จำหน่ายและติดตั้ง กล้องวงจรปิด CCTV FUJIKO KENPRO SAMSUNG PELCO PANASONIC LG WATASHI บริการดูหน้างานประเมินราคาฟรีถึงที่ สอบถามรายละเอียดได้ที่ เลขที่ 200 ซอยบรมราชชนนี 70 ถนนบรมราชชนนี แขวงศาลาธรรมสพน์ เขตทวีวัฒนา กทม. 10170

 
โทร. 02-888-3507-8,  081-700-4715

Fax กล้องวงจรปิด cctv dvr ip camera แฟ็กซ์. 02-888-3199   E-mail กล้องวงจรปิด cctv dvr ip camera E-mail : Krittiwit@gmail.com

กล้องวงจรปิด cctv facebook icon
promotion kenpro

 

เครื่องมือวัดและหน่วยวัดทางไฟฟ้า

เครื่องมือที่ช่างไฟฟ้าใช้ในการตรวจวัดค่าอุปกรณ์ กล้องวงจรปิด (cctv) ทั้งตรวจสอบระบบการทำงานต่าง ๆ ทางด้านช่างไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อให้มีความถูกต้องตามข้อกำหนด เช่น วัดค่าแรงดันไฟฟ้า วัดค่ากระแสไฟฟ้าในวงจร เป็นต้น ปัจจุบันสามารถใช้เครื่องมือวัดเพียงเครื่องเดียววัดค่าทางไฟฟ้า เราเรียกเครื่องมือวัดชนิดนี้ว่า “มัลติมิเตอร์”

เครื่องมือวัดและหน่วยวัดทางไฟฟ้า

 

เครื่องมือวัดมัลติมิเตอร์ทั้ง 2 แบบสามารถใช้วัดค่าทางไฟฟ้าได้ 4 ประเภท คือ

- วัดแรงดันไฟฟ้ากระแสตรง

- วัดแรงดันไฟฟ้ากระแสสลับ

- วัดกระแสไฟฟ้าตรง

- วัดความต้านทานทางไฟฟ้า

การใช้งานของเครื่องวัดทั้ง 2 แบบ สิ่งที่สำคัญที่ผู้ใช้งานต้องทำความรู้จักก่อนที่จะทำการวัดคือส่วนที่เรียกว่า สวิตช์เลือกการวัด เป็นส่วนประกอบสำคัญของเครื่องมือวัดที่ผู้ใช้งานรู้จักเป็นสวิตช์แบบหมุน ใช้สำหรับเปลี่ยนสภาวะการทำงานในการวัดค่าต่าง ๆ ตามความต้อการ ในกรณีไม่ใช้เครื่องหรือเลิกการใช้งาน ให้หมุนสวิตช์เลือกการวัดไปที่ตำแหน่ง OFF

เครื่องมือวัดและหน่วยวัดทางไฟฟ้า

2. การวัดแรงดันไฟฟ้ากระแสตรง (D.C. Voltage) หมุนสวิตช์เลือกการวัดไปที่ DCV ไม่แน่ใจค่าแรงดันที่จะทำการวัดมีค่าสูงหรือต่ำ ให้ตั้งสวิตช์เลือกการวัดไปที่ตัวเลขสูงก่อน คือ 1000 แล้วจึงเริ่มทำการวัด ถ้าเข็มไม่ขึ้นให้

ปรับลดลงจนกว่าเข็มจะชี้จนสามารถอ่านค่าที่วัดได้ สายวัดสีแดงคือขั้วบวก สายวัดสีดำคือขั้วลบ ในกรณีที่เข็มตีกลับ แสดงว่าวัดผิดขั้วให้รีบสลับสายวัดทันที

3. การวัดแรงดันไฟฟ้ากระแสสลับ (A.C. Voltage ) หมุนสวิตช์เลือกการวัดไปที่ ACV ถ้าไม่แน่ใจค่าแรงดันที่จะทำการวัดว่ามีค่าสูงหรือต่ำให้ตั้งสวติช์เลือกการวัดไปที่ตัวเลขสูงสุดไว้ก่อน คือ 1000 แล้วจึงเริ่มทำการวัด ถ้าเข็มไม่ขึ้นให้ปรับลดลงตามลำดับจนกว่าจะสามารถอ่านค่าที่ทำการวัดได้ ในการวัดแรงดันไฟฟ้ากระแสสลับใช้สายขั้วไหนก็ได้

