ทำความรู้จักกับภาษาคอมพิวเตอร์กันเถอะ
Scripting
การสร้างสรรค์เว็บเพจใหสามารถโต้ตอบกับผู้ใช้งานได้อย่างทันทีทันใดนั้น อาจทำได้โดยใช้ ภาษาสคริปต์ ร่วมกับการทำงานของ HTML สคริปต์นี้จะเป็นชุดคำสั่งแบบอื่น ๆ ที่ไม่ใช่ HTML (cctv) แต่ถูกใส่ไว้เป็นส่วนหนึ่งในไฟล์ HTML และสามารถทำงานร่วมกับคำสั่งหรือ Tag ของ HTML ได้
เทคโนโลยีของเว็บ - ด้านเซิร์ฟเวอร์
เป็นอีกส่วนหนึ่งที่มีความสำคัญ ซึ่งจะต้องได้รับการพัฒนาให้สอดคล้องกับเทคโนโลยีในส่วนไคลเอนต์ เพื่อที่จะให้เซิร์ฟเวอร์สามารถเชื่อมต่อกับเซิร์ฟเวอร์ในระบบอื่นได้ ในปัจจุบันก็ยังมีเทคนิคอื่น ๆ อีกหลายแบบที่สนับสนุนการทำงานบนเว็บเซิร์ฟเวอร์
NSAPI (Netscape Server API)
าขึ้นมาจากแนวความคิดของ CGI โดยมุ่งที่จะลดภาระการทำงานของเซิร์ฟเวอร์ในการใช้งาน CGI ลง เมื่อต้องให้ CGI ทำงานพร้อมกันหลาย ๆ งาน แนวความคิดของ NSAPI นี้เกิดจากการแบ่งโครงสร้างการทำงานของโปรโตคอล HTTP บนเซิร์ฟเวอร์ เมื่อได้รับการร้องขอข้อมูลจากไคลเอนต์ออกเป็นส่วนย่อย ๆ NSAPI จะยอมให้โปรแกรมผฟังก์ชันการทำงานต่าง ๆ ให้ผู้ใช้สามารถเรียกใช้งานได้ตามความต้องการ ซึ่งการทำงานของ NSAPI ( CCTV ) นี้จะได้ประสิทธิภาพและความเร็วสูงกว่า CGI ในปัจจุบันเทคนิคต่าง ๆ ที่ล้ำหน้ากว่าการใช้ NSAPI แล้วก็ตาม แต่ผู้ใช้พัฒนาโปรแกรมเว็บจำนวนไม่น้อยที่ยังคงใช้ NSAPI ในการพัฒนางานอยู่
WinCGI
เป็นเทคนิคหนึ่งที่พัฒนาจาก CGI เพื่อรองรับการทำงานของเว็บเซิร์ฟเวอร์ที่เป็น Windows ซึ่งการใช้งานอุปกรณ์อินพุต/เอาท์พุตมาตรฐานนั้นทำได้ยาก ดังนั้นจึงได้มีการพัฒนา WinCGI ขึ้นมา เพื่อให้โปรแกรมสามารถติดต่อด้วยโปรโตคอล HTTP ได้ โดย WinCGI จะรับอินพุตและบันทึกเอาท์พุตลงไฟล์ ini ของ Windows
ISAPI (Internet Server API)
เป็นมาตรฐานการพัฒนาโปรแกรมเว็บเซิร์ฟเวอร์ของไมโครซอฟท์ ที่ทำงานร่วมกับผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ของไมโครซอฟท์ หลักการทำงานของ ISAPI ใช้โปรแกรมที่เป็น DLL ซึ่งทำงานอยู่เว็บเซิร์ฟเวอร์ และคำสั่งที่อยู่ใน HTML ของเว็บเพจจะเป็นฝ่ายเรียก DLL ที่ต้องการขึ้นมาทำงาน การพัฒนาโปรแกรมบนเว็บเพจที่ใช้ ISAPI อาจใช้ภาษาคอมพิวเตอร์ที่สามารถคอมไพล์เป็นโปรแกรม DLL1 มาพัฒนาได้ ซึ่งประสิทธิภาพการทำงานขึ้นอยู่กับความถูกต้องสมบูรณ์ของโปรแกรม DLL ที่พัฒนาขึ้น การทำงานของ ISAPI สามารถแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ ISAPI Application และ ISAPI Filter
