หน้าที่ Router คืออะไร ?
มีหน้าที่เชื่อมเครือข่ายที่อยู่ไกลเข้าด้วยกัน ไม่ว่าเครือข่ายนั้นจะเหมือนหรือต่างกันก็ตาม การเชื่อมโยงนี้มีได้หลายลักษณะจะเชื่อมโยงโดยผ่านการบริการ Wide Area Network services เช่น การเชื่อมโยงด้วยบริการ ISDN อุปกรณ์ Router ทำงานที่ Layer 3 (CCTV) กล้องวงจรปิด การส่งข้อมูลจะทำได้โดย ไม่ต้องสนใจว่าด้านกายภาพของเครือข่ายที่เชื่อมต่ออยู่จะเป็นอย่างไร บทบาทการทำงานอย่างคร่าว ๆ ของ Router เป็นดังนี้

- เมื่อ Router ได้รับข้อมูลมาจากพอร์ตเชื่อมต่อจะทำการตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลก่อน ถ้าข้อมูลที่ใดผิดพลาดจะยกเลิกการทำงานและไปอ่านข้อมูลใหม่แล้วจึงกลับเข้ามาทำงานต่อ ถ้าขบวนการถูกต้องก็จะทำงานในขั้นต่อไป
- Router จะพิจารณาเส้นทางในการส่งผ่านข้อมูลว่าต้องส่งออกไปยังเครือข่ายอื่นอย่างไร ในขั้นตอนนี้ Router จะตรวจสอบและทำการคำนวณค่าจากข้อมูลของตน ซึ่งต่อไปจะเรียกว่า “ขบวนการพิจารณาเส้นทางส่งผ่านข้อมูล” เมื่อได้ผลลัพธ์แล้วจะทำงานในขั้นต่อไป
- นำข้อมูลที่ทรายว่าต้องส่งผ่านนี้ไปอย่างไร ลงในลำดับ หรือ เพื่อรอการส่งออกต่อไป
- Router ยังมีการรับและส่งข้อมูล ระหว่างกันเพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลเกี่ยวกับเส้นทางการส่งผ่านข้อมูลอยู่เป็นระยะ ๆ ตามเวลาที่กำหนด เนื่องจากเครือข่ายอาจมีการเปลี่ยนแปลงไป ทำให้เส้นทางการส่งเป็นเส้นทางที่ใช้ไม่ได้ และในการแลกเปลี่ยนข้อมูลกันนี้ จะมีการติดต่อกันโดยใช้โปรโตคอลพิเศษคุยกันเรียกว่า โปรโตคอลสำหรับการแลกเปลี่ยนข้อมูลเส้นทางในการส่งผ่านข้อมูล
การระบุเส้นทางด้วย ๆ Static Route และ Routing Protocol
Static route เป็นการกำหนดเส้นทางการส่งผ่านข้อมูลแบบตายตัว โดยระบุเส้นทางในการส่งผ่านข้อมูล ผู้ดูแลระบบจะเป็นผู้คิดและจัดทำขึ้นให้แต่ละการเชื่อมต่อระหว่างเครือข่ายและเครื่องปลายทางมีเส้นทางที่ตายตัว ข้อมูลดังกล่าวจะไม่สามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงระหว่างการทำงานได้ แม้ว่าเครื่องปลายทางจะมีปัญหาหรือวงจรเชื่อมโยงบางช่วงจะล่มไปก็ตาม
การเรียนรู้และการกำหนดเส้นทางใหม่โดยอัตโนมัติ เมื่อเกิดปัญหาว่าวงจรเชื่อมโยงบางวงจรใช้งานไม่ได้ จะต้องอาศัยโปรโตคอลที่ทำหน้าที่พิเศษในด้านการพิจารณาหาเส้นทางการส่งผ่านข้อมูลเพื่อติดต่อกันระหว่าง Router นั่นก็คือมี routing protocol เข้ามาช่วยเหลือ routing protocol จะทำหน้าที่พิจารณาเส้นทางและแลกเปลี่ยนสถานะของเส้นทางระหว่าง Router ด้วยกันและปรับปรุงข้อมูลเมื่อเกิดการเปลี่ยนแปลงในเครือข่าย
ขบวนการพิจารณาเส้นทางส่งผ่านข้อมูล (Routing Algorithm)
ขบวนการพิจารณาเส้นทางส่งผ่านข้อมูล หรือเรียกว่า routing algorithm มีบทบาทในการปรับปรุงข้อมูลใน routing table ให้ใหม่อยู่เสมอตามการเปลี่ยนแปลงของเครือข่ายและมีการพิจารณาว่า การส่งผ่านข้อมูลนั้นจะมีประสิทธิภาพตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้หรือไม่ เพื่อช่วยแก้ปัญหาในการส่งข้อมูลไม่ถึงปลายทาง เราสามารถแบ่งประเภทของ routing algorithm ออกได้เป็นหลายประเภท ซึ่งมีวิธีการคำนวณพิจารณาหาเส้นทางในการส่งข้อมูลที่แตกต่างกัน และมีการปรับปรุงข้อมูลระหว่าง Router ด้วยกันที่แตกต่างกันด้วย ถ้าต้องการให้สามารถเชื่อมโยงเครือข่ายระหว่างกันได้ และสามารถส่งข้อมูลข้ามเครือข่ายได้อย่างถูกต้องแล้วละก็ อุปกรณ์ Router ที่ใช้เชื่อมต่อกันนั้นจะต้องใช้งาน routing protocol ที่เหมือนกันด้วย
 
ติดตามข่าวสารที่ LINE : @cctvbangkok
|