โครงสร้างของโปรโตคอล TCP/ IP
โปรโตคอล TCP / IP มีการจัดกลไกการทำงานเป็นชั้น หรือ Layer เรียงต่อกัน โดยละชั้นจะมีการทำงานเทียบได้กับ OSI แต่บาง Layer ของโปรโตคอล TCP / IP ซึ่งในแต่ละ Layer ของโปรโตคอล TCP / IP จะประกอบด้วย
- Process Layer โปรโตคอล TCP / IP ในชั้นบนสุดเรียกว่า Process layer ทำงาน 2 หน้าที่เทียบได้กับ Application layer และ Presentation layer ในชั้นนี้จะรองรับการทำงานของแอพพลิเคชันต่าง ๆ ที่ทำงานเป็นโปรเซส อยู่ในเครื่องเซิร์ฟเวอร์ให้บริการและเครื่องที่ขอใช้บริการ การทำงานของแอพพลิเคชันต่าง ๆ จะอยู่ที่ Process layer นี้ และมีการติดต่อกันตามแต่ละโปรโตคอลเฉพาะแล้วแต่แอพพลิเคชันที่ใช้งาน cctv กล้องวงจรปิด รองรับให้โปรโตคอลอื่นทำงานได้หลายโปรเซสและหลายโปรโตคอลได้พร้อมกันนั้น ทำให้ผู้ใช้สามารถเปิดโปรแกรมใช้งานได้หลาย ๆ อย่างพร้อมกัน โปรโตคอลหลัก ๆ ที่ทำงานใน Process layer ซึ่งผู้ใช้มักจะคุ้นเคยกันดีได้แก่ FTP นอกจากนี้ยังมีโปรโตคอลอื่นที่อยู่เบื้องหลัง ซึ่งทำงานโดยที่ผู้ใช้งานไม่สามารถมองไม่เห็นได้จากโปรแกรมหรือไม่ได้มีการใช้งานโดยตรง
- Host-to-Host layer การทำงานที่ชั้นของ Host-to-Host layer นี้จะมีบทบาทในการจัดการต่อจาก Process layer โดยจุดที่เชื่อมกันเพื่อรับส่งข้อมูลนี้เรียกว่า port หรือ socket และในแต่ละแอพพลิเคชันก็จะสร้างการเชื่อมต่อผ่าน port ได้พร้อมกันหลายแอพพลิเคชัน ซึ่งการใช้งาน port ของแต่ละแอพพลิเคชันที่อยู่ในชั้น Process layer ในชั้น Host-to-Host จะมีโปรโตคอลทำงานอยู่ 2 โปรโตคอลที่แตกต่างกัน คือ โปรโตคอล TCP และโปรโตคอล UDP ในการส่งผ่านข้อมูลลงไปในที่ชั้นถัดไป โปรโตคอล TCP และ UDP จะถูกผนึกเข้าไปในโปรโตคอล IP และส่งต่อไปยังเครือข่ายอินเตอร์เน็ตต่อไป
- Internetwork layer มีหน้าที่ส่งผ่านข้อมูลในระหว่างเครือข่าย โดยมีโปรโตคอลที่ทำงานเป็นกลไกสำคัญในการส่งผ่านข้อมูลไปยังเครือข่ายบนอินเตอร์เน็ต คือ โปรโตคอล IP นอกจากนี้ในชั้น Internetwork layer ยังมีโปรโตคอลทำงานอยู่ด้วยอีก 2 ชนิด คือ โปรโตคอล Internet Control Message Protocol (ICMP) และโปรโตคอล Address Resolution Protocol (ARP)
- Network Interface layer การทำงานระดับล่างสุดต่อจาก Internetwork layer จะเป็นการแปลงข้อมูล IP datagram ให้อยู่ในรูปที่เหมาะสม และแปลงเป็นสัญญาณไฟฟ้าส่งไปยังเครือข่ายต่อไป ซึ่งในชั้น Network Interface layer นี้ เมื่อเทียบกับมาตรฐาน OSI model แล้วจะเป็นการรวม 2 layer เข้าด้วยกันคือ Data link layer และ Physical layer
กลไกของโปรโตคอล IP
การส่งผ่านข้อมูล หรือ IP datagram ไปยังเครือข่ายอินเตอร์เน็ตนั้น โปรโตคอล IP จะทำหน้าที่พิจารณาว่าปลายทางในการส่ง IP datagram นั้นจะเป็นภายในเครือข่ายของตนเองหรือจะต้องส่งข้อมูลข้ามเครือข่ายไปอีก โดยการพิจารณานี้โปรโตคอล IP จะตรวจสอบจากค่า IP address ปลายทางว่าส่วนที่เป็นค่าหมายเลขเครือข่ายจะเหมือนกับค่าหมายเลขเครือข่ายของ IP address ต้นทางหรือไม่ ถ้าค่าตรงกันแสดงว่าการส่งข้อมูลอยู่ภายในเครือข่ายเดียวกัน แต่ถ้าค่าต่างกัน แสดงว่าต้องส่งข้อมูลไปยังปลายทางที่อยู่คนละเครือข่ายกัน
การกำหนด IP address ให้กับอุปกรณ์
เราไม่จำเป็นต้องกำหนดหมายเลข IP address ให้กับอุปกรณ์ทุกชิ้นในเครือข่ายทั้งหมดก็ได้ แต่มีหลักอยู่ว่า เราจะต้องกำหนดหมายเลข IP address ให้กับจุดเชื่อมต่อเข้าสู่เครือข่ายทุกจุด อาจจะหมายถึง คาร์ด LAN ที่ติดตั้งในเครื่องเซิร์ฟเวอร์ที่ Router ใช้เชื่อมต่อเข้ากับเครือข่าย เป็นต้น การกำหนดหมายเลข IP address ให้กับจุดเชื่อมต่อนี้ทำให้เราเข้าใจได้ว่าในบางอุปกรณ์ที่มีจุดเชื่อมต่อเข้าเครือข่ายมากกว่าหนึ่งจุด
การ Bind IP address
การกำหนดหมายเลข IP address ให้กับจุดเชื่อมต่อ เช่น LAN card แล้ว ที่เครื่องเซิร์ฟเวอร์จะต้องมีการ bind หรือผนวกค่า IP address เข้ากับ Ethernet driver เพื่ออ้างอิงหมายเลข IP กับฮาร์ดแวร์ ให้ทำหน้าที่ติดต่อส่งข้อมูลระดับ network interface ได้ต่อไป
ติดตามข่าวสารที่ LINE : @cctvbangkok
|