จำหน่ายและติดตั้ง กล้องวงจรปิด CCTV FUJIKO KENPRO SAMSUNG PELCO PANASONIC LG WATASHI บริการดูหน้างานประเมินราคาฟรีถึงที่ สอบถามรายละเอียดได้ที่ เลขที่ 200 ซอยบรมราชชนนี 70 ถนนบรมราชชนนี แขวงศาลาธรรมสพน์ เขตทวีวัฒนา กทม. 10170

 
โทร. 02-888-3507-8,  081-700-4715

Fax กล้องวงจรปิด cctv dvr ip camera แฟ็กซ์. 02-888-3199   E-mail กล้องวงจรปิด cctv dvr ip camera E-mail : Krittiwit@gmail.com

กล้องวงจรปิด cctv facebook icon
promotion kenpro

 

อุปกรณ์ในระบบไฟฟ้าเบื้องต้น

สะพานไฟ (Cut - Out)

ชุดสำเร็จที่ประกอบขึ้นเพื่อรองรับฟิวส์ อาจมีตัวยึดฟิวส์ ตัวรับฟิวส์ หรือมีใบมีดปลดวงจรอย่างใดอย่างหนึ่ง ตัวยึดฟิวส์หรือตัวรับฟิวส์อาจมีส่วนนำกระแสรวมอยู่ด้วย โดยสะพานไฟจะทำหน้าที่ปลดวงจร มีฟิวส์เป็นอุปกรณ์ป้องกันกระแสไฟฟ้าเกิน โดยจะตัดวงจรไฟฟ้าอัตโนมัติเมื่อมีกระแสไฟฟ้าเกินค่าที่กำหนและเมื่อฟิวส์ทำงานแล้วจะต้องเปลี่ยนฟิวส์ใหม่ ขนาดพิกัดการตัดกระแสลัดวงจรของฟิวส์ต้องไม่ต่ำกว่าขนาดกระแสลัดวงจรที่ไหลผ่านฟิวส์

อุปกรณ์ในระบบไฟฟ้าเบื้องต้น (cctv)

แผงจ่ายไฟฟ้า (Load Center)

ในงานติดตั้งระบบไฟฟ้าภายใน นิยมใช้อย่างแพร่หลายประกอบด้วย กล่องโลหะ หรือกล่องพลาสติก สำหรับติดตั้งเซอร์กิตเบรกเกอร์ ทำหน้าที่เป็นเครื่องป้องกันกระแสเกินของวงจรย่อย มีขั้วต่อสายสำหรับต่อสายศูนย์ของสายเมนเข้าอาคาร สายต่อหลักดิน สายดินและสายอุปกรณ์ของวงจรย่อย บางแบบก็มีเมนเซอร์กิตเบรกเกอร์ทำหน้าที่เป็นเมนสวิตช์ มีทั้งที่ใช้กับระบบแรงดัน

อุปกรณ์ตัดวงจรอัตโนมัติ (Circuit Breaker)

อุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ปลดวงจรเมื่อเกิดกระแสเกิน ซึ่งทำหน้าที่เหมือนฟิวส์แต่มีข้อดีกว่าฟิวส์ คือ สามารถสับกลับมาทำงานใหม่โดยไม่ต้องเปลี่ยนใหม่เหมือนฟิวส์ และมีเครื่องหมายให้สังเกตได้ว่า เซอร์กิตเบรกเกอร์ทำงานตัดวงจร จากการลัดวงจร หรือมีผู้ไปกดขาโยกให้ปลดวงจร ข้อเสีย คือ ราคาค่อนข้างสูง แต่มีพิกัดตัดกระแสลัดวงจรต่ำกว่าฟิวส์มาก เซอร์กิตเบรกเกอร์แรงต่ำมีหลายชนิด และมีการติดตั้งที่แผงไฟฟ้า มีดังนี้

อุปกรณ์ในระบบไฟฟ้าเบื้องต้น (cctv)

- เซอร์กิตเบรกเกอร์แบบกล่องหุ้มหล่อ

- เซอร์กิตเบรกเกอร์แบบอากาศขนาดใหญ่

- เซอร์กิตเบรกเกอร์ที่ป้องกันกระแสรั่ว

มอเตอร์ไฟฟ้ากระแสสลับ 1 เฟส ( A.C. Motor 1 )

เป็นมอเตอร์ใช้กับแหล่งจ่ายไฟฟ้ากระแสสลับ 1 เฟส นิยมใช้กันแพร่หลายในโรงงานอุตสาหกรรมต่าง ๆ เพราะมอเตอร์ไฟฟ้ากระแสสลับง่ายต่อการใช้งาน โดยแบ่งออกเป็นดังนี้

