จำหน่ายและติดตั้ง กล้องวงจรปิด CCTV FUJIKO KENPRO SAMSUNG PELCO PANASONIC LG MESSOA WATASHI บริการดูหน้างานประเมินราคาฟรีถึงที่ สอบถามรายละเอียดได้ที่ เลขที่ 200 ซอยบรมราชชนนี 70 ถนนบรมราชชนนี แขวงศาลาธรรมสพน์ เขตทวีวัฒนา กทม. 10170

 
โทร. 02-888-3507-8,  081-700-4715

Fax กล้องวงจรปิด cctv dvr ip camera แฟ็กซ์. 02-888-3199   E-mail กล้องวงจรปิด cctv dvr ip camera E-mail : Krittiwit@gmail.com

กล้องวงจรปิด cctv facebook icon
promotion kenpro

 

การจัดลำดับชั้นของเครือข่าย (Network Class)

การกำหนดค่า IP address ไม่สามารถกำหนดขึ้นได้ตามใจชอบ แต่มีระเบียบวิธีแบ่งและการกำหนดที่ชัดเจนเป็นมาตรฐานแบ่งเป็น 4 ส่วน โดยคั่นด้วยจุด ทั้งนี้การแบ่งส่วนจะเป็นไปตามการแบ่งระดับชั้นของเครือข่าย เพื่อให้สามารถแจกจ่าย IP address ให้กับเครือข่ายต่าง ๆ ได้อย่างเหมาะสม ฉะนั้นถ้าไม่มีการจัดลำดับเครือข่ายให้ดี หมายเลข IP address ก็จะถูกใช้งานอย่างสิ้นเปลืองและใช้งานไม่ได้เต็มจำนวนที่มี

 

cctv การจัดลำดับชั้นของเครือข่าย  (Network  Class)

 

เราอาจจำหมายเลข IP address ได้ง่าย ๆ คือ ในเครือข่าย class A จะมีหมายเลข IP ตัวแรกอยู่ระหว่าง 0-127 ดังนั้นค่าที่ตามมาจะเป็นหมายเลขของเครื่อง ส่วนเครือข่าย class B หมายเลข IP หน้าสุดจะเป็น 128-191 ดังนั้น ค่า IP สองตัวแรกจะเป็นหมายเลขเครือข่ายและค่า IP สองตัวหลังจะเป็นหมายเลขเครื่องสุดท้าย

Subnet

ในปัจจุบันจะไม่มีการกำหนดค่า IP ประเภทเครือข่าย Class A และ Class B แล้ว เพราะแทบไม่มีความจำเป็นต้องใช้ address มากขนาดนั้น คงเหลือแต่ Class C เท่านั้นที่กำหนดให้แต่ละบริษัทหรือหน่วยงานต่าง ๆ แต่ถ้าจำเป็นต้องกำหนดหมายเลข IP ให้ใช้งานในเครือข่ายนั้น 254 เครื่อง จะเกิดปัญหามีหมายเลข IP ที่ไม่ได้ใช้งานเป็นจำนวนมาก ดังนั้นการทำ Subnet หรือ Sub Network จึงเกิดขึ้น เพื่อแบ่งเครือข่ายออกมาเป็นเครือข่ายย่อย และทำให้การกำหนดใช้งานหมายเลข IP ที่ได้รับมาสามารถแบ่งออกเป็นส่วน ๆ เหมาะสมกับจำนวนอุปกรณ์ในแต่ละเครือข่ายได้ และสามารถแบ่งส่วนที่ไม่ได้ใช้ให้หน่วยงานอื่นหรือเครือข่ายอื่นได้อีกด้วย

หมายเลขอ้างอิงเครือข่ายและ Broadcast address

ในการกำหนดหมายเลข IP address ให้กับอุปกรณ์และเครื่องเซิร์ฟเวอร์ให้บริการ จะต้องมีการกำหนดค่าหมายเลข กำหนดหมายเลขประจำเครือข่าย (Network address)

- กำหนดหมายเลข IP สำหรับการส่งข้อมูล broadcast ในเครือข่ายนั้น (broadcast address) ใช้เพื่อส่งข้อมูลให้กับอุปกรณ์ทั้งหมดของเครือข่ายนั้น

นอกจากนี้ได้มีการกำหนดให้หมายเลข IP ที่ 255.255.255.255 เป็นหมายเลข IP สำหรับการ broadcast ทั่วไปไม่เฉพาะเจาะจงกับเครือข่ายใดเหครือข่ายหนึ่งอีกด้วย

Multicast Address

การแบ่งเครือข่ายหมายเลข IP เป็นชั้นต่าง ๆ ของเครือข่ายเป็น class A, B, C, D, และ E นั้น เครือข่ายใน class D นั้น ถูกกำหนดให้เป็นหมายเลข IP address สำรองเพื่อใช้งานในแบบ multicast กล่าวคือหมายเลข IP ของ Class D จะทำหน้าที่เป็น multicast address โดยแบ่งเป็นกลุ่มย่อย ๆ ซึ่งสมาชิกในกลุ่มจะรับข้อมูลที่ถูกสงออกมาให้ในระหว่างเครือข่าย

