การสร้างนิสัยอุตสาหกรรมในการปฏิบัติงาน
ปัจจุบันการผลิตได้พัฒนารูปแบบเป็นแบบอุตสาหกรรมมากขึ้น จากเดิมการผลิตใช้มือหรือแรงคนก็เปลี่ยนมาใช้เครื่องมืออุปกรณ์ เครื่องทุ่นแรงหรือเครื่องจักรที่มีเทคโนโลยีมากขึ้นและพัฒนาการผลิตเป็นระบบโรงงาน และมีการขยายตัวมาเป็นอุตสาหกรรมในแขนงการผลิต กล้องวงจรปิด (cctv) ต่าง ๆ การผลิตในระบบอุตสาหกรรมต้องคำนึงถึงปริมาณและคุณภาพของผลผลิต การทำงานในระบบผลิตนี้จะต้องมีการแบ่งงานหรือหน้าที่กันอย่างชัดเจนตามขั้นตอนจนผ่านการผลิตแล้วแปรรูปเป็นวัตถุสำเร็จรูป มีการบริหารงาน ซึ่งมีผลต่อความสัมพันธ์ของคนในองค์กรที่มีลักษณะแตกต่างไปจากเดิม
ความหมายของอุตสาหกรรม
กิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับคนและเครื่องจักรในทางเศรษฐกิจ เครื่องจักรทำการเปลี่ยนแปลงสภาพวัตถุดิบให้เป็นผลิตภัณฑ์ไว้สำหรับบริโภค รวมถึงกิจการให้บริการด้านความสะดวกสบายแก่ประชาชน
ถ้าจะให้ได้ผลดีการประกอบการทางอุตสาหกรรมกล้องวงจรปิด (cctv) ต้องอาศัยความร่วมมือระหว่างลูกจ้างกับนายจ้าง ระหว่างคนงานกับฝ่ายจัดการ ร่วมกันคิด ร่วมกันทำ ร่วมกันรับผลประโยชน์ที่เกิดขึ้นอย่างเป็นธรรมนั้น เรียกว่า การร่วมมือร่วมใจกันทางอุตสาหกรรม ความร่วมมือร่วมใจกันระหว่างนายจ้างและลูกจ้างจะเป็นไปด้วยดีและจริงใจต่อกัน ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ไม่หวังผลประโยชน์ส่วนตัว และการให้เกียรติซึ่งกัน การอาศัยพึ่งพาร่วมใจกันในการประกอบธุรกิจทำให้เกิดผลทางเศรษฐกิจ ทั้งสองฝ่ายควรปฏิบัติและสร้างความสัมพันธ์ที่ต่อกันดังนี้
นายจ้างควรปฏิบัติต่อลูกจ้าง ดังนี้
- บันทึกข้อตกลงที่เกี่ยวกับสภาพการจ้าง และปฏิบัติตามกฎหมายแรงงาน
- วิธีปฏิบัติงาน และให้ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับกฎหมาย
- รับฟังข้อเสนอแนะจากลูกจ้าง ปรับปรุงสื่อข้อความในสถานประกอบการ
- นโยบายการบริหารงานบุคคลให้ชัดเจน หน้าที่ในแต่ละตำแหน่ง เพื่อความมั่นคงในการทำงาน
- ยอมให้มีสหภาพแรงงาน และใช้ประโยชน์จากสหภาพแรงงานในการสร้างความสัมพันธ์ต่อดีต่อกัน
- ความสนใจกับปัญหาค่าครองชีพของคนงาน จัดสวัสดิการตามความเหมาะสมด้วยความเป็นธรรม
- ให้เกียรติด้วยความเป็นมนุษย์ของกันและกัน
- ค่าตอบแทนด้วยความยุติธรรมและตรงต่อเวลา
ฝ่ายลูกจ้างควรถือปฏิบัติในบรรทัดฐาน ดังนี้
- ปฏิบัติตามกฎหมายแรงงาน และตามข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง
- มีทัศนคติที่ดีต่องานและผู้บังคับบัญชา
- ศึกษางาน และระเบียบปฏิบัติงานอย่างมีประสิทธิภาพตามวัตถุประสงค์ในการทำงาน
