การควบคุมมอเตอร์
ตู้ควบคุมการทำงานของมอเตอร์
มอเตอร์เป็นโหลดที่สำคัญในระบบไฟฟ้า ส่วนใหญ่จะมีมอเตอร์เป็นองค์ประกอบ เช่น เครื่องจักรในโรงงาน ปั๊มน้ำ เครื่องปรับอากาศ กล้องวงจรปิด cctv เป็นต้น มอเตอร์ที่ใช้งานทั่วไปมีตั้งแต่ขนาดเล็กพิกัดไม่กี่วัตต์ จนถึงขนาดใหญ่ และมีทั้งมอเตอร์ไฟฟ้ากระแสสลับ และมอเตอร์กระแสตรง
ในการออกแบบวงจรมอเตอร์ เพื่อให้การใช้งานมอเตอร์เป็นไปอย่างปลอดภัย และเชื่อถือได้ และมีมาตรฐานควบคุมการออกแบบ และติดตั้งวงจรมอเตอร์
ส่วนประกอบของวงจรมอเตอร์
แบ่งออกเป็นส่วนต่าง ๆ ที่ผู้ออกแบบจะต้องพิจารณาหาค่าพิกัดเป็น 6 ส่วน คือ
1. สายไฟฟ้าวงจรย่อยมอเตอร์
2. การป้องกันการลัดวงจรของวงจรย่อยมอเตอร์
3. การป้องกันโหลดเกิน
4. เครื่องควบคุมมอเตอร์
5. เครื่องปลดวงจรมอเตอร์
6. วงจรควบคุมมอเตอร์
มอเตอร์ที่ใช้กันในปัจจุบันสามารถแบ่งตามหลักการทำงานได้ 3 ชนิด คือ
1. มอเตอร์เหนี่ยวนำ เป็นที่นิยมใช้กันมากที่สุด มีความทนทาน ราคาถูก และไม่ต้องการบำรุงรักษามาก
2. มอเตอร์ซิงโครนัส เป็นมอเตอร์ชนิด 3 เฟส จะหมุนที่ความเร็วจำกัดค่าหนึ่ง เรียกว่า ความเร็วซิงโครนัส ตัวมอเตอร์ประกอบไปด้วยขดลวดอาร์เมเจอร์ และขดลวดสนาม
3. มอเตอร์ไฟฟ้ากระแสตรง เป็นที่ใช้กับไฟฟ้ากระแสตรง โดยมีขดลวดสนามที่อยู่บนสเตเตอร์ และขดลวดอาร์เมเจอร์ที่อยู่บนโรเตอร์ มอเตอร์ไฟฟ้ากระแสตรงมีข้อดีที่สามารถควบคุมความเร็วได้ดี และแรงบิดเริ่มเดินเครื่องสูง
ฟิวส์
สำหรับใช้ในการป้องกันการลัดวงจรมอเตอร์ มี 2 ประเภท คือ
1. ฟิวส์ทำงานไว ใช้ในวงจรจำหน่ายทั่วไป ฟิวส์แบบนี้สามารถใช้กับวงจรมอเตอร์ได้
2. ฟิวส์หน่วงเวลา ออกแบบมาเพื่อใช้งานกับวงจรมอเตอร์โดยเฉพาะ ฟิวส์แบบนี้จะให้การป้องกันที่ดีกว่าแบบแรก
เซอร์กิตเบรกเกอร์
ในวงจรมอเตอร์ ที่ใช้กันมี 2 ประเภท คือ
1. เซอร์กิตเบรกเกอร์แบบเวลาผกผัน ใช้โดยทั่วไปในวงจรจำหน่าย มีเส้นโค้งลักษณะสมบัติ 2 ช่วง คือ ช่วยกระแสเกินโหลด เป็นแบบเวลาผกผัน และช่วงกระแสปลดวงจรทันที เซอร์กิตเบรกเกอร์แบบนี้จะต้องปรับตั้งช่วงกระแสปลดวงจรทันทีให้มากกว่ากระแสเริ่มต้นของมอเตอร์
2. เซอร์กิตเบรกเกอร์แบบปลดทันที คือ เซอร์กิตเบรกเกอร์ที่มีช่วงปลดวงจรทันทีเพียงอย่างเดียว ถูกออกแบบให้ใช้กับวงจรมอเตอร์โดยเฉพาะ
การป้องกันโหลดเกิน
การใช้งานมอเตอร์ที่มีการใช้งานเกินขนาดจนทำให้มอเตอร์มีความร้อนสูง ซึ่งจะทำความเสียหายต่อมอเตอร์ และบริภัณฑ์ที่ต่ออยู่ได้ ซึ่งได้แก่ ฟิวส์ เซอร์กิตเบรกเกอร์ ที่ใช้ในการป้องกันการลัดวงจรนั้น ต้องปรับค่าที่สูงเพื่อให้มีค่าเพียงพอสำหรับการเริ่มเดินเครื่อง เพื่อทำหน้าที่ป้องกันมอเตอร์ในกรณีที่มีการใช้โหลดเกินบริภัณฑ์ที่ใช้ในการป้องกันโหลดเกินคือ รีเลย์โหลด มีใช้ 3 แบบคือ
