โครงสร้างของโปรโตคอล TCP/ IP
ในการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ให้สามารถรับส่งข้อมูลกันในระยะใกล้ ๆ นั้น เราจะใช้ LAN เป็นตัวเชื่อมต่อ ซึ่งระบบเครือข่ายที่ใช้กันมากได้แก่ Ethernet กับ Token Ring เครือข่ายทั้งสองชนิดนี้มีการเชื่อมต่อได้ไม่ไกลนัก ระบบของLAN การรับส่งข้อมูลจากระดับของโปรแกรมประยุกต์ซึ่งเทียบเท่าชั้นที่ 5, 6, และ 7 ของ OSI 7-Layer Model นั้นจะถูกผนึกด้วยเฟรม TCP
เมื่อเราต้องการเชื่อมเครื่องลูกข่าย cctv กับเครือข่ายที่อยู่ไกลกันมาก การเชื่อมต่อและรับส่งข้อมูลระหว่างกันเป็นระยะทางหลาย กิโลเมตร อุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ กล้องวงจรปิดราคาถูก ที่ใช้รับส่งข้อมูลจะไม่ใช่ LAN Card เราจำเป็นต้องรับส่งข้อมูลผ่านพอร์ตอนุกรม และต่อเข้ากับโมเด็ม ดังนั้นกลไกการเชื่อมต่อโดยใช้โปรโตคอลจึงเกิดขึ้น เพื่อทำหน้าที่รับส่งข้อมูลเฟรมของ IP ทำให้คอมพิวเตอร์ที่อยู่ห่างไกลกันมาก ๆ สามารถรับส่งข้อมลโดยใช้ TCP / IP ได้
Serial Line Internet Protocol (SLIP)
SLIP ใช้สำหรับรับส่งข้อมูล TCP / IP ผ่านพอร์ตอนุกรม ได้พัฒนาขึ้นให้ใช้งานกับเครือข่าย UNET เพื่อรับส่งข้อมูล แต่ในขณะนั้นยังไม่มีการใช้งานกันมากนัก ก่อนที่จะมี SLIP ใช้งานให้เราติดต่อระหว่างคอมพิวเตอร์สองระบบด้วย TCP / IP นั้น การเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์จากระยะไกลผ่านโมเด็มและสายโทรศัพท์จะใช้ Telnet เป็นโปรแกรมติดต่อกับคอมพิวเตอร์ปลายทาง จะมีการแตกต่างกันอย่างมากกับการใช้ SLIP เนื่องจากการใช้โปรแกรม Telnet จะเป็นการใช้งานในลักษณะ Remote Terminal คือคำสั่งต่าง ๆ ที่พิมพ์จากแป้นพิมพ์ของเราจะถูกส่งไปให้คอมพิวเตอร์ปลายทางทำงานแทน และส่งข้อความแสดงผลบนจอภาพกลับมาให้เราเท่านั้น
โปรโตคอล SLIP มีคุณสมบัติเพียงทำหน้าที่ผนึกข้อมูลของเฟรม IP ทั้งหมด โดยกำหนดตัวอักษรพิเศษขึ้นมาเพื่อรับส่งผ่านการเชื่อมต่อแบบอนุกรม ซึ่ง SLIP จะไม่มีการตรวจสอบแอดเดรสของผู้รับ ไม่มีการตรวจสอบข้อผิดพลาดในการรับส่ง ไม่มีการย่อขนาดข้อมูลในขณะรับส่ง และไม่มีการระบุชนิดของโปรโตคอลที่รับส่งผ่าน SLIP คือการรับส่งได้เฉพาะข้อมูล TCP / IP เพียงอย่างเดียวเท่านั้น จึงไม่ยุ่งยากซับซ้อน แต่ในขณะเดียวกันก็ทำให้มีข้อจำกัดในการใช้งาน ทำให้ขาดความสามารถหลายอย่างที่จำเป็นต้องใช้ในปัจจุบัน สิ่งที่ขาดไปคือ ในการเชื่อมต่อ SLIP นั้น จะต้องกำหนด IP address ให้กับคอมพิวเตอร์ทั้งฝั่งผู้รับและผู้ส่งให้เรียบร้อยเสียก่อน เนื่องจาก SLIP ไม่มีกลไกในการกำหนด IP address
