เครื่องมือและอุปกรณ์ต่างๆ ของระบบไฟฟ้า
แผงจ่ายไฟฟ้าประธาน (Main Distribution Board)
เป็นอุปกรณ์หลักที่ใช้สำหรับตัดต่อวงจรที่อยู่ระหว่างสายเมนเข้าอาคารกับสายภายในอาคาร ซึ่งประกอบด้วยเบรกเกอร์ หรือสวิตช์พร้อมฟิวส์ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อตัดต่อวงจรสายภายในอาคารทั้งหมดออกจากระบบในกรณีเกิดไฟฟ้าลัดวงจร หรือการใช้กระแสไฟฟ้า กล้องวงจรปิด (cctv) เกิน
สายเมนหรือสายเมนเข้าอาคาร หมายถึง สายไฟฟ้าที่ต่อระหว่างเครื่องวัดหน่วยไฟฟ้าของการไฟฟ้า กับเมนสวิตช์ หรือระหว่างหม้อแปลงไฟฟ้ากับเมนสวิตช์
เมนสวิตช์ เป็นสวิตช์ที่ทำหน้าที่ปลดสายภายในอาคารทั้งหมดออกจากระบบจ่ายไฟ โหลดของสายเมน และเมนสวิตช์คำนวณเช่นเดียวกับสายป้อน ถ้าวงจรไฟฟ้าเป็นวงจรขนาดเล็กมีสายป้อนเพียงชุดเดียว โหลดที่คำนวณได้สำหรับสายป้อนคือ โหลดของเมนสวิตช์นั่นเอง แต่ถ้าในวงจรมีสายป้อนหลายชุด การคำนวณโหลดของเมนสวิตช์ก็คือ รวมโหลดทั้งหมดทุกสายป้อนเข้าด้วยกันและใช้ดีมานด์แฟกเตอร์ ตารางเดียวกับการคำนวณสายป้อน
หม้อแปลงไฟฟ้ากระแส (Current Transformer)
หม้อแปลงงงนี้มีการทำงานเหมือนหม้อแปลงกำลังหรือหม้อแปลงระบบจ่าย แต่จะมีขนาดเล็กใช้สำหรับแปลงแรงดันไฟฟ้าสูง ๆ เป็นแรงดันไฟฟ้าต่ำสำหรับใช้กับโวลต์มิเตอร์ วัตต์มิเตอร์ เป็นต้น การต่อหม้อแปลงแรงดัน ขดแรงดันไฟฟ้าสูงซึ่งเป็นขดปฐมภูมิของหม้อแปลงแรงดันจะเท่ากับขนาดแรงดันไฟฟ้าของแหล่งจ่ายที่ต้องการวัด หม้อแปลงแรงดันมีความเที่ยงตรงมาก และมีความผิดพลาดน้อยกว่า 0.5% หม้อแปลงชนิดนี้เป็นชนิดใช้ภายนอกอาคาร ซึ่งขดปฐมภูมิอาจต่อเข้าระหว่างสายไฟฟ้ากับสายไฟฟ้า หรือสายไฟฟ้ากับนิวทรัล
เครื่องมือวัดค่าความต้านทานฉนวน (Megga Ohm Meter)
เครื่องมือวัดความต้านทานที่มีค่าสูงมาก ๆ เช่น ฉนวนไฟฟ้า ความต้านทานของสายเคเบิล ความต้านทานของอุปกรณ์ไฟฟ้า เป็นต้น เมกะโอห์มมิเตอร์ใช้หลักการเดียวกับโอห์มมิเตอร์อนุกรม จึงต้องมีแหล่งจ่ายไฟฟ้ากระแสตรงที่มีค่าแรงดันสูงเป็นลักษณะของเครื่องกำเนิดไฟตรงแบบหมุนด้วยมือ เป็นแหล่งจ่ายไฟฟ้าภายใน เมื่อจะใช้วัดความต้านทานภายนอกให้ต่อความต้านทานที่จุดวัดของเมกกะโอห์มมิเตอร์ และใช้มือหมุน จนกระทั่งเข็มชี้หยุดนิ่งจึงอ่านค่าความต้านทานได้
ปัจจุบันเมกกะโอห์มได้ปรับปรุงโครงสร้างภายในในส่วนเครื่องกำเนิดไฟฟ้ากระแสตรงแรงดันสูง ซึ่งมีขนาดใหญ่และใช้งานยุ่งยากให้ดีขึ้น โดยใช้แบตเตอรี่ร่วมกับวงจรกำเนิดแรงดันไฟตรงแรงดันสูงที่ใช้วงจรทวีแรงดันสามารถสร้างแรงดันสูงได้หลายสิบเท่าจากแรงดันของแบตเตอรี่
เทคนิคในการทดสอบฉนวนไฟฟ้า
ในการตรวจวัดเพื่อให้ได้ค่าที่ถูกต้องและมีความปลอดภัยต่อผู้ปฏิบัติงาน ควรปฏิบัติตามคำแนะนำดังนี้
- ปลดวงจร หรืออุปกรณ์ไฟฟ้าออกให้หมด