- สปลิทเฟสมอเตอร์ มีขดลวดช่วยสร้างสนามแม่เหล็กนำหน้าสนามแม่เหล็กของขดลวดเมน

- คาปาซิเตอร์มอเตอร์ เป็นมอเตอร์ไฟฟ้ามีลักษณะคล้ายกับสปลิทเฟสมอเตอร์ แต่เพิ่มคาปาซิเตอร์ใช้กระแสใน ตอนสตาร์ทน้อย แต่ให้แรงบิดขณะสตาร์ทสูง

- ยูนิเวอร์แซลมอเตอร์ เป็นมอเตอร์ชนิดหนึ่งที่สามารถนำไปใช้งานได้ ทั้งไฟฟ้ากระแสตรง และไฟฟ้ากระแสสลับ มอเตอร์ชนิดนี้มีขนาดเล็กและมีกำลังต่ำ แต่บางครั้งก็ถูกสร้างให้มีกำลังสูงขึ้นเพื่อใช้กับเครื่องใช้ที่ต้องการโดยเฉพาะ ตอนสตาร์ทจะมีแรงบิดสูงกว่ามอเตอร์ชนิดอื่น ถูกนำไปใช้ในเครื่องใช้ต่าง ๆ มากมาย เช่น จักรเย็บผ้า เครื่องดูดฝุ่น เป็นต้น

หม้อแปลงไฟฟ้ากำลังชนิด 1 เฟส (Transformer 1)

ทำหน้าที่ถ่ายเทพลังงานไฟฟ้า กล้องวงจรปิด (cctv) จากวงจรไฟฟ้าหนึ่งไปยังอีกวงจรหนึ่งโดยที่ความถี่ไม่เปลี่ยนแปลง เพื่อทำหน้าที่เพิ่ม ลดแรงดันไฟฟ้าให้เหมาะสมกับการใช้งานไฟฟ้าที่ผลิตตามเขื่อน หรือที่ทางโรงไฟฟ้าต้องส่งไปใช้งานตามสถานที่อยู่ห่างไกล ในทางปฏิบัติจึงมักใช้วิธีเพิ่มแรงไฟฟ้า ซึ่งทำได้โดยใช้หม้อแปลงไฟฟ้า และเมื่อถึงจุดหมายก็ใช้หม้อแปลงไฟฟ้าปรับแรงดันให้เหมาะสมกับการใช้งาน ชนิดของหม้อแปลงไฟฟ้าแบ่งตามชนิดของฉนวนไฟฟ้าออกเป็น 4 ชนิด คือ

1. หม้อแปลงชนิดแห้ง (Dry Type Transformer) นิยมใช้ติดตั้งภายในอาคารที่มีผู้อยู่อาศัยจำนวนมาก ให้ความปลอดภัยสูงในด้านเกิดเพลิงไหม้ ซึ่งในปัจจุบันได้มีการนำก๊าซบางชนิดมาใช้เช่น SF6 ฉนวนไฟฟ้าใน หม้อแปลงยังทำหน้าที่ระบายความร้อนออกจากขดลวดของหม้อแปลงด้วย

2. หม้อแปลงชนิดฉนวนของเหลวติดไฟได้ (Flammable Liquid – Insulate Transformer) มีคุณสมบัติในการเป็นฉนวนไฟฟ้าที่ดีแต่ติดไฟได้ ข้อดีของฉนวนที่เป็นน้ำมันคือมีราคาถูกเมื่อเทียบกับฉนวนชนิดอื่น และในการบำรุงรักษาก็ไม่ยุ่งยาก แต่ก็มีข้อเสียที่ติดไฟได้ และอาจเกิดการรั่วไหลได้ นิยมใช้อย่างกว้างขวางเพราะมีราคาถูกและมีผู้ผลิตหลายรายในประเทศ

