ความปลอดภัยในการประกอบอาชีพอุตสาหกรรม
อุตสาหกรรมในปัจจุบันของประเทศไทยมีแนวโน้มขยายตัวสูงขึ้น โรงงานอุตสาหกรรมทั้งขนาดเล็กและใหญ่ก็เพิ่มลมากขึ้น จากความต้องในการเพิ่มผลผลิตเครื่องอุปโภคเพื่อให้เพียงพอกับความต้องการของประชาชนและการที่ประเทศได้พัฒนาเป็นสังคมอุตสาหกรรมใหม่ การนำเทคโนโลยีใหม่ ๆ เข้ามาใช้ในประเทศจึงมีความสำคัญอย่างมาก โดยเฉพาะการนำเอาเทคโนโลยีจากต่างประเทศเข้ามา ผู้ใช้แรงงานขาดความรู้ความเข้าใจและประสบการณ์ในการใช้เครื่องมือและรวมถึงขาดการฝึกอบรมเกี่ยวกับงานในหน้าที่และความปลอดภัยมาก่อน ทำให้เกิดปัญหาด้านสุขภาพและสวัสดิภาพในการประกอบอาชีพทางด้านอุตสาหกรรม
อันตรายจากการประกอบอาชีพอุตสาหกรรม อาจเกิดขึ้นได้โดยแบ่งออกได้ดังนี้คือ
1. การเกิดโรคต่าง ๆ หรือ การเจ็บป่วย เกิดจากการทำงานหรือเกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อมทั้งทางร่างกาย เช่นสารเคมี หรือทางชีววิทยา เช่น ความร้อน ความเย็น เสียง แสงสว่าง กัมมันตภาพรังสี หรือรังสีแม่เหล็กไฟฟ้า ความกดดัน เป็นต้น
2. การได้รับบาดเจ็บ หรือ การพิการจากอุบัติเหตุ โอกาสที่ได้รับบาดเจ็บหรือพิการจากการเกิดอุบัติเหตุขณะทำงานได้ ซึ่งจากสาเหตุดังนี้ คือ จากเครื่องจักรหรือเครื่องยนต์ เครื่องมืออุปกรณ์ต่าง การขนส่งหรือการเคลื่อนย้ายวัตถุสิ่งของ กล้องวงจรปิด ต่าง ๆ หรือเกิดจากสารเคมี รวมถึงจากพลังงานหรือเชื้อเพลิง เป็นต้น
สาเหตุของการเกิดอันตรายจากการประกอบอาชีพอุตสาหกรรม อาจมีสาเหตุที่สำคัญ ดังนี้
1. ตัวบุคคล เกิดจากสภาพทางร่างกายของผู้ทำงาน อาจมีโรคประจำตัวหรือมีการเจ็บป่วยอยู่ ความสมบูรณ์ของร่างกายไม่เพียงพอ เช่น อ่อนเพลียเหน็ดเหนื่อย หรือมีร่างกายที่ไม่เหมาะสมกับงานที่ทำเช่น ความสูง หรือร่างกายเล็กเกินไป รวมถึงสภาวะทางจิตใจของผู้ปฏิบัติงาน เหม่อลอย ตกใจง่าย ใจร้อน คิดหรือตัดสินใจช้าเกินไป และมีพฤติกรรมที่ไม่ปลอดภัยในการทำงาน
2. สิ่งแวดล้อม การเกิดอันตรายและสิ่งแวดล้อมที่ไม่ปลอดภัยอาจเกิดขึ้นได้จาก เช่น สถานที่ทำงานมีเนื้อที่คับแคบ การก่อสร้างไม่ได้ตามมาตรฐาน การจัดวางอุปกรณ์ เครื่องมือไม่เป็นระเบียบ การจัดเก็บสารเคมี หรือสารไวไฟต่างเก็บในที่ที่ไม่เหมาะสม เครื่องจักรหรืออุปกรณ์อาจเกิดการชำรุดอยู่ในสภาพไม่พร้อม และไม่มีเครื่องป้องกันอันตราย เป็นต้น
1. การไม่มีนโยบายวางแผนด้านความปลอดภัย
2. ไม่มีการให้ความรู้อบรมด้านปฏิบัติการเรื่องความปลอดภัย