4. การวัดกระแสไฟฟ้าตรง (D.C. Current) ให้หมุนสวิตช์เลือกการวัดไปที่ CmA ถ้าไม่แน่ใจค่ากระแสไฟฟ้าตรงที่จะที่จะทำการวัดสูงหรือต่ำ ให้ตั้งสวิตช์เลือกการวัดไปที่ตัวเลขสูงสุดไว้ก่อนคือ 250 mA แล้วจึงเริ่มทำการวัด ถ้าเข็มไม่ขึ้นให้ปรับลดลงตามลำดับจนกว่าจะสามารถอ่านค่าที่ทำการวัดได้

เครื่องมือวัดมัลติมิเตอร์ทั่ว ๆ ไป จะมีความสามารถในการวัดกระแสตรงได้เพียงอย่างเดียว โดยกำหนดค่ารีซิสเตอร์ในวงจรที่มาต่อขนาน แต่ในลักษณะของการวัดต้องนำมิเตอร์ไปอันดับกับวงจรไฟฟ้าที่ต้องการทราบค่ากระแส มิเตอร์โดยทั่วไปออกแบบให้วัดกระแสดีซีไม่สูงมาก ถ้าต้องการวัดกระแสเอซีจะใช้มิเตอร์ที่วัดกระแสเฉพาะ ซึ่งเรียกว่า “แคลัมป์มิเตอร์ (Clampmeter)”

5. การวัดค่าความต้านทาน (Resistance Measuring Circuit) อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ถ้าต้องการวัดความต้านทานต้องวัดในสภาวะที่ไม่มีแรงดันไฟฟ้า เข้ามาเกี่ยวข้อง แต่วงจรภายในขของมิเตอร์ต้องมีแรงดันไฟฟ้าอยู่ใน กำหนดค่ากระแสของวงจร การวัดความต้านทาน จึงเป็นการนำเอาความต้านทานที่ต้องการทราบค่าไปขึ้กำหนดการไหลของกระแสในวงจรเพื่อกำหนดการอ่านค่าขั้วแรงดันไฟฟ้าจากแบตเตอรี่จะตรงข้ามกับขั้วภายนอกของมิเตอร์ จากการที่ต้องใช้แรงดันไฟฟ้าจากแบตเตอรี่ทำให้ค่ากระแสที่กำหนดในเบื้องต้นของการวัด ไม่แน่นอนตามสภาพของแบตเตอรี่ จึงต้องมีวงจรส่วนที่กำหนดค่ากระแสเริ่มต้นคงที่เรียกว่า “การปรับ 0 โอห์ม”

การอ่านค่าความต้านทานให้ดูรายละเอียดจากขีดแถวบนสุด อ่านจากขวาไปซ้าย ค่าที่อ่านได้จะตรงข้ามกับลักษณะของเข็มที่ขึ้น เช่น เข็มมิเตอร์ขึ้นมากจะอ่านได้ค่าความต้านทานน้อย โดยมีรายละเอียดแต่ละช่วงบนหน้าปัด

6. เครื่องมือวัดพลังงานไฟฟ้า (Watt Meter) คือเครื่องมือที่ใช้วัดกำลังไฟฟ้าจริงของโหลด มีทั้งที่ใช้ในระบบไฟฟ้า 1 เฟส และ 3 เฟส โครงสร้างภายในของวัตต์มิเตอร์มีหลายชนิด แต่ที่ใช้วัดได้ทั้งกำลังไฟฟ้ากระแสตรง และกำลังไฟฟ้ากระแสสลับ คือ วัตต์มิเตอร์แบบไดนาโมมิเตอร์ ประกอบไปด้วยขดลวดกระแสที่อยู่ในลักษณะเคลื่อนไหวไม่ได้ติดตั้งอยู่กับที่ จึงถูกเรียกว่า “ขดลวดอยู่กับที่” เป็นขดลวดที่ใช้วัดกระแสที่ผ่านโหลดขดลวดกระแสและขดลวดแรงดันเป็นขดลวดที่พันอยู่บนแท่งเหล็กรูปทรงกระบอกที่เคลื่อนที่มีความต้านทานต่ออนุกรมกับขดลวด ใช้สำหรับวัดค่าแรงดันคร่อมโหลด

