อม หรือตัวแทนของบริษัต่างๆ ทุกครั้งอย่ายินยอมให้เข้ามาในบ้านโดยไม่แน่ใจว่าเป็น
บุคคลตามที่อ้างตัวมาจริง
- จดจำตำหนิรูปพรรณคนแปลกหน้า หรือทะเบียนรถคันที่เข้ามาอยู่ในละแวกหมู่บ้านอย่างผิดสังเกต
- ให้หยุดรับหนังสือพิมพ์ กรณีไม่มีคนอยู่บ้านหลายวันเพราะหากไม่มีผู้ใดรับจะเป็นจุดสังเกตให้คนร้ายรู้ว่าไม่มีคนอยู่บ้าน
- ต้องมีสำเนาบัตรประชาชน,รูปถ่ายและรายละเอียดประวัติส่วนตัวของลูกจ้าง คนงาน หรือคนรับใช้ทุกคน
- เมื่อทราบเหตุหรือรู้ว่ามีคนร้ายเข้าบ้าน อย่าคิดจับตัวคนร้ายด้วยตนเอง เพราะอาจได้รับอันตราย
ควรขอความช่วยเหลือจากเพื่อนบ้าน รปภ. หรือแจ้งตำรวจให้ช่วยจับกุม...
เมื่อเกิดเหตุแล้ว..ห้ามเคลื่อนย้ายสิ่งของห้ามบุคคลที่ไม่ใช่เจ้าหน้าที่เข้าไปเกี่ยวข้องกับสถานที่เกิดเหตจนกว่าจะมี
การตรวจสอบและจัดเก็บพยาน – หลักฐานเรียบร้อยแล้ว แนะนำความจะมีกล้องวงจรปิด เพราะเดี่่ยวนี้กล้องวงจรปิด ราคาถูก
วิธีป้องกัน..”ภัย”
ฉก – ชิง – วิ่งราว – จี้ – ปล้น..ร้านค้า
ร้านค้าหรือสถานที่ประกอบการขนาดย่อมเป็นอีกเป้าหมายหนึ่งที่คนร้ายมักฉวยโอกาสเข้าปฏิบัติการ...ซึ่งวิธีป้องกันมีดังต่อไปนี้
- ไม่เปิดร้านหรือสำนักงานเช้าเกินไปขณะเดียวกันก็ไม่ปิดทำการจนค่ำหรือดึกดื่นแม้ว่าจะมีลูกค้ามาใช้บริการก็ตาม และขณะที่จะเปิดหรือกำลังจะปิดร้านค้าหากมีคนแปลกหน้ามาติดต่อการค้าต้องระวังเป็นพิเศษอาจเป็นคนร้ายที่รอจังหวะ
อยู่ก่อนหน้านี้อยู่แล้วควรรีบปฏิเสธ ด้วยการอ้าง ว่าปิดทำการแล้วหรือเพิ่งเปิดร้านยังไม่พร้อมบริการ..อย่าเสียดายลูกค้า หรือคิดว่าจะทำให้เสียฤกษ์การค้าในวันนั้นๆ
- หากพบว่ามีคนแปลกหน้าเดินวนเวียนไปมาหลายครั้ง หรือท่าทางมีพิรุธ..น่าสงสัย ควรรีบแจ้งเจ้าหน้าที่ตำรวจทันที
ควรติดตั้งกล้องวงจรปิด(CCTV IP CAMERA) เอาไว้หลายๆ จุด และหมั่นตรวจสอบการทำงานอย่างสม่ำเสมอ
- การติดสัญญาณกันขโมย แจ้งภัย ต้องทำปุ่มกดสัญญาณเอาไว้หลายๆจุด เพื่อให้คนในบ้านที่ไม่ได้อยู่ในจุดเกิดเหตุช่วยกดสัญญาณได้
- การจ้างคนงานหรือพนักงาน ต้องมีรายละเอียดเกี่ยวกับประวัติส่วนตัวที่ชัดเจน และตรวจสอบความถูกต้องก่อนรับเข้าทำงานเสมอ
- ไม่ควรติดกลอนประตู หรือกลอนหน้าต่างด้านนอกเพราะคนร้ายจะใช้เป็นห้องขังเจ้าของได้
- ไม่ควรปล่อยให้พนักงานอยู่ดูแลร้านเพียงคนเดียว เมื่อต้องหยิบสินค้าหรือสิ่งของจากหลังร้านควรมีผู้อยู่ดูแลหน้าร้าน หรืออยู่กับลูกค้าตลอดเวลา และควรระวังเป็นพิเศษเมื่อมีลูกค้าเข้ามาพร้อมกันคราวละหลายคน
- ผูกมิตรกับร้านค้าใกล้เคียง ให้ช่วยเป็นหูเป็นตาและให้ความช่วยเหลือซึ่งกันและกัน
- ไม่ปล่อยให้มีเพียงเด็กหรือสตรีดูแลสถานประกอบการเพียงลำพัง
- จัดหาสถานที่ให้สามารถมองเห็นได้จากภายนอกไม่อับทึบหรืออับสายตาจนเกินไป
- เมื่อเกิดเหตุพยายามสงบสติอารมณ์ แล้วจดจำตำหนิรูปพรรณของคนร้าย การแต่งกาย อาวุธ พาหนะ และเส้นทางหลบหนีให้ชัดเจน..
|