3. หม้อแปลงชนิดฉนวนของเหลวติดไฟยาก (Less – Flammable Liquid – Insulated Transformer) ใช้ฉนวนที่เป็นของเหลวจุดติดไฟที่อุณหภูมิไม่ต่ำกว่า 300 C ในปัจจุบันไม่ใช้ไม่มากและยังไม่เหมาะที่จะใช้ภายในอาคารที่อยู่อาศัยจำนวนมาก แต่ก็ให้ความปลอดภัยสูงกว่าหม้อแปลงชนิดฉนวนน้ำมัน 4. หม้อแปลงชนิดฉนวนของเหลวไม่ติดไฟ (Nonflammable Fluid – Insulated Transformer) ในปัจจุบันหม้อแปลงชนิดนี้ใช้งานน้อย และมีราคาแพง ในการนำฉนวนของเหลวไม่ติดไฟมาใช้ต้องระวังเรื่องการเป็นพิษต่อบุคคลด้วย ฉนวนที่ใช้อาจเป็นน้ำมันหรือไม่ก็ได้

หลักการทำงานของหม้อแปลงไฟฟ้า

การทำงานของหม้อแปลงไฟฟ้าอาศัยหลักการเหนี่ยวนำของแรงดันไฟฟ้า ทำให้สนามแม่เหล็กไฟฟ้าเปลี่ยนแปลง ค่าแรงดันไฟสลับที่เข้ามาขึ้นอยู่กับความยาวของขดลวด ความเร็วของการเปลี่ยนแปลงเส้นแม่เหล็ก และไฟแรงดันไฟฟ้า

ท่อไฟฟ้าชนิดต่าง ๆ

สำหรับบ้านพักอาศัยหรืออาคารที่เป็นตึกการเดินสายภายในสามารถเลือกใช้วิธีการเดินสายแบบเกาะผนังหรือเดินสายในท่อร้อยสายไฟฟ้าก็ได้ แต่การเดินในท่อจะมีราคาสูงกว่าการเดินสายแบบเกาะผนัง แต่ก็มีข้อดีและมีประโยชน์หลายประการดังนี้

- ท่อร้อยสายไฟฟ้าที่เป็นโลหะ สามารถป้องกันสายไฟฟ้าจากความเสียหาย เช่น การถูกกระทบกระแทก ถูกสารเคมีต่าง ๆ

- ป้องกันอันตรายกับคนที่อาจจะไปสัมผัสไฟฟ้าซึ่งฉนวนเสียหาย หรือ เสื่อมสภาพ

- สะดวกต่อการร้อยสาย และเปลี่ยนสายไฟฟ้าใหม่เมื่อสายเดิมหมดอายุใช้งาน

- ท่อร้อยสายไฟที่เป็นโลหะต้องมีการต่อลงดิน ถ้าสายชำรุดตัวนำแตะกับท่อ เครื่องป้องกันกระแสเกินจะทำงานตัดวงจรก่อนที่จะเป็นอันตรายต่อผู้ที่อาจจะไปสัมผัสท่อ

- ท่อร้อยสายไฟฟ้าที่เป็นโลหะสามารถป้องกันไฟไหม้ได้ หากเกิดการลัดวงจรภายในท่อ ประกายไฟหรือความร้อนจะถูกจำกัดอยู่ในท่อ

ท่อร้อยสายไฟฟ้าที่นิยมใช้ในปัจจุบัน มีดังนี้

1. ท่อพีวีซี (P.V.C.)

2. ท่อโลหะหนา (Rigid Metal Conduit), RMC

3. ท่อโลหะหนาปานกลาง (Intermediate Metal Conduit), IMC

4. ท่อโลหะบาง (Electrical Metallic Tubing), EMT

5. ท่อโลหะอ่อน (Flexible Metal Conduit), FMC

6. ท่อโลหะแข็ง Nonmetallic Conduit). RNC

สวิตช์ (Switch)

เป็นอุปกรณ์ไฟฟ้าที่ทำหน้าที่เปิด และปิด วงจรไฟฟ้าของเครื่องใช้ไฟฟ้าต่าง ๆ โดยเป็นตัวกำหนดการจ่ายแรงดันไฟฟ้าและกระแสไฟฟ้าให้กับเครื่องใช้ไฟฟ้า ในปัจจุบันสวิตช์สามารถเปิดปิดได้ด้วยแสง ความร้อน น้ำ แสง คลื่นวิทยุ ทั้งนี้ตัวสวิตช์จะกำหนดขนาดของแรงดัน และกระแสสูงสุดที่สวิตช์ทนได้

ประเภทของสวิตช์ (Types of Switch)

ปัจจุบันผู้ผลิตสวิตช์ได้ออกแบบมาให้ผู้ใช้งานสามารถเลือกใช้งานได้ตามความต้องการและมีความสวยงาม มีอยู่หลายประเภทด้วยกัน แต่ที่ใช้งานมากมี 2 ประเภท คือ สวิตช์ทางเดียว และสวิตช์ 3 ทาง