7. แคล้มป์ออนมิเตอร์ (Clamp – on meter) เป็นเครื่องมือที่ใช้วัดกระแสไฟฟ้าสลับ ด้วยวิธีที่คล้องเข้ากับสายไฟเส้นใดเส้นหนึ่งของวงจร ทำให้เกิดความสะดวกในการใช้งานมากกว่าแอมมิเตอร์ทั่วไป และยังถูกออกแบบให้สามารถใช้วัดแรงดันไฟสลับ และความต้านทานได้อีกด้วย ในปัจจุบันที่ใช้งานอยู่มี 2 แบบคือ แบบเข็ม และแบบตัวเลข แคล้มป์ออนมิเตอร์ประกอบด้วยส่วนต่าง ๆ ดังนี้

- ก้ามคล้องสาย

- สวิตช์เลือกย่านวัด

- รูเสียบสายวัดความต้านทาน

- สกรูปรับศูนย์

- เข็มชี้แสดงค่าวัด

- ตัวเปิดก้ามคล้องสาย

- ปุ่มปรับศูนย์โอห์ม

- รูเสียบสายวัดแรงดัน

- สเกล

การใช้แคล้มป์ออนมิเตอร์วัดกระแสไฟฟ้าสลับ มีวิธีการปฏิบัติดังนี้

1. ตั้งย่านวัดกระแสโดยเลือกย่านวัดให้เหมาะกับขนาดกระแสที่จะการวัด

2. คล้องก้ามคล้องสายเข้ากับสายไฟเยงเส้นใดเส้นหนึ่งของวงจร

3. อ่านค่ากระแสจากสเกลในกรณีที่กระแสมีการเปลี่ยนแปลง

ข้อควรระวังในการใช้งาน และการบำรุงรักษาเครื่องวัดไฟฟ้า

1. ไม่ควรให้เครื่องมือวัดได้รับการกระทบกระเทือนเป็นอันขาด

2. ก่อนใช้ควรตรวจสอบสภาพของเครื่องวัดและอุปกรณ์ประกอบต่าง ๆ ว่าอยู่ในสภาพที่ดีหรือไม่

3. ก่อนใช้งานควรตั้งสวิตช์เลือกย่านวัดให้อยู่ในตำแหน่งที่ถูกต้องทุกครั้ง

4. ควรตั้งสวิตช์เลือกย่านวัดให้อยู่ในตำแหน่งที่วัดค่าได้สูง ๆ ก่อน

5. อย่าเปลี่ยนตำแหน่งสวิตช์เลือกย่านวัดขณะที่เครื่องกำลังวัดอยู่

6. อย่าใช้เครื่องวัดในขณะที่มีความชื้นสูง หรือ ขณะที่มีละอองฝน

7. หากฟิวส์ของเครื่องวัดขาด ห้ามใช้ฟิวส์ที่มีขนาดสูงกว่าพิกัด หรือลวดใส่แทนเป็นอันขาด

8. หลังจากการใช้งานควรทำความสะอาดภายนอก แล้วเก็บใส่ซอง หรือกล่องพร้อมสายให้เรียบร้อย

9. อย่าเก็บเครื่องวัดไว้ในที่ที่มีความชื้น หรือ ความร้อนสูง

10. เมื่อพบว่าเครื่องวัดชำรุด หรือแสดงค่าคลาดเคลื่อนให้ส่งซ่อมทันที ห้ามมิให้ดำเนินการแก้ไข หรือซ่อมเองโดยเด็ดขาด

 

 

line

ติดตามข่าวสารที่ LINE : @cctvbangkok.com

 


FUJIKO CCTV


KENPRO CCTV

PANASONIC CCTV


HIKVISION CCTV

บริษัท มีเดีย เสิร์ซ จำกัด เลขที่ 200 ซอยบรมราชชนนี 70 ถนนบรมราชชนนี แขวงศาลาธรรมสพน์ เขตทวีวัฒนา กทม. 10170
Tel. 02-888-3507-8 Fax. 02-888-3199 E-mail: krittiwit@gmail.com
www.MediaSearch.co.th | www.CctvBangkok.com