โดย ISAPI Application จะทำงานคล้ายกับ CGI ในปัจจุบัน การใช้ ISAPI Application นี้จะช่วยให้ภาระการทำงานของเว็บเซิร์ฟเวอร์น้อยกว่าการใช้ CGI และในส่วนของ ISAPI Filter จะทำงานแตกต่างกัน โดยเป็นโปรเชสที่อยู่บนเว็บเซิร์ฟเวอร์คอยตรวจสอบการรับส่งข้อมูลของโปรโตคอล HTTP ดักจับข้อมูลที่ติดต่อระหว่างไคลเอนต์ และเว็บเซิร์ฟเวอร์ ซึ่งการทำงานลักษณะนี้ ISAPI Filter จะใช้สำหรับโปรแกรมบนเว็บเซิร์ฟเวอร์ที่มีลักษณะเฉพาะ
ASP (Active Server Page)
เป็นเทคโนโลยีในการพัฒนาโปรแกรมของเว็บเซิร์ฟเวอร์อีกแบบหนึ่งของไมโครซอฟท์ ต่างจากกลไกของ ISAPI ที่จะใช้โปรแกรมในแบบของ DLL แต่ ASP จะทำงานโดยการอาศัยภาษาสคริปต์ที่อยู่ในเซิร์ฟเวอร์ เทคโนโลยีของ ASP นี้สามารถทำงานร่วมกับเว็บเซิร์ฟเวอร์ที่ใช้ระบบปฏิบัติการ Windows NT และโปรแกรม Internet Information Server (IIS) ของไมโครซอฟท์และในปัจจุบันก็มีผลิตภัณฑ์ในระบบปฏิบัติการอื่น ๆ ที่ใช้พัฒนาขึ้นเพื่อให้สามารถใช้งาน ASP ได้เช่นกัน
ASP มีจุดเด่น ก็คือ การพัฒนาโปรแกรมของเว็บเซิร์ฟเวอร์ด้วยภาษาสคริปต์ธรรมดา ไม่จำเป็นต้องมีภาษาที่พิเศษเฉพาะ จึงไม่จำเป็นต้องผ่านขั้นตอนในการคอมไฟล์โปรแกรม
Proxy Server
เป็นอุปกรณ์อีกประเภทหนึ่งที่ช่วยให้การใช้งานบนอินเตอร์เน็ตให้มีประสิทธิภาพและประโยชน์มากเพิ่มขึ้น ซึ่งไคลเอนต์ต่าง ๆ ที่ต้องการติดต่อเข้าไปใช้งานเว็บเซิร์ฟเวอร์บนอินเตอร์เน็ตก็จะต้องผ่าน Proxy เข้าไป เหมือนว่า Proxy เป็นตัวกลางระหว่างไคลเอนต์ของเน็ตเวิร์ก และเครือข่ายอินเตอร์เน็ตนั่นเอง Proxy บางตัวสามารถทำงานเป็น FireWall ได้ด้วย การทำงานของ Proxy ตามมาตรฐานที่กำหนดไว้โดย CERN เมื่อไคลเอนต์ต้องการจากเซิร์ฟเวอร์ ก็จะส่งคำขอผ่านไปยัง Proxy ซึ่งโปรโตคอลที่ Proxy รองรับได้ก็จะมีโปรโตคอลมาตรฐานของอินเตอร์เน็ตทั่ว ๆ ไป จะเห็นได้ว่าข้อมูลบางส่วนที่ไคลเอนต์เรียกใช้งานผ่าน Proxy จะถูกเก็บไว้ที่ Proxy ด้วย ช่วยให้ไม่ต้องไปดึงรายละเอียดที่ต้องการจากเว็บเซิร์ฟเวอร์ใหม่ทุกครั้งที่ไคลเอนต์เรียกใช้งาน
Web Proxy Server Caching
ประโยชน์ที่ได้จากการใช้ Proxy กับเวิลด์ไวด์เว็บก็คือ การเรียกใช้ข้อมูลจากเว็บเซิร์ฟเวอร์ เมื่อไคลเอนต์เรียกใช้ข้อมูลเดิมซ้ำอีก Proxy ก็จะส่งข้อมูลที่มีอยู่กลับไปให้ไคลเอนต์โดยไม่ต้องไปดึงจากเว็บเซิร์ฟเวอร์ผ่านเน็ตเวิร์กให้เสียเวลา ดังนั้นจะเห็นว่าประโยชน์ที่จะได้ก็คือ ผู้ใช้สามารถทำงานได้เร็วขึ้น เพราะไม่ต้องเสียเวลาไปดึงข้อมูลผ่านเน็ตเวิร์กนั่นเอง แต่ข้อมูลจากเว็บเซิร์ฟเวอร์บางประเภทก็ไม่สามารถเก็บไฟล์ที่แคชของ Proxy ได้ทั้งหมด จำเป็นต้องไปตรวจสอบรายละเอียดที่เว็บเซิร์ฟเวอร์ทุกครั้งที่ใช้งาน ซึ่งเว็บที่ไม่สามารถใช้งานผ่านแคชได้จะถูกระบุด้วย Tag บางประเภท นอกจากนั้นข้อมูลที่เก็บอยู่ในแคชซึ่งล้าสมัย หรือข้อมูลที่ต้องตรวจสอบยืนยันความถูกต้องก็จะใช้งานผ่านแคชของ Proxy ไม่ได้
ในการจัดการแคชของ Proxy Server จะมีอยู่ 2 แบบคือ
