อีเมล์ และโปรโตคอล ของอีเมล์
อีเมล์ (E-mail) หรือจดหมายอิเล็กทรอนิคส์ได้เริ่มใช้งานกันมานานแล้ว ตั้งแต่ยุคของเครื่องเมนเฟรมหรือมินิคอมพิวเตอร์ ในยุคต่อมาที่ระบบเน็ตเวิร์กทั้ง LAN และ WAN ต่างมีมาตรฐาน และเป็นระบบเปิดมากขึ้น ก็ได้ปรับเปลี่ยนการทำงานของอีเมล์มาเป็นแบบไคลเอนด์เซิร์ฟเวอร์ที่เป็นพื้นฐานแบบที่ใช้กันในระบบ UNIX และมีการพัฒนาอีเมล์เซิร์ฟเวอร์ขึ้น การทำงานของอีเมล์ไคลเอนด์และอีเมล์เซิร์ฟเวอร์มีส่วนประกอบดังนี้

- เมื่อ Router ได้รับข้อมูลมาจากพอร์ตเชื่อมต่อจะทำการตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลก่อน ถ้าข้อมูลที่ใดผิดพลาดจะยกเลิกการทำงานและไปอ่านข้อมูลใหม่แล้วจึงกลับเข้ามาทำงานต่อ ถ้าขบวนการถูกต้องก็จะทำงานในขั้นต่อไป
- User Agent เป็นโปรแกรมคอมพิวเตอร์ทางด้านผู้ใช้งาน แบ่งเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนของผู้ส่งและส่วนของผู้รับ โดย User agent นี้จะติดต่อเข้าสู่เซิร์ฟเวอร์ของตนโดยผ่านระบบ LAN ซึ่งในส่วนของ User agent นี้จะเป็นส่วนที่ผู้ใช้ติดตั้งโปรแกรมไคลเอนด์ของอีเมล์เพื่อเรียกใช้บริการอีเมล์
- MTA (Mail Transfer Agent) เป็นโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่จะส่งอีเมล์จากต้นทางไปยังผู้รับปลายทาง ซึ่งจะต้องส่งผ่านเครื่องจำนวนมากที่เชื่อมต่อกันในเครือข่าย และหากไม่สามารถส่งเมล์ถึงผู้รับได้ ยังทำหน้าทีส่ง error mail กลับมาส่งผู้ส่งได้อีก ซึ่งเครื่องที่มี MTA ทำงานอยู่มักจะมีเมล์บ็อกช์ของผู้ใช้อยู่ด้วย ซึ่งเป็น primary mailbox และเรียกเครื่องนั้นว่า Mail Server
โปรโตคอลและประเภทการใช้งาน
การทำงานทั่ว ๆ ไปของอีเมล์โดยสรุปมีเพียง 2 ประเภทคือ การส่งอีเมล์ และการรับอีเมล์ สำหรับการใช้เมล์แบบ Offline คือเครื่องที่มีผู้ใช้ใช้อ่านเมล์ไม่ได้ต่อกับเครื่องที่มีเมล์บ๊อกซ์ตลอดเวลา อาจเลือกดาวน์โหลดเมล์มาเก็บไว้ที่เครื่องของตัวเอง จะมีโปรโตคอลสำหรับรับอีเมล์ที่เกี่ยวข้องอีก ซึ่งจะทำหน้าที่ดาวน์โหลดหรืออัพโหลดอีเมล์จากเครื่องของผู้ใช้ไปยังเครื่องที่มี MTA อยู่
รูปแบบของข้อมูลที่ใช้ในโปรโตคอลต่าง ๆ ของอีเมล์นี้ถูกกำหนดไว้ใน RFC 822 ซึ่งแบ่งส่วนประกอบภายในอีเมล์เป็น 2 ส่วนคือ ส่วนที่เป็นจ่าหน้าอีเมล์ และข้อมูลของอีเมล์ ในส่วนของจ่าหน้าอีเมล์นี้มีไว้เป็นข้อมูลเพื่อให้ส่งไปถึงผู้รับ ส่วนที่เป็นข้อมูลของอีเมล์ ซึ่งจะแบ่งย่อยออกได้เป็น 2 ส่วนคือ ส่วนหัว และส่วนเนื้อความของอีเมล์ ส่วนหัวนี้จะถูกสร้างขึ้นอย่างอัตโนมัติโดย User agent ของผู้ส่ง ส่วนที่เป็นเนื้อความของอีเมล์นั้น จะเป็นบรรทัดที่อยู่แยกจากส่วนหัว โดยคั่นด้วยบรรทัดว่าง ๆ และในแต่ละบรรทัดของเนื้อความจะสิ้นสุดบรรทัดด้วย Carriage Return และ/หรือ Line Feed
 
ติดตามข่าวสารที่ LINE : @cctvbangkok
|