- ทำงานด้วยความเต็มใจตามที่ได้รับมอบหมาย ขยัน ซื่อสัตย์
- ใส่ใจรักษาทรัพย์สินและผลประโยชน์ของนายจ้าง
- พูดจาด้วยความสุภาพ
- ปรับสภาพของตนเองให้เข้ากับงานและหน่วยงาน หมั่นศึกษาหาความรู้
ประเภทของจริยธรรม
เกิดขึ้นมากมายทั้งที่มีอยู่ตามธรรมชาติและที่มนุษย์เป็นผู้บัญญัติหรือสร้างขึ้นมาแบ่งออกเป็นได้ 3 ประเภทใหญ่ ๆ ดังนี้คือ
- จริยธรรมที่สร้างความเจริญให้ปัจเจกชน หมายถึง จริยธรรมที่บุคคลแต่ละคนนำมาประพฤติปฏิบัติแล้วมีความเจริญ และเกิดความสุข ได้แก่ ความขยัน ความอดทน ความพากเพียร การรู้จักพึ่งพาตนเอง
- จริยธรรมที่ส่งเสริมความสัมพันธ์อันดีระหว่างมนุษย์ หมายถึง จริยธรรมที่เสริมสร้างให้มนุษย์อยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข ความสามัคคี จริยธรรมประเภทนี้ได้แก่ ความสุภาพอ่อนโยน ความเอื้อเฟื้อเพื่อแผ่ การรู้จักเคารพสิทธิของผู้อื่น
- จริยธรรมที่ส่งเสริมความเจริญมั่นคงให้แก่ชาติบ้านเมือง หมายถึง จริยธรรมที่ส่งเสริมให้ชาติบ้านเมืองมั่นคงเป็นปึกแผ่น เป็นเอกราช จริยธรรมนี้ได้แก่ ความรักชาติ ความกล้าหาญ ความเห็นแก่ส่วนร่วม ความรักในศิลปวัฒนธรรม
ประโยชน์ของจริยธรรม
- ประโยชน์ต่อผู้ประพฤติปฏิบัติ ผู้ศึกษาจะมีความสุขความเจริญ เช่น มีความมัธยัสถ์ ความรับผิดชอบ การรู้จักประมาณตน เมื่อเรานำมาปฏิบัติตามทำให้ได้รับความสำเร็จและความเจริญในชีวิต
- ประโยชน์ต่อสังคม การปฏิบัตินี้นอกจากผู้ปฏิบัติจะได้รับประโยชน์ยังก่อให้เกิดประโยชน์แก่ส่วนรวมด้วย ด้วยการปฏิบัติดังนี้ ความกตัญญูกตเวที การเคารพในความคิดเห็นของผู้อื่น การไม่เบียดเบียนกัน เป็นต้น ถือเป็นหลักสำคัญที่ทำให้ครอบครัวและในสังคมอยู่รวมกันได้อย่างมีความสุข
- ประโยชน์ต่อประเทศชาติ มีความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน อำนวยคุณประโยชน์ให้เกิดความสุข ความเจริญในประเทศชาติ ความสงบสุข ความมั่นคงทางเศรษฐกิจ
- ประโยชน์ต่อโลก เมื่อประชาชนมีความประพฤติและปฏิบัติตามหลักจริยธรรม ทำให้เกิดความสงบและสันติสุขปราศจากสงคราม ทั้งระหว่างลัทธิการเมืองที่แตกต่างกัน
- จริยธรรมให้อาหารทางใจ นอกจากจะให้ความสำเร็จทางด้านความเป็นอยู่แล้ว การประกอบอาชีพการงาน และยังก่อให้เกิดความสงบสุขในสังคม ยังทำให้อิ่มใจด้วย เช่น ความละอายต่อความชั่ว การเสียสละ ความบริสุทธิ์ใจ เป็นต้น ทำให้เราเป็นคนที่มีความสุขทำให้จิตใจเป็นอิสระปราศจากความเร่าร้อน