- Passive Caching จะเป็นการจัดการแคชแบบทั่วไป คือจะบันทึกข้อมูลเองในแคชของ Proxy เฉพาะเมื่อไคลเอนต์มีการขอใช้ข้อมูลผ่านทาง Proxy Server เท่านั้น
- Active Caching จะใช้เทคนิคที่สูงกว่า โดย Proxy Server จะพิจารณาเองว่าควรจะเก็บข้อมูลจากเว็บเซิร์ฟเวอร์ใด และเก็บไว้ในแคชเมื่อใด โดยไม่จำเป็นต้องรอให้ไคลเอนต์ขอใช้ข้อมูลเข้ามาก่อน
ActiveX
เทคโนโลยีของ ActiveX ไมโครซอฟได้นำม่เพื่อรองรับการใช้งานอินเตอร์เน็ต ประกอบด้วยที่ทำงาได้ทั้งในส่วนของโคลเอนต์ และส่วนที่เป็นเว็บเซิร์ฟเวอร์ กลไกของ ActiveX จะทำให้เครื่องไคลเอนต์สามารถนำผลลัพธ์จากเซิร์ฟเวอร์ผ่านเน็ตเวิร์กมาแสดงผลภายใต้ยราวเซอร์ของไคลเอนต์ได้
ActiveX ได้พัฒนาเทคโนโลยีจากพื้นฐานของ COM ซึ่งเป็นขั้นที่ 2 ของ OLE มีความสามารถที่จะยอมให้โปรแกรมที่ต่างกันสามารถถ่ายทอดข้อมูลไปใช้งานร่วมกันได้ ซึ่งมีในยุคต้นของการปฏิบัติการ Windows ในปัจจะบัน COM ได้พัฒนาขึ้นมาเป็นเทคโนโลยีของ DCOM โดยให้ออบเจ็คอยู่คนละเครื่องกัน และมีมาตรฐานการติดต่อที่เหมือนกัน สามารถติดต่อสื่อสารกันข้ามเน็ตเวิร์กได้ จะเห็นว่า COM เป็นส่วนของซอฟต์แวร์เล็ก ๆ ที่ยอมให้โปรแกรมอื่น ๆ มาเรียกใช้งานเมื่อต้องการตามวิธีการที่ผู้พัฒนา COM ได้กำหนดไว้ นอกจากนี้ยังมีคุณสมบัติที่สามารถนำมาใช้ใหม่ได้ จึงไม่ขึ้นอยู่กับโปรแกรมใดโปรแกรมหนึ่ง แต่สามารถใช้งานร่วมกับโปรแกรมต่าง ๆ ได้ เป็นรากฐานของเทคโนโลยีที่นำมาพัฒนาเป็น ActiveX โดยที่จะประกอบด้วยส่วนประกอบที่สำคัญสองส่วนเรียกว่า ActiveX Control และ Control Container ส่วนของ ActiveX Control จะเป็นส่วนของซอฟต์แวร์สร้างขึ้นมาเพื่อการทำงานอย่างใดอย่างหนึ่งและกำหนดวิธีการอินเตอร์เฟสมาตรฐานไว้เพื่อให้สามารถพัฒนาโปรแกรมอื่น ๆ เพื่อเชื่อมต่อได้กับ ActiveX Control ดังนั้นจึงเป็นส่วนของซอฟต์แวร์ที่สามารถเรียกมาใช้งานใหม่ได้เมื่อต้องการ แต่ ActiveX Control จะทำงานเพียงลำพังไม่ได้ต้องถูกสั่งงานผ่านโปรแกรมที่ในส่วนที่เรียกว่า Control Container ที่เห็นโดยทั่วไปคือโปรแกรมบราวเซอร์
DHTML (Dynamic HTDML)
ได้ถูกออกแบบมาเพื่อให้แสดงข้อมูลบนจอภาพ มีคำสั่งต่าง ๆ ทำหน้าที่กำหนดรูปแบบบนจอภาพเปรียบเหมือนภาพนิ่งที่อยู่กับที่ กรณีที่ต้องการให้เว็บเพจที่ใช้ HTML สามารถเคลื่อนไหวและตอบได้กับผู้ใช้อย่างทันทีทันใด ต้องใช้คุณสมบัติที่เรียกว่า Dynamic HTML ซึ่งเทคนิคนี้จะหลีกเลี่ยงหากการดึงข้อมูลจากเว็บเซิร์ฟเวอร์ตลอดเวลา โดยการทำงานผสมผสานของหลาย ๆ ส่วนประกอบกัน เพื่อให้เว็บเพจที่สร้างทำงานได้ในแบบ DHTML ซึ่งคุณสมบัตินี้ได้รับการกำหนดไว้เป็นมาตรฐานตั้งแต่ HTML 4.0 เป็นต้นมา
ติดตามข่าวสารที่ LINE : @cctvbangkok.com
|