วิธีป้องกันอันตรายจากวาตภัย
ปรากฏการณ์ธรรมชาติทำให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพและสวัสดิภาพของคนเป็นจำนวนมาก ทำให้เกิดความสูญเสียต่อชีวิตและความเสียหายต่อทรัพย์สิน สิ่งแวดล้อม ตลอดจนระบบการให้บริการทางการแพทย์ และ สาธารณสุข ในปัจจุบันภัยธรรมชาติได้เป็นปัญหาที่มีผู้ให้ความสนใจเป็นจำนวนมากและหามาตรฐานการป้องกันและเตรียมพร้อมที่จะเผชิญกับปัญหาเหล่านั้น การเก็บข้อมูลเกี่ยวกับภัยธรรมชาติพบว่าภัยธรรมชาติแต่ละประเภทมีผลกระทบต่อมนุษย์แตกต่างกัน
ประเภทของภัยธรรมชาติ ที่เกิดขึ้นมีหลายประเภทด้วยกัน เช่น วาตภัย อุทกภัย แผ่นดินไหว และความแห้งแล้ง เหล่านี้ถือเป็นภัยธรรมชาติ ทั้งสิ้น
ความปลอดภัยในการประกอบอาชีพเกษตรกรรม
วาตภัย เป็นภัยที่เกิดจากลมพายุ ซึ่งความแรงของลมและพายุจะทำให้สิ่งต่าง ๆ ที่ขวางทางล้มระเนระนาดแล้วยังทำอันตรายต่อชีวิตและทรัพย์สินและยังมีอุทกภัยตามมาด้วย อันตรายจะมากหรือน้อยนั้นย่อมขึ้นอยู่กับชนิดของพายุที่มีความเร็วของลม ลมพายุที่ก่อให้เกิดวาตภัยมีหลายชนิดด้วยกัน แยกออกได้ดังนี้
1. พายุหมุนเขตร้อน ได้แก่ ดีเปรสชัน พายุโซนร้อน และพายุใต้ฝุ่น
2. พายุฝนฟ้าคะนอง หรือที่เรียกว่า พายุฤดูร้อน
การป้องกันวาตภัย เพื่อเป็นการป้องกันมิให้เกิดอันตรายและความเสียหาย ควรป้องกันไว้ล่วงหน้าก่อนเกิดเหตุ ดังนี้
- การเตรียมความพร้อมของหน่วยงานเพื่อรับสถานการณ์วาตภัย
- การเตรียมตัวเพื่อป้องกันอันตรายของประชาชนว่าจะเกิดวาตภัย
ข้อควรปฏิบัติขณะเกิดวาตภัย ประชาชนควรพึงปฏิบัติ ดังนี้
- พยายามคุมสติให้ดีขณะที่มีลมพายุ
- ไม่ควรออกนอกอาคาร
- ไม่ควรอยู่ในที่ลุ่มหรือที่ราบริมทะเล
ข้อควรปฏิบัติหลังเกิดวาตภัย ควรปฏิบัติดังนี้
- ควรรอเมื่อพายุสงบไปแล้วประมาณ 3 ชั่วโมง เพื่อให้แน่ใจว่าสงบแล้วจริง ๆ
- ถ้ามีผู้ได้รับบาดเจ็บให้ช่วยเหลือทันทีโดยการนำส่งโรงพยาบาล
- หากมีต้นไม้ล้ม อาคารหักพังเสียหาย ควรเก็บหรือจัดการให้ปลอดภัย
- ประปามีท่อแตกไม่ควรใช้เพราะอาจมีเชื้อโรคปนเปื้อนได้
- ถ้ามีเสาไฟล้ม สายไฟขาด ไม่ควรเข้าใกล้ให้ทำเครื่องหมายหรือเครื่องกั้นไว้ แล้วแจ้งเจ้าหน้าที่มาจัดการให้เรียบร้อย
ติดตามข่าวสารที่ LINE : @cctcbangkok
|