ทำความรู้จักกับ TCP / IP และโปรโตคอลของอินเตอร์เน็ต
ความเป็นมาของ TCP / IP
เป็นมาตรฐานของการรับส่งข้อมูลระหว่างคอมพิวเตอร์สองระบบ ซึ่งเป็นคอมพิวเตอร์ต่างชนิดกันให้สามารถติดต่อรับส่งข้อมูลกันและสามารถใช้บริการอื่น ๆ
รวมถึงการรับส่งจดหมายอิเล็กทรอนิคส์ จุดประสงค์ของโครงการนี้ก็คือสร้างระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ให้สามารถรับส่งข้อมูลกันได้ แม้ว่าสายส่งข้อมูลบางส่วนหรือคอมพิวเตอร์บางเครื่องในเครือข่ายจะถูกทำลายเสียหายไปก็ตาม ซึ่งเป็นคุณสมบัติที่สำคัญอย่างยิ่งเมื่อใช้งาน และการรับส่งข้อมูลจะแบ่งข้อมูลออกเป็นส่วนย่อย ๆ เรียกว่า “แพ็กเก็ต” ข้อมูลแต่ละส่วนนี้จะถูกส่งไปให้คอมพิวเตอร์ผู้รับที่ปลายทางผ่านสายส่งข้อมูล โดยแต่ละส่วนอาจใช้เส้นทางสำหรับส่งขัอมูลคนละทางก็ได้
ซอฟต์แวร์ที่ใช้ควบคุมการรับส่งข้อมูลประกอบด้วยส่วนหลัก ๆ 2 ส่วนคือ TCP (Transmission Control Protocol และ IP (Internet Protocol) ซึ่ง TCP มีหน้าที่ตรวจสอบการรับส่งข้อมูลระหว่างคอมพิวเตอร์ผู้รับและผู้ส่ง ส่วน IP จะมีหน้าที่เลือกเส้นทางที่ใช้รับส่งข้อมูลผ่านระบบเครือข่าย และตรวจสอบ
OSI Model : มาตรฐานอ้างอิงในการสื่อสารข้อมูล
คอมพิวเตอร์มีการรับส่งข้อมูลกับคอมพิวเตอร์เครื่องอื่น ๆ การเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์คนละระบบหรือคนละยี่ห้อเป็นสิ่งที่ทำได้ยากในยุคแรก ๆ การขาดมาตรฐานส่วนกลางที่จำเป็นต้องใช้ในการรับส่งข้อมูล ส่วนมากแต่ละห้อมีมาตรฐานของตนเองซึ่งเข้ากับยี่ห้ออื่นไม่ได้ ทำให้ต้องผูกติดอยู่กับผู้ผลิตแต่ละยี่ห้อและจำกัดในการเชื่อมต่อคนละชนิดไม่ให้รับส่งข้อมูลกันได้ ระบบคอมพิวเตอร์ในยุคนั้นจึงเป็น ระบบปิด (Closed System) นั่นเอง
หน่วยงานกำหนดมาตรฐานสากล คือ ISO (International Standards Organization) จัดการกำหนดโครงสร้างทั้งหมดที่จำเป็นต้องใช้ในการสื่อสารข้อมูลจากคอมพิวเตอร์ระบบหนึ่งไปยังคอมพิวเตอร์อีกระบบหนึ่ง จุดมุ่งหมายก็เพื่อเปิดช่องทางให้ข้อมูลที่เก็บอยู่ในระบบคอมพิวเตอร์ รับส่งไปยังคอมพิวเตอร์ที่เป็นระบบเดียวกันหรือต่างระบบได้อย่างอิสระ ซึ่งเป็นการทำงานแบบที่เรียกว่า ระบบเปิด
OSI ให้การสื่อสารจากระบบคอมพิวเตอร์หนึ่งไปยังอีกระบบหนึ่ง แบ่งออกเป็น 7 ขั้นตอนย่อย ๆ เราเรียกการสื่อสารข้อมูลนี้ว่า OSI 7-Layer Reference Model แต่ละชั้นของการสื่อสารข้อมูลเราเรียกว่า Layer ในแต่ละชั้นจะเชื่อมต่ออยู่กับชั้นที่เทียบเท่ากันของคอมพิวเตอร์อีกด้านหนึ่ง ชั้นล่างสุดเท่านั้นที่มีการรับส่งข้อมูลเกิดขึ้นผ่านสายส่งข้อมูลระหว่างคอมพิวเตอร์ทั้งสองระบบ คุณสมบัติข้อที่สองก็คือ แต่ละชั้นที่ทำหน้าที่รับส่งข้อมูลจะมีการติดต่อรับส่งข้อมูลกันชั้นที่อยู่ติดกับตัวเองเท่านั้น การส่งข้อมูลจะไล่ลำดับชั้นลงมาจนถึงขั้นที่ 1 ซึ่งจะเป็นชั้นเดียวที่เชื่อมต่อจริงเข้ากับคอมพิวเตอร์ด้านรับข้อมูลผ่านสายส่งข้อมูล เชื่อมต่อเข้ากับลำดับชั้นการรับข้อมูลในชั้นที่ 7 ของคอมพิวเตอร์อีกด้านหนึ่ง