- เลือกแรงดันทดสอบที่เหมาะสมกับฉนวนแต่ละชนิด จะไม่ทดสอบด้วยแรงดันสูงเกินความจำเป็น
- ในเครื่องวัดฉนวนไฟฟ้ารุ่นใหม่จะมีระบบคายประจุไฟฟ้าในตัว ซึ่งสามารถต่อสายวัดทิ้งเอาไว้หลังจากเสร็จจากการทดสอบ เพื่อคายประจุไฟฟ้าเสียก่อน
- ตัวนำไฟฟ้าที่อยู่ใกล้กันจะมีค่าความจุไฟฟ้าเกิดขึ้น จะมีผลให้ค่าความต้านทานฉนวนที่วัดได้ตอนเริ่มต้นมีค่าต่ำ และค่อย ๆ เพิ่มขึ้นจนคงที่
- กระแสที่ไฟลผ่านฉนวนจะจำกัดไว้ต่ำมาก แต่เครื่องวัดฉนวนไฟฟ้าก็อาจก่อให้เกิดการสปาร์กของไฟฟ้า และเป็นอันตรายกับผู้ใช้งานได้
เครื่องวัดพลังงานไฟฟ้า หรือ วัตต์ฮาวร์มิเตอร์ (Watt Hour Meter)
เครื่องวัดพลังงานไฟฟ้า เป็นเครื่องมือที่ใช้วัดปริมาณพลังงานทางไฟฟ้า คือ วัดค่าของกำลังไฟฟ้าในช่วงเวลาที่กำหนด หน่วยของการวัดเรียกว่า ยูนิต
เครื่องวัดไฟฟ้ามีหลายชนิด เนื่องจากมีโครงสร้างภายใน เละหลักการทำงานที่แตกต่างกัน เช่น เครื่องวัดงานไฟฟ้าแบบอิเล็กโทรไลติก ใช้วัดงานไฟฟ้าในวงจรไฟฟ้ากระแสตรงเท่านั้น และเครื่องวัดงานไฟฟ้าเบบมอเตอร์ ซึ่งแบ่งออกเป็น 3 ชนิดคือ
- แบบเมอร์คิวมอเตอร์ วัดได้เฉพาะงานไฟฟ้าในวงจรไฟตรงเท่านั้น
- แบบเหนี่ยวนำ วัดได้เฉพาะงานไฟฟ้าสลับเท่านั้น
- แบบคอมมิวเตเตอร์มอเตอร์ วัดได้ทั้งวงจรไฟฟ้าตรง และ สลับ
สำหรับเครื่องวัดพลังงานไฟฟ้าที่นิยมใช้ เพื่อวัดปริมาณการใช้ไฟฟ้าจากระบบจำหน่ายไฟฟ้าจากการไฟฟ้าฯ จะใช้เครื่องวัดงานไฟฟ้าแบบเหนี่ยวนำ
Ground Resistance
เครื่องมือที่ใช้ในการทดสอบความต้านทานระบบกราวด์หรือสายดิน เพื่อทำการปรับปรุงระบบกราวด์ให้มีประสิทธิภาพ และเกิดความปลอดภัยในการปฏิบัติงานเกี่ยวกับระบบไฟฟ้า
การวัดความต้านทานจำเพาะของดิน (Measurement of Soil Resistivity)
ความต้านทานจำเพาะของดินขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่าง เราไม่ทราบความต้านทานจำเพาะของดินที่แน่นอนได้ เมื่อต้องการทราบความต้านทานจำเพาะของดินจึงต้องมีการวัดทุกครั้ง ปกติแล้วความต้านทานจำเพาะของดินจะมีค่าแปรไปตามความลึกของดิน เพราะดินมีการแปรตัวเป็นชั้น ๆ ตามแนวนอน และมีความต้านทานจำเพาะแต่ละชั้นต่างกันด้วย ในดินชั้นบนความจำเพาะของดินจะขึ้นอยู่กับสภาพภูมิอากาศ อุณหภูมิ และความชื้น ในดินชั้นล่าง จะมีความต้านทานจำเพาะค่อนข้างคงที่ เพราะได้รับอิทธิพลจากสภาพอากาศน้อย ในทางปฏิบัติจำเป็นต้องฝังหลักดินให้ลึกถึงระดับดินชั้นล่าง
การวัดความต้านทานดินของหลักดิน (Measurement of Earth Resistance)
เป็นชนิดเดียวกันกับเครื่องวัดความต้านทานจำเพาะของดิน ความถูกต้องของการวัดจะขึ้นอยู่กับความสามารถในการไหลของกระแสทดสอบ เมื่อทำการวัดในดินที่มีความต้านทานจำเพาะสูง จำเป็นต้องลดความต้านทานลง เพื่อเพิ่มกระแสทดสอบ ในขณะที่ทำการวัด เมื่อทำให้การไหลของกระแสทดสอบเป็นด้วยดีแล้ว ก็สามารถอ่านค่าความต้านทานได้จากมิเตอร์โดยตรง
