การป้องกันอันตรายที่เกิดจากอุทกภัย
อุทกภัย ถือว่าเป็นภัยที่เกิดจากภาวะน้ำท่วม ไม่ว่าจะเป็นน้ำทะเล แม่น้ำ ลำคลอง มีระดับสูงมากจนกระทั่งล้นฝั่งและไปท่วมบ้านเรือน และสิ่งก่อสร้างต่าง ๆ ทำให้เกิดความเสียหายแก่ชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน
อันตรายที่เกิดจากอุทกภัย ทำให้เกิดอันตรายแก่มนุษย์และทรัพย์สิน ดังนี้
- อันตรายต่อมนุษย์ ทำให้เกิดการบาดเจ็บ การเจ็บป่วยด้วยโรคภัยต่าง ๆ การจมน้ำเสียชีวิต เสียสุขภาพจิต การสูญเสียทรัพย์สิน การขาดรายได้
- อันตรายต่อทรัพย์สิน บ้านเรือน และสถานที่ต่าง ๆ ได้รับความเสียหาย การคมนาคม การสื่อสาร กล้องวงจรปิด CCTV ถนนหนทาง เกิดความเสียหาย และมีผลเสียต่อผลิตผลทางการเกษตร การปศุสัตว์ ทำให้สูญเสียทางด้านเศรษฐกิจเพราะธุรกิจการค้าต้องหยุดชะงัก เป็นต้น
สาเหตุของการเกิดอุทกภัย อาจเกิดด้วยจากหลาย ๆ สาเหตุ ดังนี้
1. การที่ฝนตกหนักเป็นเวลานานทำให้จำนวนน้ำฝนมากจนไม่สามารถระบายสู่แม่น้ำได้ทัน ซึ่งส่วนมากแล้วจะเป็นที่บริเวณที่ราบสูง
2. อาจเกิดจากลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ และ เฉียงเหนือ ทำให้เกิดอุทกภัยได้
3. พายุดีเปรสชัน โซนร้อน และพายุใต้ฝุ่น ทำให้ฝนตกมาเป็นเวลานานติดต่อกัน ทำให้เกิดภาวะน้ำท่วมได้
4. การที่มีน้ำทะเลหนุน จะทำให้เกิดภาวะน้ำขึ้นสูงมากกว่าระยะอื่น หรือที่เรียกกันว่า “น้ำเกิด”
5. รวมถึงสาเหตุอื่น ๆ อีกมากมาย เช่น แผ่นดินไหว ภูเขาไฟระเบิด ทำให้เกิดคลื่นในมหาสมุทร จากแรงสั่นสะเทือน ทำให้เกิดน้ำท่วมตามเกาะ และการที่แผ่นดินทรุดตัวก็เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดภาวะน้ำท่วมได้ง่ายเช่นกัน
การป้องกันอุทกภัย เป็นหน้าที่ของรัฐบาล องค์กรต่าง ๆ
ที่จะต้องควบคุมและช่วยลดอันตรายและความเสียหายที่จะเกิดขึ้น ควรที่จะทำดังนี้
1. การรวบรวมวิเคราะห์และศึกษาวิจัยข้อมูลต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับการเกิดภาวะน้ำท่วมเพื่อวิธีการป้องกัน เช่น การศึกษาถึงสภาพดินฟ้าอากาศ กระแสน้ำ ความถึงความถี่ของการเกิดภาวะน้ำท่วม เพื่อที่จัดทำแผนที่เขตอุทกภัย เป็นต้น
2. การวิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับการแบ่งเขตและใช้พื้นที่ดินเพื่อลดความเสียหายจากน้ำท่วม คือ เขตต้องห้าม เขตจำกัด และเขตเตือนภัย
3. การสร้างที่เก็บกักน้ำ การปรับปรุงทางผ่านของน้ำ การขุดลอดคลองเพื่อระบายน้ำได้รวดเร็วขึ้น การสร้างเขื่อน หรือคันกั้นน้ำ เป็นต้น
4. การปลูกป่าเพื่อเป็นการรักษาป่าไม้ และพืชพันธ์ไม้ปกคลุมพื้นดิน เพื่อไม่ให้น้ำไหลลงสู่ที่ต่ำเร็วเกินไป รวมถึงการทำลายหน้าดิน
5. ควรจัดให้มีการประกันอุทกภัย ประกันชีวิตและวินาศภัย ที่อาศัยอยู่ในบริเวณที่มักเกิดอุทกภัย เพื่อเป็นหลักประกันเมื่อเกิดอุทกภัยขึ้นจะได้รับการคุ้มครองและช่วยเหลือ เป็นต้น