User หรือ ผู้ใช้ ติดต่อรับส่งข้อมูลผ่านทางชั้นที่ 7 ซึ่งอยู่ด้านบนสุดเท่านั้น ในแต่ละชั้นของการรับส่งข้อมูลจะมีฟังก์ชันการทำงานที่แน่นอน และแยกออกจากกันเด็ดขาด สามารถที่จะนำแต่ละชั้นมาเชื่อมต่อกันได้อย่างไม่มีขีดจำกัด
OSI 7-Layer Model
แบ่งการรับส่งข้อมูลระหว่างคอมพิวเตอร์สองระบบออกเป็น 7 ชั้น แต่ละชั้นมีชื่อเรียกและหน้าที่การทำงาน ดังนี้
ชั้นที่ 7 Application Layer ทำหน้าที่เชื่อมต่อผู้ใช้เข้ากับระบบคอมพิวเตอร์ และทำงานตามคำสั่งที่ได้รับในระดับโปรแกรมประยุกต์
ชั้นที่ 6 Presentation Layer ทำหน้าที่ตกลงกับคอมพิวเตอร์อีกด้านหนึ่งว่า การรับส่งข้อมูลในระดับโปรแกรมประยุกต์จะมีขั้นตอนและข้อบังคับอย่างไร
ชั้นที่ 5 Session Layer ทำหน้าที่ควบคุม “จังหวะ” ในการรับส่งข้อมูลของคอมพิวเตอร์ทั้งสองด้านทีรับส่งแลกเปลี่ยนข้อมูลกันให้มีความสอดคล้องกัน และกำหนดวิธีที่ใช้รับส่งข้อมูล
ชั้นที่ 4 Transport Layer ทำหน้าที่เชื่อมต่อการรับส่งข้อมูลระดับสูงของชั้นที่ 5 มาเป็นข้อมูลที่รับส่งในระดับฮาร์ดแวร์
ชั้นที่ 3 Network Layer ทำหน้าที่เชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ของด้านรับและด้านส่งเข้าหากันผ่านระบบเครือข่าย พร้อมทั้งเลือกหรือกำหนดเส้นทางที่จะใช้ในการรับส่งข้อมูลระหว่างกัน และส่งผ่านข้อมูลที่ได้รับไปยังอุปกรณ์ในเครือข่าย
ต่าง ๆ
ชั้นที่ 2 Datalink Layer ทำหน้าที่เชื่อมต่อการรับส่งข้อมูลในระดับฮาร์ดแวร์ เมื่อมีการสั่งให้รับข้อมูลจากในขั้นที่ 3 ลงมา ชั้นที่ 2 จะทำหน้าที่แปลคำสั่งนั้นให้เป็นคำสั่งควบคุมฮาร์ดแวร์ที่ใช้รับส่งข้อมูล ทำการตรวจสอบข้อผิดพลาดในการรับส่งข้อมูลของระดับฮาร์ดแวร์และแก้ไขข้อผิดพลาดที่ตรวจพบนั้น
ชั้นที่ 1 Physical Layer เป็นชั้นล่างสูดของขั้นตอนในการรับส่งข้อมูลของ OSI 7-Layer Reference Model ฮาร์ดแวร์ที่ใช้เชื่อมต่อระหว่างคอมพิวเตอร์ทั้งสองระบบ
OSI กับ TCP / IP
เราได้แบ่งหน้าที่ของ OSI ออกมาทั้ง 7 ชั้น ชั้นไหนทำอะไรบ้าง ทำให้การเชื่อมต่อรับส่งข้อมูลระหว่างคอมพิวเตอร์สองระบบทำได้ง่าย เนื่องจากทุกระบบใช้มาตรฐานเดียวกัน การกำหนดมาตรฐานของการสื่อสารข้อมูลนี้มีองค์ใหญ่ ๆ อยู่ 3 องค์กรคือ องค์กรมาตรฐานสากล ISO (International Standards Organization) สถาบันวิศวกรไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิคส์ของอเมริกา IEEE (American Institution of Electrical and Electronics Engineers) และ สมาคมโทรคมนาคมสากล ITU-T (International Telecommunication Union Telecommunications ทั้ง 3 องค์กรจะทำหน้าที่กำหนดมาตรฐานของอุปกรณ์สื่อสารในรูปแบบต่าง ๆ ระบบสื่อสัญญาณ เครือข่ายสาธารณะ และข้อตกลงที่ใช้ในการรับส่งข้อมูล เป็นต้น
ติดตามข่าวสารที่ LINE : @cctcbangkok
|