IP address ที่ออกสู่อินเตอร์เน็ตไม่ได้

ความนิยมในการใช้โปรโตคอล TCP / IP มีมากขึ้นทั้งงการใช้งานในเครือข่ายส่วนตัว และในเครือข่ายอินเตอร์เน็ต หน่วยงาน InterNIC ได้มีการกำหนดให้หมายเลขประจำเครือข่ายบางอันเป็นหมายเลขพิเศษสำรองเอาไว้ใช้งาน ในวัตถุประสงค์แบบเครือข่ายส่วนตัวที่ไม่สามารถใช้งานในอินเตอร์เน็ตได้ และกำหนดให้หมายเลขเครือข่ายนั้นเป็นแบบ non-routable คือไม่สามารถรับส่งข้อมูลออกสู่อินเตอร์เน็ตได้ ซึ่งหมายเลขเครือข่ายเฉพาะนี้จะใช้ในการกำหนดหมายเลข IP address ให้กับเครือข่ายขององค์กรหรือหน่วยงานที่ไม่ต้องการเชื่อมต่อเข้าสู่อินเตอร์เน็ต

Data Packet

ข้อมูลที่ถูกทำให้เล็กลงเมื่อมีการรับหรือส่งกันในระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต แบ่งออกเป็นส่วนย่อย ๆ เรียกว่า Data Packet หรือ datagram ทำให้เครือข่ายนั้นสามารถรองรับการติดต่อและรับส่งข้อมูลกันได้อย่างราบรื่นไม่ติดขัด หรือพบปัญหาเครือข่ายทำงานช้าเมื่อมีการรับส่งข้อมูลขนาดใหญ่ นอกจากนี้การแบ่งข้อมูลออกเป็นส่วนย่อย ๆ ยังทำให้สามารถเพิ่มกระบวนการตรวจทานความถูกต้องของข้อมูลที่ปลายทาง และแก้ไขเมื่อข้อมูลผิดพลาดหรือตกหล่นได้โดยง่ายอีกด้วย

ประโยชน์อีกประการหนึ่งในการแยกข้อมูลให้เป็นส่วนย่อย ๆ คือ การแก้ไขและตรวจสอบข้อมูลที่เสียหายในการส่งข้อมูล จะสามารถทำได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งเรามักจะพบปัญหาสัญญาณรบกวนหรือสัญญาณขาดหายระหว่างการส่งอยู่บ่อย ๆ ทำให้ข้อมูลที่ส่งไปยังผู้รับไม่ถูกต้องครบถ้วน สามารถแก้ไขได้ถ้าข้อมูลถูกแบ่งออกเป็น datagram จะมีขนาดเล็กลง ทำให้สามารถเพิ่มการตรวจสอบการรับส่งข้อมูลนั้น ๆ ได้ดีขึ้น และทำให้สามารถแก้ไขข้อมูลที่ผดพลาดทำได้อย่างรวดเร็ว

การ Encapsulation

ข้อมูลใดจะถูกส่งผ่านไปในเครือข่ายอินเตอร์เน็ตได้ ก็จะต้องถูกแยกเป็นส่วนย่อย ๆ เรียกว่า datagram และถูกผนึกหรือทำ encapsulation เข้าไปกับโปรโตคอล IP datagram ก่อนจะส่งผ่านไปในเครือข่ายอินเตอร์เน็ตได้ โปรโตคอล IP มีข้อมูลในการระบุเส้นทางการส่งผ่านข้อมูลไปยังปลายทางได้ การผนึกข้อมูลหนึ่งไปเป็นข้อมูลอีกรูปแบบหนึ่ง เป็นกลไกที่สำคัญของการใช้งานโปรโตคอล TCP / IP มาก

IP Datagram

ข้อมูลในการติดต่อกันไม่ว่าจะเป็นเนื้อความในอีเมล์หรือในไฟล์ที่ส่งมา จะถูกผนึกข้อมูลหรือ Encapsulate ไปเป็นรูปของ IP datagram และสุดท้ายก็จะถูกแปลงเป็น Ethernet frame เพื่อให้สามารถส่งข้อมูลออกสู่เครือข่ายไปสู่อินเตอร์เน็ตได้ ตัวข้อมูลที่ถูกแปลงมาเป็น IP datagram นี้จะประกอบด้วย 2 ส่วน คือ IP header และส่วนเนื้อข้อมูลที่เรียกว่า payload

line

ติดตามข่าวสารที่ LINE : @cctvbangkok

 


FUJIKO CCTV


KENPRO CCTV

PANASONIC CCTV


HIKVISION CCTV

บริษัท มีเดีย เสิร์ซ จำกัด เลขที่ 200 ซอยบรมราชชนนี 70 ถนนบรมราชชนนี แขวงศาลาธรรมสพน์ เขตทวีวัฒนา กทม. 10170
Tel. 02-888-3507-8 Fax. 02-888-3199 E-mail: krittiwit@gmail.com
www.MediaSearch.co.th | www.CctvBangkok.com