Point to Point Protocol (PPP)
คล้ายกับ SLIP มีหน้าที่ผนึกข้อมูลของเฟรม IP แล้วส่งออกไปทางพอร์ตอนุกรม เพื่อให้คอมพิวเตอร์ทั้งสองระบบสามารถสื่อสารกันโดยใช้ TCP / IP หรือโปรโตคอลอื่น ๆ ได้ เป็นการติดต่อโดยใช้พอร์ตอนุกรมต่อตรงหรือจะต่อผ่านโมเด็มก็ได้ ซึ่งมี PPP เป็นโปรโตคอลที่ควบคุมการรับส่งข้อมูล
PPP เป็นฟังก์ชันที่แตกต่างจาก SLIP คือ โปรโตคอล PPP มีความสามารถในการผนึกโปรโตคอลระดับสูงได้หลายชนิด ซึ่ง PPP สามารถผนึกโปรโตคอลต่าง ๆ ส่งไปยังคอมพิวเตอร์ปลายทางพร้อม ๆ กันได้ในคราวเดียวกัน นอกจากนี้ PPP ยังมีฟังก์ชันในการลดขนาดข้อมูลขณะทำการรับส่งผ่านพอร์ตอนุกรม และการกำหนด IP address ที่เปลี่ยนแปลงได้ โดยใช้ฟังก์ชั่นที่เรียกว่า IP Control Protocol (IPCP) อีกด้วย จะเห็นว่า PPP มีฟังก์ชันที่มีประโยชน์เพิ่มขึ้นจาก SLIP หลายอย่าง แต่ส่วนที่เพิ่มขึ้นต้องใช้ตัวควบคุมรวมไปในเนื้อข้อมูลเพิ่มขึ้นตามไปด้วย โดยก่อนการรับส่งข้อมูลแบบ PPP จะมีการตกลงรายละเอียดการรับส่งข้อมูลและโปรโตคอลโดยใช้ LCP และ NCP ได้ตอบตกลงกันระหว่างผู้รับและผู้ส่งก่อน ภาระที่เพิ่มขึ้นมาก็คุ้มกับฟังก์ชันของ PPP ที่มีความสามารถมากขึ้นเมื่อเทียบกับ SLIP ทำให้ PPP
ได้รับความนิยมใช้งานแทนที่ SLIP ไปในที่สุด
Password Authentication Protocol (PAP)
กลไกในการตรวจสอบผู้ที่ต้องการใช้งานเครือข่ายผ่านโปรโตคอล ซึ่งได้เพิ่มระบบความปลอดภัยเข้ามาใช้ในการรับส่งข้อมูลระหว่างคอมพิวเตอร์ โดยมีการตรวจสอบชื่อผู้ใช้ผ่านรหัส เมื่อคอมพิวเตอร์ผู้รับและผู้ส่งติดต่อกันในตอนแรก ผลการตรวจถูกต้อง PAP ก็จะเข้าสู่ขั้นตอนการรับส่งปกติ แต่ถ้าไม่ถูกต้องจะหยุดการรับส่งข้อมูลระหว่างคอมพิวเตอร์เนื่องจากถือว่าการติดต่อนั่นไม่ถูกต้อง
Virtual Private Network (VPN)
การเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์จากระยะไกลเข้ามายังเครือข่ายภายในสำนักงานของเรานั้น ยิ่งระยะทางห่างไกลกันมากเท่าไร ค่าใช้จ่ายก็สูงเพิ่มมากขึ้นเท่านั้น ซึ่งถ้าเราไม่ใช้โมเด็มต่อผ่านสายโทรศัพท์ ก็อาจใช้การเช่าคู่สายที่เป็นวงจรทางไกลหรือที่เรียกว่า leased line มาเป็นตัวรับส่งข้อมูลระหว่างจุดสองจุดได้ แต่การเช่าวงจรสำหรับรับส่งข้อมูลก็มีข้อดีและข้อเสีย ถ้ามีการรับส่งข้อมูลจากที่ใดที่หนึ่งมายังสำนักงานของเราในแต่ละวันเป็นจำนวนมากและต้องใช้เวลานาน