- สวิตช์ทางเดียว มีโครงสร้างหลายแบบขึ้นอยู่กับบริษัทผู้ผลิต การใช้งานสวิตช์ทางเดียวใช้ควบคุมการเปิด

– ปิดไฟแสงสว่าง หรือเครื่องใช้ไฟฟ้าเพียงจุดเดียว

- สวิตช์สามทาง มีลักษณะภายนอกเหมือนสวิตช์ทางเดียวมีโครงสร้างภายในต่างกันตรงที่มีขั้วเพิ่มขึ้นอีก 1 ขั้ว การใช้งานสวิตช์สามทาง ใช้ควบคุมการเปิด - ปิดไฟแสงสว่าง หรืออุปกรณ์ไฟฟ้า โดยควบคุมได้ 2 แห่ง คือ ควบคุมการเปิดไฟแสงสว่างจากอาคารชั้นล่าง และปิดไฟแสงสว่างที่ชั้นบนของบ้านพักอาศัย เป็นต้น

เต้าเสียบ (Plug)

อุปกรณ์ที่ทำหน้าที่เป็นตัวต่อเชื่อมระหว่างแหล่งจ่ายไฟฟ้ากับเครื่องใช้ไฟฟ้า ทำให้สามารถทำงานได้ เต้าเสียบจะต้องทำงานร่วมกับเต้ารับ ซึ่งเต้าเสียบจะถูกติดตั้งไว้กับเครื่องใช้ไฟฟ้า ส่วนเต้ารับจะถูกติดตั้งไว้กับแหล่งจ่ายไฟฟ้า ในการใช้งานเครื่องใช้ไฟฟ้าต้องนำเต้าเสียบไปเสียบเข้ากับเต้ารับ เต้าเสียบที่ผลิตขึ้นมาใช้งานมีรูปร่างแตกต่างกันตามลักษณะในการใช้งาน ที่นิยมใช้โดยทั่วไปมี 2 แบบ คือ แบบ 2 ขา และ แบบ 3 ขา ส่วนแบบ 3 ขา ขาที่เหลืออีก 1 ขา เป็นขากราวด์ (สายดิน) เพื่อต่อตัวถังเครื่องใช้ไฟฟ้าลงดิน เพื่อป้องกันกระแสไฟฟ้าดูดขณะใช้งานของเครื่องใช้ไฟฟ้านั้น

อุปกรณ์ในระบบไฟฟ้าเบื้องต้น (cctv)

เต้ารับ (Outlet)

อุปกรณ์ที่ใช้สำหรับต่อวงจร เพื่อจ่ายกระแสไฟฟ้าให้กับอุปกรณ์ที่เคลื่อนย้ายได้ เช่น วิทยุ พัดลม โทรทัศน์ เป็นต้น ตัวเต้ารับจะบอกขนาดของแรงดัน และกระแสสูงสุดที่เต้ารับทนได้ การออกแบบเต้ารับที่ดีตะต้องออกแบบให้สามารถใช้งานกับเต้าเสียบได้หลายชนิด เต้ารับมี 2 ประเภท คือ เต้ารับ 1 เฟส และเต้ารับ 3 เฟส

ฟิวส์ (Fuse)

เป็นอุปกรณ์ป้องกันในระบบไฟฟ้าที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลาย ทำหน้าที่ตัดการจ่ายแรงดันไฟฟ้าและกระแสไฟฟ้าออกจากวงจร เมื่อเกิดการลัดวงจร และมีกระแสไฟฟ้าไหลเกินกำหนด ตัวฟิวส์ทำจากโลหะตัวนำผสมสามารถนำไฟฟ้าได้ดีมีจุดหลอมละลายต่ำ คุณสมบัติของตัวฟิวส์คือ เกิดการหลอมละลายทันทีเมื่อมีกระแสไฟฟ้าไหลผ่านเกินกว่าค่าที่ตัวฟิวส์ทนได้ การใช้งานจะต้องใช้ร่วมกับคัตเอ้าต์ ปัจจุบันฟิวส์ที่ใช้กันมีหลายแบบ เพื่อให้ถูกต้องเหมาะสมกับลักษณะของงาน และให้เกิดความสะดวกในการใช้งาน

อุปกรณ์ในระบบไฟฟ้าเบื้องต้น (cctv)

 

 

 

 

 

 

 

line

ติดตามข่าวสารที่ LINE : @cctvbangkok.com

 


FUJIKO CCTV


KENPRO CCTV

PANASONIC CCTV


HIKVISION CCTV