3. ไม่มีการแนะนำและอบรมวิธีการปฏิบัติในการใช้เครื่องจักรและอุปกรณ์อย่างถูกต้อง
4. ไม่มีการบังคับให้ปฏิบัติตามกฎแห่งความปลอดภัย
5. ไม่มีการจัดอุปกรณ์หรือเครื่องป้องกันอันตรายและอุบัติเหตุให้กับพนักงาน
6. ไม่มีระบบเตือนภัย
7. ไม่มีการแก้ไขจุดอันตรายและไม่มีการสำรวจความปลอดภัย
8. ไม่มีการฝึกซ้อมการหนีไฟหรือการดับเพลิงเบื้องต้น
9. ไม่มีสวัสดิการที่ดีพอให้กับพนักงาน
10. ไม่มีการจัดด้านบริการความปลอดภัย
11. ไม่มีเจ้าหน้าที่ของรัฐมาตรวจความปลอดภัยและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของสถานประกอบการ
12. ไม่มีพักเวลาทำงานในช่วงสั้น ๆ
การป้องกันอันตรายและอุบัติเหตุจากการประกอบอาชีพอุตสาหกรรม ควรมีหลักระเบียบดังนี้
1. การป้องกันด้านตัวบุคคล ควรรักษาสุขภาพให้สมบูรณ์แข็งแรงอยู่เสมอ ควรศึกษาหาความรู้การปฏิบัติงานในการใช้อุปกรณ์ต่าง ๆ ทำตามคำแนะนำในเรื่องความปลอดภัย เครื่องป้องกันอันตรายในขณะทำงาน ระมัดระวังไม่ประมาท ไม่หยอกล้อกัน รวมถึงการทำจิตใจให้ผ่องใสและตั้งใจควบคุมอารมณ์ขณะปฏิบัติงาน
2. การป้องกันด้านระบบจัดการ
ด้านการบริหารงาน ควรกำหนดนโยบายด้านความปลอดภัย วางแผนงานด้านความปลอดภัย การกำหนด กฎและมาตรฐานความปลอดภัย จัดสรรงบประมาณและการดำเนินงานด้านความปลอดภัย จัดให้มีการสำรวจเรื่องความปลอดภัย การนำเทคนิคต่าง ๆ มาใช้ในการบริหารงานด้านความปลอดภัย การประเมินผลและการจัดการตรวจสอบความปลอดภัย
ด้านการปฏิบัติงาน จัดสถานที่ทำงานให้ถูกสุขลักษณะ เครื่องป้องกันอันตรายของเครื่องจักร การดูแล รักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบ จัดให้มีอุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคล จัดให้มีระบบเตือนภัย ระบบควบคุมอันตรายของกระบวนการผลิต ความปลอดภัยในการปฏิบัติงานของพนักงาน จัดให้มีความฝึกซ้อมในเรื่องความปลอดภัย รวมทั้งจัดอบรมและประเมินผลในปฏิบัติงานของพนักงานเพื่อค้นหาที่มาของอันตรายและตระหนักถึงความปลอดภัยอยู่ตลอดเวลา
ด้านการจัดบริการสุขภาพ จัดให้มีการตรวจเช็คสุขภาพก่อนเข้าทำงานและเมื่อเข้าทำงานแล้วก็มีการตรวจสุขภาพเป็นระยะ จัดให้มีการรักษาพยาบาลและการฟื้นฟูจิตใจ จัดให้มีการสร้างภูมิคุ้มกันโรคแกผู้ทำงาน การจัดการบริการเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมทางสุขภาพให้เหมาะสมรวมถึงการดูแลสุขภาพแก่บุตรหลานของพนักงานด้วย จัดให้มีกิจกรรมนันทนาการและการพักผ่อนและหยุดพักตามสมควร เป็นต้น
ติดตามข่าวสารที่ LINE : @cctcbangkok
|