ๆ การเช่าวงจรรับส่งข้อมูลก็จะเป็นวิธีที่ดีที่สุด คือจะมีความปลอดภัยในการรับส่งข้อมูล เนื่องจากไม่มีคนอื่นมาใช้งานปนกับเรา และมีค่าใช้จ่ายต่ำกว่าการต่อโมเด็มผ่านสายโทรศัพท์ ส่วนข้อเสียของการใช้วงจรเช่าก็คือ ถ้าข้อมูลที่ส่งในแต่ละวันไม่มากนัก ค่าเช่าวงจรอาจะแพงกว่าการใช้โมเด็มต่อผ่านสายโทรศัพท์ เนื่องจากค่าเช่าวงจรคิดเป็นรายเดือน และข้อเสียอีกอย่างหนึ่งก็คือ จุดรับส่งข้อมูลระหว่าคอมพิวเตอร์ทั้งสองจะเปลี่ยนสถานที่ไม่ได้
อีกวิธีหนึ่งที่จะเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ของเราจากระยะไกลเข้ากับเครือข่ายของสำนักงานได้ก็คือ การติดต่อผ่านอินเตอร์เน็ต โดยเป็นสมาชิกและใช้บริการอินเตอร์เน็ต เราก็จะสามารถรับส่งข้อมูลผ่านทางอินเตอร์เน็ตได้ โดยมีค่าใช้จ่ายต่ำกว่าการเชื่อมต่อด้วยโมเด็มผ่านสายโทรศัพท์ และต่ำกว่าการเช่าวงจรเป็นอย่างมาก
ข้อดีของการเชื่อมต่อผ่านอินเตอร์เน็ตคือ เราสามารถเชื่อมต่อจากที่ใด ๆ ในโลกได้ ซึ่งราคาค่าบริการทั้งหมดก็ถูกกว่าวิธีอื่น ๆ แต่ข้อเสียที่สำคัญก็คือ ไม่มีความปลอดภัยในการรับส่งข้อมูล เนื่องจากข้อมูลที่ส่งผ่านอินเตอร์เน็ตอาจถูกดักไปใช้ได้ เพราะต้องรับส่งข้อมูลผ่านเครือข่ายต่าง ๆ หลายเครือข่ายในอินเตอร์เน็ต
Point to Point Tunneling Protocol (PPTP)
PPTP เป็นโปรโตคอลสำหรับสร้าง Tunnel ใช้รับส่งข้อมูลผ่านเครือข่ายสาธารณะ เช่น อินเตอร์เน็ต โดย PPTP สามารถผนึกเฟรมข้อมูลได้หลายชนิด เช่น IP, IPX หรือ NetBEUI แล้วส่งเฟรมเหล่านี้ตามปกติ เมื่อตรวจดูข้อมูลที่ถูกส่งออกไปจะเหมือนกับการรับส่งเฟรม PPP ซึ่งแท้ที่จริงแล้วข้อมูลที่รับส่งอาจจะเป็นเฟรม IP, IPX หรือ NetBEUI ทีคอมพิวเตอร์ทำการรับส่งข้อมูลกันจริง ๆ ก็ได้ เมื่อใช้การเข้ารหัสและการลดขนาดข้อมูลเข้าไปอีก การรับส่งข้อมูลก็จะปลอดภัย
VPN กับโปรโตคอล Tunneling
เป็นการนำโปรโตคอลชนิดต่าง ๆ มาผนึกข้อมูล แล้วส่งออกไปใน “ท่อส่งข้อมูล” หรือ Tunnel ที่สร้างขึ้นโดยเฉพาะระหว่างผู้รับและผู้ส่ง เพื่อให้ข้อมูลมีความปลอดภัยเมื่อรับส่งผ่านอินเตอร์เน็ต และทำให้เราสามารถเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์จากระยะไกลเข้ามายังระบบเครือข่ายในสำนักงานได้ โดยไม่ต้องลงทุนสูงในการสร้างเครือข่ายของเราเอง ซึ่งเป็นหลักการของ Virtual Private Network ตามที่เราต้องการ
ติดตามข่าวสารที่ LINE : @cctvbangkok
|