งานติดตั้งกล้องวงจรปิด (CCTV) กับหลักการสำคัญในการสอบสวนอุบัติเหตุ
1.ผู้ทำหน้าทีสอบสวนจะต้องเป็นผู้มีความคิดอ่านและสามัญสำนึกที่ชัดแจ้งและเป็นธรรม
2.ผู้ทำหน้าที่สอบสวนจะต้องเป็นผู้ที่มีความรู้ ความคุ้นเคยกับงานติดตั้งกล้องวงจรปิดทุกขั้นตอน เครื่องจักรเครื่องมือ คนงาน ตลอดจนสภาพแวดล้อมต่างๆ ในการทำงานของแผนกที่เกิดอุบัติเหตุ
3.ผู้ทำการสอบสวนไม่ควรจะเป็นผู้ใต้บังคับบัญชาของหัวหน้างานหรือผู้ควบคุมงานในแผนกที่เกิดอุบัติเหตุ
4.การสอบสวนจะต้องกระทำทันทีภายหลังเกิดอุบัติเหตุ หรือภายในเวลาที่เร็วที่สุดเพื่อให้ได้ข้อเท็จจริงที่ถูกต้อง และพยานผู้เห็นเหตุการณ์ยังไม่ลืมรายละเอียดที่สำคัญต่างๆ
5.สิ่งต่างๆ ที่มีโอกาสก่อให้เกิดอุบัติเหตุ จะต้องถูกสอบสวนอย่างละเอียดถี่ถ้วน
6.สภาพการณ์ที่ไม่ปลอดภัยหรืออันตรายต่อการทำงาน (Unsafe Conditions) สามารถที่จะกำจัดให้หมดไปหรือเหลือน้อยที่สุดได้ และสมควรที่จะหาวิธีที่ถูกต้องเหมาะสมสำหรับการทำงานอย่างปลอดภัยต่อไปด้วย
7.การสอบสวนอุบัติเหตุควรจะกระทำเป็นกลุ่มหรือคณะทำงาน เพื่อให้ได้มาซึ่งสาเหตุที่แท้จริงและมาตรการป้องกันในอนาคต
8.การสอบสวนอุบัติเหตุจะเสร็จสมบูรณ์ต่อเมื่อมีการรายงานและเสนอแนะแนวทางแก้ไขป้องกันเพื่อมิให้เกิดซ้ำแล้วเท่านั้น
ผลที่ได้จากการสอบสวนอุบัติเหตุ
ภายหลังจากการสอบสวนอุบัติเหตุในงานติดตั้งกล้องวงจรปิด ผู้ทำหน้าที่สอบสวนจะต้องตอบคำถามดังต่อไปนี้
1.เกิดเหตุการณ์อะไรขึ้น (What happen?)
2.ทำไมถึงเกิดเหตุการณ์นั้น (Why it happened)
3.ใครจะเป็นผู้ที่เหมาะสมที่สุดในการแก้ไขป้องกันการเกิดอุบัติเหตุเช่นเดียวกันนี้ซ้ำอีกในอนาคต (Who will take action)
4.มีข้อเสนอแนะอะไรบ้างซึ่งผู้ทำหน้าที่สอบสวนอุบัติเหตุได้เสนอมาเพื่อป้องกันการเกิดเหตุการณ์ซ้ำอีก (What recommendations)
5.จะสามารถดำเนินการแก้ไขป้องกันตามข้อเสนอแนะในเวลาเร็วเพียงใด (How Soon?)
การบันทึกและรายงานอุบัติเหตุ (Accident Record and Reports)
วัตถุประสงค์
1.เพื่อเก็บรวบรวมข้อมูลและสถิติในการเกิดอุบัติเหตุในระหว่างดำเนินงานติดตั้งกล้องวงจรปิด การจ่ายเงินทดแทน การวิเคราะห์ และการสอบสวนอุบัติเหตุ
2.เพื่อเป็นแนวทางในการดำเนินงานป้องกันอุบัติเหตุ
หลักการบันทึกและรายงานอุบัติเหตุ
1.จะต้องมีการบันทึกและรายงานการเกิดอุบัติเหตุทุกครั้ง
2.รายงานจะต้องประกอบด้วยหัวข้อที่เกี่ยวข้องกับการวิเคราะห์เหตุการณ์ กรสอบสวนสาเหตุของการเกิดอุบัติเหตุ ข้อเสนอแนะในการแก้ไขป้องกัน และการสั่งการของฝ่ายบริหาร
3.รายงานอุบัติเหตุจะต้องมีลักษณะง่ายต่อการรวบรวมหรือแยกประเภทตามลักษณะของสาเหตุหรือการบาดเจ็บ เพื่อประโยชน์ในทางสถิติและวิเคราะห์ใช้ในการป้องกันอุบัติเหตุ การจ่ายเงินทดแทนและอื่นๆ ต่อไป
ประเภทของรายงาน
1.รายงานการปฐมพยาบาลเกี่ยวกับการบาดเจ็บจากอุบัติเหตุจากห้องพยาบาลของโรงงานหรือจากสถานพยาบาลภายนอก
2.รายงานอุบัติเหตุของหัวหน้างานหรือผู้ควบคุมงาน ซึ่งต้องทำทุกครั้งภายหลังการเกิดอุบัติเหตุ
3.รายงานอุบัติเหตุประจำเดือน
4.รายงานสรุปประจำปี การบันทึกและรายงานอุบัติเหตุจะต้องคลอบคลุมถึงรายละเอียดของคำถาม 5W และ 1H ดังนี้
Who : ผู้ได้รับบาดเจ็บ (ชื่อ-สกุล, อายุ, เพศ ฯลฯ)
When : เวลาที่เกิดอุบัติเหตุ (วันที่ เวลา กะทำงาน)
Where : สถานที่หรือบริเวณที่เกิดอุบัติเหตุ (แผนก หรือพื้นที่ใดของโรงงาน)
What : เกิดอะไรขึ้น (บรรยายรายละเอียดของเหตุการณ์ตามลำดับก่อนหลังและวาดรูปภาพที่จำเป็น)
How : คนงานได้รับบาดเจ็บอย่างไร (ลักษณะของการบาดเจ็บ ส่วนของร่างกาย)
Why : ทำไมถึงเกิดอุบัติเหตุขึ้น (สอบสวนหาสาเหตุ)
ติดตามข่าวสารที่ LINE : @cctcbangkok
|