การรักษาความปลอดภัยในการจราจรทางบกทำได้อย่างไร?
ความปลอดภัยในการจราจร
“การจราจร” เป็นการใช้เส้นทางของคนโดยทั่วไป สัตว์พาหนะ หรือ ยวดยานพาหนะ ที่เคลื่อนไป มา ตามเส้นทางทั้งทางบก ทางน้ำ และทางอากาศ
การศึกษาเรื่องความปบอดภัยหรือสวัสดิภาพในการใช้เส้นทาง ประกอบด้วย 3 ด้าน ดังนี้
1. ความปลอดภัยในการจราจรทางบก
2. ความปลอดภัยในการจราจรทางน้ำ
3. ความปลอดภัยในการจราจรทางอากาศ
สาเหตุของการเกิดอุบัติเหตุในการจราจรทางบก
การเกิดอุบัติเหตุขึ้นนั้น เกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุด้วยกัน จะเห็นได้ว่ามักเกิดจากสาเหตุที่สำคัญ 3 ประการ ดังนี้
1. บุคคล
2. สิ่งแวดล้อม
3. กฎหมาย
สาเหตุที่มาจากบุคคล มักเกิดจากผู้ขับขี่ยวดยานพาหนะ คนเดินเท้า ผู้โดยสาร หรือแม้แต่สัตว์เลี้ยงต่าง ๆ ซึ่งอาจเกิดจากสาเหตุดังนี้ ความบกพร่องของร่างกาย ทางด้านจิตใจและอารมณ์ ขาดความรู้และความชำนาญ ไม่ปฏิบัติตามกฎระเบียบหรือข้อบังคับ การขาดความระมัดระวัง ความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ รวมถึงการไม่รู้จักป้องกันตนเอง
สาเหตุที่มาจากสิ่งแวดล้อม ก็เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุเช่นกัน ได้แก่ สภาพของรถ สภาพของถนนรวมถึงทางเท้า และ ดิน ฟ้า อากาศด้วย เช่น ยางระเบิด เบรกแตก อุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับรถชำรุดหรือเกิดการขัดข้อง บริเวณต่าง ๆ ของถนนหนทาง ทางโค้ง ทางแยก ทาเบี่ยง ถนนเป็นหลุมเป็นบ่อ แสงสว่างของถนนไม่เพียงพอ สภาพอากาศแปรปรวน ฝนตกหนัก น้ำท่วม หรือการเกิดพายุหรือหมอกลงจัด
สาเหตุจากกฎหมาย ก็มีส่วนเกี่ยวข้องกับการเกิดอุบัติเหตุ ดังนี้ การขาดการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนได้รับทราบเกี่ยวกับข้อบังคับ และบทลงโทษหรือค่าปรับที่ไม่เหมาะสม การที่ไม่กำหนดเพศ อายุสูงสุดของผู้ขับขี่ ขาดการกวดขัน จับกุม หรือไม่จริงจังเข้มงวดในการพิจารณากับผู้กระทำความผิด ก็เป็นสาเหตุที่ทำให้ผู้ขับขี่ใช้ถนนตามความพอใจซึ่งมักจะทำให้เกิดอุบัติได้
การป้องกันอุบัติเหตุในการจราจรทางบก
เราสามารถป้องกันอุบัติเหตุที่เกิดกับจราจรทางบกได้ ดังต่อไปนี้
1. ด้านบุคคล ควรพิจารณาในเรื่องของสุขภาพ การศึกษา และความปลอดภัยในการขับขี่ การโดยสาร และการเดินเท้า เช่น ผู้ขับขี่จะต้องรักษาสุขภาพให้แข็งแรงอยู่เสมอ ไม่มีโรคประจำตัว ควรศึกษาหาความรู้และการถ่ายทอดความรู้ให้แก่ทุกคนในเรื่องความปลอดภัยในการจราจร รวมความรู้ในการขับขี่ยานพาหนะ รถยนต์ รถจักรยานยนต์ ต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า 18 ปี และต้องได้รับใบอนุญาตขับรถก่อนการใช้รถ ตรวจสภาพทุกครั้งก่อนใช้งานหรือการนำออกไปใช้ ปฏิบัติตามกฎข้อบังคับอย่างเคร่งครัด การเดินข้ามถนนที่ทางม้าลาย หรือในช่องทางที่กำหนด
2. ด้านสิ่งแวดล้อม การป้องกันเกี่ยวกับสภาพยวดยานพาหนะ สภาพถนนและสภาพดินฟ้าอากาศ เช่น ความบกพร่อง หรือความผิดปกติของยวดยานพาหนะ การตรวจสภาพยวดยานพาหนะอย่างสม่ำเสมอ ไม่ควรนำรถที่มีสภาพไม่พร้อมหรือชำรุดไม่ปลอดภัยมาใช้ รวมถึงสภาพถนนที่ปลอดภัยนั้นย่อมขึ้นอยู่กับการออกแบบ ทางแยก ทางเชื่อม ลักษณะผิวการจราจร เครื่องหมายจราจร หรือสัญญาณต่าง ๆ สภาพแสงสว่างบนท้องถนน เพื่อความปลอดภัย ควรพิจารณาถึงสิ่งเหล่านี้ด้วย อีกข้อที่ไม่ควรมองข้ามสภาพดินฟ้าอากาศเป็นเรื่องธรรมชาติที่ไม่สามารถควบคุมได้ เช่น ฝนตก น้ำท่วม หมอกลง ไม่ติดตั้งกล้องวงจรปิด CCTV ผู้ขับขี่ควรระมัดระวังหรือหลีกเลี่ยงเพราะอาจก่อให้เกิดอุบัติเหตุได้
3. ด้านกฎหมาย การป้องกันอุบัติเหตุทางจราจรทางบกที่สำคัญอีกประการหนึ่งคือทางด้านกฎหมาย เช่น ควรออกกฎหมายให้ผู้ใช้รถใช้ถนนปฏิบัติเพื่อความปลอดภัย ถ้ามีการทำผิดกฎระเบียบข้อปฏิบัติควรส่งฟ้องศาล หรือให้เจ้าหน้าที่รักษากฎหมายดูแลและลงโทษผู้กระทำความผิดอย่างจริงจัง รวมถึงผุ้ใช้รถใช้ถนนก็ควรให้ความร่วมมือในการสร้างระเบียบวินับและความปลอดภัยและปฏิบัติให้ถูกต้อง
ติดตามข่าวสารที่ LINE : @cctcbangkok
|