วิธีป้องกันอันตรายจากวาตภัย
อุบัติเหตุมีแนวโน้มที่จะเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ การเจ็บป่วยทางกาย ทางจิตใจ การตายและความสูญเสียทรัพย์สินของประชาชนและของชาติ ย่อมส่งผลกระทบต่อการพัฒนาประเทศเป็นอย่างยิ่ง การป้องกันและการสร้างความปลอดภัยจึงมีความสำคัญและจำเป็น อาจกระทำได้ดังนี้
1.กำหนดนโยบายเรื่องความปลอดภัย
2.กำหนดผู้รับผิดชอบ
3.วางแผนการดำเนินงานความปลอดภัย
4.กำหนดเทคนิคการสร้างความปลอดภัย
5.ดำเนินงานตามแผนงานที่วางไว้
6.ติดตามและประเมินผลการดำเนินงาน
การกำหนดนโยบายเรื่องความปลอดภัย
ควรกำหนดไว้เป็นอันดับแรก ไม่ว่าจะระดับสูงหรือระดับประเทศ ทั้งนี้เพื่อกำหนดทิศทางและเป้าหมายเพื่อความปลอดภัยหรือการป้องกันอุบัติเหตุ ดังนี้
- กำหนดให้เข้าใจง่ายและชัดเจน
- ควรยึดหลักความสะดวกสบายและความปลอดภัยมาก่อน
- การออกกฎระเบียบข้อบังคับเพื่อความปลอดภัย
- การควบคุมดูแล เพื่อให้เกิดความปลอดภัย
- ข้อกำหนดนั้นผู้ปฏิบัติต้องทำโดยไม่ลังเลและเข้าใจ
การกำหนดผู้รับผิดชอบ
ความปลอดภัยในชุมชนหรือหน่วยงานย่อมต้องอาศัยบุคคล ทำหน้าที่ในการรับผิดชอบการป้องกันอุบัติเหตุ หรือดำเนินงานความปลอดภัย เช่น พ่อแม่ ครูอาจารย์ ประชาชน ผู้บริหาร เป็นต้น ซึ่งอาจรับผิดชอบในลักษณะบุคคลหรือรายกลุ่มในแบบของคณะกรรมการ เช่น คณะกรรมการป้องกันอุบัติภัยแห่งชาติ เป็นต้น ในปัจจุบัน กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย มีหน้าที่โดยตรงในการรับผิดชอบในด้านการป้องกัน และบรรเทาสาธารณภัย ภายใต้การกำหนดของกระทรวงมหาดไทย มีภารกิจในการจัดทำแผนแม่บท ในการป้องกัน บรรเทาและฟื้นฟูจากสาธารณภัย กำหนดนโยบายความปลอดภัยและติดตามประเมินผล
การวางแผนการดำเนินงานสร้างความปอดภัย
กำหนดผู้รับผิดชอบแล้ว ควรมีการวางแผนการดำเนินงานเพื่อความปลอดภัยและให้ทราบทิศทางและรูปแบบการดำเนินงาน ดังนี้
1. จัดแผนการดำเนินงานความปลอดภัยหรือโครงสร้างด้านความปลอดภัย
2. กำหนดเป้าหมายหรือวัตถุประสงค์
3. กำหนดหรือระบุผู้รับผิดชอบในแต่ละแผนงาน
4. กำหนดการดำเนินงานต่าง ๆ
5. กำหนดหรือระบุกิจกรรมให้ชัดเจน
6. กำหนดระยะเวลาดำเนินงาน
7. กำหนดงบประมาณในการดำเนินงาน
8. การประเมินและติดตามผลควรระบุวิธีการให้ชัดเจน
การกำหนดเทคนิคสร้างความปลอดภัย
การดำเนินงานสร้างความปลอดภัยเพื่อป้องกันอุบัติเหตุ ควรกำหนดเทคนิคหรือวิธีการสร้างความปลอดภัย เพื่อให้เหมาะสมกับแผนงานหรือโครงการที่วางไว้ อาจทำได้ดังนี้
1. การปลูกจิตสำนึกความปลอดภัย โดยเริ่มจากบ้าน โรงเรียน และชุมชน
2. การใช้ทฤษฎีพื้นฐานของความปลอดภัยนำมาประยุกต์ใช้
3. การปรับพฤติกรรมความปลอดภัย
4. การใช้จิตวิทยาหรือแรงจูงใจ เพื่อก่อให้เกิดความปลอดภัย เช่น คำชม หรือ กล่าวยกย่อง เป็นต้น
5. การให้ความรู้ ในรูปแบบต่าง ๆ เช่นการพูดคุย การปฐมนิเทศ การจัดฝึกอบรม เป็นต้น
6. การประสานความร่วมมือ เพื่อประโยชน์ในการสนับสนุนสร้างความปลอดภัย
7. การใช้สื่อมวลชน การรู้จักนำเสนอข่าว และสร้างจิตสำนึกที่ดีในเรื่องการป้องกันอุบัติเหตุ
8. การใช้กฎระเบียบหรือมาตรการทางกฎหมาย เป็นต้น
การดำเนินงานตามแผนที่วางไว้
แผนการหรือโครงการดำเนินงาน และเทคนิคการสร้างความปลอดภัย ก็เริ่มดำเนินการปฏิบัติตามแผนที่วางไว้ โดยทำให้เป็นขั้นตอน ให้ทุกคนลงมือและปฏิบัติอย่างจริงจัง
การติดตามและประเมินผลการดำเนินงาน
เพื่อประโยชน์ในการพัฒนาหรือปรับปรุงแก้ไข ซึ่งการติดตามและประเมินผลอาจทำได้เป็นระยะ ๆ ในระหว่างการดำเนินงาน หรือสิ้นสุดการดำเนินงานแล้ว และประเมินผลการดำเนินงานมีวิธีการดังนี้
1. การสำรวจหรือการตรวจความปลอดภัย
2. การสนทนา พูดคุย เกี่ยวกับการปฏิบัติงานตามแผนงาน
3. การสอบถามโดยการใช้แบบเพื่อประเมินผลการปฏิบัติ
4. จัดให้มีการประชุมเพื่อความปลอดภัย
5. การจัดการสัมมนาเพื่อป้องกันอุบัติเหตุ
6. การให้มีตู้รับความคิดเห็นความต้องการทางด้านความปลอดภัย
7. จัดให้มีการรายงานการเกิดอุบัติเหตุ และการวิเคราะห์การเกิดอุบัติเหตุ
ติดตามข่าวสารที่ LINE : @cctcbangkok
|