บุคคลที่มีคุณธรรมจริยธรรมย่อมเป็นที่ต้องการของสังคม และสถานประกอบการต่าง ๆ มีความเห็นอกเห็นใจกัน ไม่เอารัดเอาเปรียบ ช่วยสร้างและพัฒนาสังคม และสถานประกอบการ ให้มีระเบียบวินัย มีความเจริญก้าวหน้า เกิดความสงบสุขต่อตนเอง ครอบครัว สังคม และประเทศชาติ
- คุณธรรม คุณงานความดี
- จริยธรรม ธรรมที่เป็นข้อประพฤติปฏิบัติ ศีลธรรม
บุคคลที่มีคุณธรรมจริยธรรมย่อมเป็นที่ต้องการของสังคม และสถานประกอบการต่าง ๆ มีความเห็นอกเห็นใจกัน ไม่เอารัดเอาเปรียบ ช่วยสร้างและพัฒนาสังคม และสถานประกอบการ ให้มีระเบียบวินัย มีความเจริญก้าวหน้า เกิดความสงบสุขต่อตนเอง ครอบครัว สังคม และประเทศชาติ
การประกอบอาชีพในสังคมอุตสาหกรรม การทำงานเป็นระเบียบมีผู้จัดการ หรือเจ้าของสถานประกอบการ การคัดเลือกบุคคลเข้ามาทำงานร่วมกัน มีหลักเกณฑ์ในการพิจารณา คือ
- คุณลักษณะทางด้านคุณธรรมและจริยธรรม ที่จะต้องปลูกฝังมาตั้งแต่เกิด หรือใช้เวลาในการพัฒนาพอสมควร เช่นความซื่อสัตย์ ความรับผิดชอบ การตรงต่อเวลา เป็นต้น
- ความรู้ความสามารถด้านวิชาการเป็นหน้าที่ของสถานประกอบการในการพัฒนาบุคคล จึงจัดให้เป็นอันดับรองจากคุณลักษณะทางด้านคุณธรรมและจริยธรรม
คุณธรรมและจริยธรรมที่ต้องการในการประกอบอาชีพ
คนส่วนใหญ่ยอมรับว่าเป็นความดีเป็นสิ่งที่ควรประพฤติเพื่อความสงบสุขของสังคม คุณธรรมและจริยธรรมนั้นได้แก่
- ความซื่อสัตย์ ความละอายต่อการทำชั่ว ไม่พูดปด มีสัจจะและความจริงใจ เป็นต้น
- ความรับผิดชอบ ความรู้สำนึกในหน้าที่ ทำงานโดยไม่ต้องมีผู้บังคับ
- ความเสียสละ การมีน้ำใจ เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่บุคคลอื่นและสังคม โดยไม่คำนึงถึงผลตอบแทน
- ความอดทน มีความอดกลั้น ความยับยั้งชั่งใจ ความหนักแน่น มีสติปัญญาในการแก้ไข
- ความขยันหมั่นเพียร ความเพียรพยายาม ความมานะบากบั่น ความอดทนในการทำงาน
- การตรงต่อเวลา ความตรงต่อเวลาในการทำภารกิจ ความเห็นอกเห็นใจผู้อื่น ไม่เห็นแก่ตัว
- การงดเว้นอบายมุข การงดเว้นจากนำไปสู่ความหายนะ เพราะทำให้เสียทรัพย์ เกียรติยศชื่อเสียง
จริยธรรมที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้นนั้น เป็นแนวทางในการดำเนินชีวิต และการประกอบอาชีพต้องอาศัยเวลาในการพัฒนาให้เกิดขึ้นในจิตใจ การพัฒนาจริยธรรมจะเกิดขึ้นในช่วงเยาว์วัย อย่างไรก็ตามการปรับปรุงทางด้านความคิดด้านจริยธรรมนี้เกิดขึ้นได้หากบุคคลนั้นมีความมุ่งมั่นตั้งใจในการสังเกต เรียนรู้ และควบคุมให้มีการปฏิบัติอย่างสม่ำเสมอ ก็พัฒนาเป็นนิสัยหรือพฤติกรรมที่ดีได้ เป็นการสร้างนิสัยอุตสาหกรรมในการปฏิบัติงาน ซึ่งเป็นสิ่งที่ต้องการขององค์กร
ติดตามข่าวสารที่ LINE : @cctvbangkok.com
|