6. การออกกฎหมายเกี่ยวกับการป้องกันอุทกภัย และการควบคุมการก่อสร้างอาคารบ้านเรือนเพื่อลดความเสียหายจากน้ำท่วม โดยเฉพาะในเขตพื้นที่จำกัด จะต้องมีการควบคุมให้ปฏิบัติตามกฏหมายอย่างเคร่งครัด ถ้าหากฝ่าฝืนจะต้องถูกลงโทษ เป็นต้น
การเตรียมความพร้อมเกี่ยวกับการรับสถานการณ์อุทกภัย เพื่อที่จะลดความเสียหายและอันตราย และควบคุมสิ่งที่จะเกิดขึ้นจากการเกิดอุทกภัย ควรที่จะเตรียมความพร้อม ดังนี้
1. ควรที่จะมีหน่วยงานที่รับผิดชอบโดยตรง เพื่อจะได้วางแผนการทำงาน และหน้าที่ความรับผิดชอบของหน่วยต่าง ๆ ทั้งของรัฐและเอกชน จัดให้มีการเผยแพร่และฝึกอบรมฝึกซ้อมปฏิบัติ เพื่อให้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับอันตราย และสาเหตุของการควบคุมอุทกภัย
2. การส่งข่าวบอกกล่าวเตือนภัย ด้วยวิธีต่าง ๆ ให้ประชาชนและหน่วยงานได้ทราบล่วงหน้าก่อนที่จะเกิดอุทกภัย อาจใช้กระจายเสียงด้วยวิทยุ หนังสือพิมพ์ โทรทัศน์ หรือระบบสัญญาณไฟที่เห็นได้อย่างชัดเจน เพราะจะช่วยให้ประชาชนได้รับทราบสถานการณ์ของพายุ และระดับความสูงของน้ำ เพื่อเตรียมรับกับสถานการณ์การเกิดอุทกภัย เป็นต้น
3. การให้ประชาชนเตรียมความพร้อมสำหรับผู้ที่อยู่ในบริเวณอุทกภัย ควรจัดเตรียมเสบียงอาหาร น้ำดื่ม ยารักษาโรค เครื่องนุ่งห่ม และเตรียมอพยพเคลื่อนย้ายคนในครอบครัว สัตว์เลี้ยง รวมถึงพาหนะ และทรัพย์สินอื่น ๆ รวมถึงสิ่งของที่จำเป็น ออกนอกบริเวณเขตอุทกภัยไปในที่ที่ปลอดภัย
การให้การช่วยเหลือในขณะที่เกิดอุทกภัย ควรให้ความช่วยเหลือดังนี้
1. การค้นหาผู้ประสบอุทกภัย มีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องให้ความช่วยเหลือให้ได้รับความปลอดภัยโดยเร็วที่สุด เพราะบางคนน้ำท่วมมิดหลังคา บางคนอยู่บนหลังคา บางคนลอยคออยู่ในน้ำ หรือบางคนถูกน้ำพัดพาไปที่อื่น เป็นต้น
2. การขนย้ายผู้ที่ประสบอุทกภัย สัตว์เลี้ยง พาหนะ ทรัพย์สิน จะต้องมีการวางแผนไว้ล่วงหน้า และจะต้องมีการเตรียมพร้อมเพื่อที่จะรับกับสถานการณ์และดำเนินการได้อย่างทันที
3. การให้ความช่วยเหลือสำหรับผู้เจ็บป่วย ซึ่งอาจได้รับอุบัติเหตุ ขาดอาหาร และการเกิดการเจ็บป่วยขึ้น จำเป็นที่จะต้องให้ความช่วยเหลือ จัดหน่วยพยาบาลหรือหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ ให้การรักษา หรือจัดยารักษาโรคเพื่อแจกจ่าย รวมถึงเสบียงอาหาร น้ำ เครื่องนุ่งห่ม เป็นต้น
การช่วยเหลือหลังจากการเกิดอุทกภัย ประชาชนควรได้รับการช่วยเหลือเบื้อต้นดังนี้
1. ควรได้รับการช่วยเหลือในเรื่องอาหาร เครื่องนุ่งห่ม ยารักษาโรค รวมถึงที่พักอาศัย
2. ความช่วยเหลือในด้านการฟื้นฟูเรื่องสุขภาพทางกายและทางจิตใจ รวมถึงการสร้างขวัญและกำลังใจให้มีสภาพจิตใจที่ดีขึ้น
3. การส่งกลับภูมิลำเนา หลังจากอพยพหนีอุทกภัย
4. ควรได้รับความช่วยเหลือในด้านการซ่อมแซมอาคารบ้านเรือนที่พักอาศัย
5. ความช่วยเหลือในด้านการประกอบอาชีพ
6. ความช่วยในด้านสาธารณูปโภค และการบริการสาธารณะต่าง ๆ ให้กลับคืนสู่สภาวะปกติโดยเร็วที่สุด
ติดตามข่าวสารที่ LINE : @cctcbangkok
|