Lux Meter
เป็นอุปกรณ์ที่ใช้วัดปริมาณแสงที่ตกกระทบต่อหนึ่งหน่วยพื้นที่ เพื่อบอกว่า ระดับความสว่างที่ได้เพียงพอหรือไม่ ลักซ์มิเตอร์ที่ใช้ควรเป็นชนิดปรับแก้ค่าเชิงความยาวคลื่น คือ ความไวต่อความยาวคลื่นแสงเหมือนตามนุษย์ และปรับแก้ค่าเชิงมุมคือปรับแก้ความสว่างที่วัดได้เมื่อแสงตกกระทบไม่ตั้งฉากกับผิวหน้าของหัววัด
หลักการทำงาน คือ ตัวเซนเซอร์จะรับแสงแล้วแปลงให้เป็นไฟฟ้าส่งต่อไปยังที่มิเตอร์วัดแล้วเทียบสเกลให้เป็นค่าลักซ์ ถ้าเป็นแบบดิจิตอลก็จะแสดงค่าเป็นตัวเลขสามารถอ่านค่าได้เลย ความสว่างที่เหมาะสม สำหรับการส่องสว่างของพื้นที่ใช้งานต่าง ๆ กำหนดเป็นแนวทางของค่าเฉลี่ยได้ตามตารางมาตรฐาน และสถิติทั่วไป
Thermo Meter
เครื่องมือที่ใช้ตรวจวัดอุณหภูมิ หรือความร้อนของอุปกรณ์ไฟฟ้า มีให้เลือกหลายชนิดขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ในการใช้งานว่า จะใช้วัดอุปกรณ์ไฟฟ้าประเภทไหน
การตรวจวัดความร้อนอุปกรณ์ไฟฟ้าที่ไม่ต้องสัมผัสกับอุปกรณ์ เครื่องวัดชนิดอินฟราเรตที่ตรวจวัดรังสีความร้อน ซึ่งมีหลายแบบ มีความละเอียด และความสามารถแตกต่างกันออกไปตามแต่ที่ต้องการใช้งาน ในการวัดต้องระวังผลกระทบจากสิ่งข้างเคียงที่จะมีผลทำให้ค่าที่อ่านผิดพลาดได้คือ
1. แหล่งความร้อนจากที่อื่น เช่น การสะท้อนความร้อน แสงอาทิตย์ เป็นต้น
2. สภาพบรรยากาศที่ทำให้ความร้อนเปลี่ยนไป เช่น ลม ฝน และอื่น ๆ
3. ระยะห่างจากจุดที่วัด เครื่องวัดจะบอกระยะ และขนาดของวัตถุที่วัดไว้ว่า ค่าเท่าใดที่จะให้ค่าความเที่ยงตรงสูง
วิธีการตรวจวัดการ
การตรวจวัดความร้อนจากการใช้เครื่องวัดอุณหภูมิแบบอินฟราเรตนี้สามารถทำได้ง่าย โดยการส่องแสงไปยังจุดที่ต้องการวัดอุณหภูมิ เครื่องวัดจะแสดงอุณหภูมิเป็นองศา การวัดทำได้โดยไม่ต้องสัมผัสกับอุปกรณ์ไฟฟ้า แต่การตรวจวัดต้องระวังเรื่องความเที่ยงตรงของการวัดค่าด้วย เนื่องจากขนาดของวัตถุที่ต้องการวัด และระยะห่างระหว่างจุดที่ต้องการวัดกับเครื่องวัดมีผลต่อค่าที่ได้ ข้อสำคัญคือ การวัดความร้อนที่เกิดจากกระแสไฟฟ้าต้องวัดขณะที่มีกระแสไฟฟ้าไหล และควรเป็นค่ากระแสในการใช้งานจริง
Phase Sequence
เครื่องมือที่ใช้ สำหรับตรวจสอบระบบไฟฟ้า 3 เฟส เพื่อจะได้ทราบค่าและทำการต่อขั้วสายให้เฟสถูกต้องตรงกับอุปกรณ์ไฟฟ้าชนิด 3 เฟส และในงานการควบคุมมอเตอร์ 3 เฟส โดยทั่วไปจะมีอยู่ 2 แบบคือ ชนิดที่ใช้สายโพลบเพื่อหนีบที่ขั้วสายเพื่อตรวจสอบ และชนิดที่ใช้สายปลั๊กเพื่อเสียบกับเต้ารับได้เลย เหมาะสำหรับใช้ในงานติดตั้ง และตรวจซ่อมทั่วไปว่าสายไฟฟ้าเส้นไหนคือ เฟส A เฟส B และเฟส C เพื่อจะได้ต่อใช้งานได้อย่างถูกต้องไม่สลับเฟสกัน
ติดตามข่าวสารที่ LINE : @cctcbangkok.com
|