1. แบบโลหะคู่ แบบนี้ทำง่าย และราคาถูก แบบนี้จะป้องกันมอเตอร์ที่ทำงานต่อเนื่องได้ดี
2. แบบอิเล็กทรอนิกส์ จะสามารถจำลองพฤติกรรมทางความร้อนของมอเตอร์ได้ดี สามารถปรับแต่งให้ใช้กับมอเตอร์ได้ทุกชนิด
3. แบบเทอร์มิสเตอร์ ใช้ตัวตรวจวัดอุณหภูมิฝังอยู่ในขดลวดอาร์เมเจอร์ตรวจอุณหภูมิของขดลวดตลอดเวลา สามารถป้องกันความร้อนเกินได้อย่างถูกต้องและใช้กับมอเตอร์ทั้งที่ใช้งานต่อเนื่อง และเป็นช่วง ๆ ได้ดี
เครื่องควบคุมมอเตอร์
ชุดบริภัณฑ์ที่ใช้สำหรับการเริ่ม หรือหยุดเดินเครื่องมอเตอร์ ในการบางกรณีเครื่องมอเตอร์ ในการบางกรณีเครื่องควบคุมมอเตอร์ก็สามารถใช้ในการปรับความเร็วรอบของมอเตอร์ได้ด้วย แต่ส่วนมากมักใช้ในการเริ่มเดินเครื่องมอเตอร์ จึงเรียกตัวควบคุมมอเตอร์ว่า ตัวเริ่มเดินเครื่องมอเตอร์
ตัวเริ่มเดินเครื่องมอเตอร์หรือเครื่องควบคุมมอเตอร์ที่ใช้กันโดยทั่วไปอาจแบ่งออกได้เป็น 2 แบบ คือ
1. ตัวเริ่มเดินเครื่องมอเตอร์ ที่ใช้โดยการต่อไฟเข้าโดยตรง
2. ตัวเริ่มเดินเครื่องมอเตอร์แบบลดแรงดัน
พิกัดของเครื่องควบคุมมอเตอร์
ขนาดของพิกัดคอนแทคเตอร์ที่ทำหน้าที่เป็นเครื่องควบคุมมอเตอร์ จะต้องสามารถทนกำลังความร้อนที่เกิดขึ้น ดังนั้นขนาดพิกัดกำลังของคอนแทคเตอร์จะต้องไม่น้อยกว่าขนาดกำลังมอเตอร์ นอกจากจะเลือกขนาดของมอเตอร์แล้ว ลักษณะการใช้งานของมอเตอร์ และจำนวนครั้งการตัดต่อของคอนแทคเตอร์ก็มีส่วนสำคัญต่อกำลังความร้อนที่เกิดขึ้นด้วย
การติดตั้ง
เครื่องควบคุมมอเตอร์จะต้องติดตั้งในที่มีการมองเห็นได้ และอยู่ห่างกันไม่เกิน 15 เมตร เพื่อความปลอดภัยขณะทำการบำรุงรักษา หรือ ซ่อมแซมมอเตอร์
เครื่องปลดวงจรมอเตอร์
สำหรับใช้ปลดวงจรมอเตอร์ในกรณีฉุกเฉิน หรือทำการซ่อมแซมบำรุงรักษามอเตอร์ ซึ่งต้องมีลักษณะดังนี้
- สามารถตัดวงจรขณะโหลดได้
- ใช้กับโหลดตัวเหนี่ยวนำ เนื่องจากโหลดมอเตอร์เป็นโหลดประเภทตัวเหนี่ยวนำจะมีกระแสสูง
- สามารถทนกระแสลัดวงจรสูงสุด ณ จุดติดตั้งได้
โดยทั่วไปนิยมใช้เซอร์กิตเบรกเกอร์ หรือ สวิตช์ตัดตอนขณะมีโหลดเป็นเครื่องปลดวงจรมอเตอร์
พิกัดของเครื่องปลดวงจรมอเตอร์
พิกัดกระแสเครื่องปลดวงจรมอเตอร์ไม่ต่ำกว่า 115% ของพิกัดกระแสมอเตอร์
การติดตั้ง
เครื่องปลดวงจรจะต้องติดตั้งในที่ที่สามารถมองเห็นได้ และระยะห่างกันไม่เกิน 15 เมตร ทั้งจากเครื่องควบคุมมอเตอร์ และตัวมอเตอร์ หรือเครื่องจักรที่มีมอเตอร์ขับ แต่ถ้าติดตั้งในที่ที่ไม่สามารถมองเห็นได้ หรือระยะเกิน 15 เมตร จะต้องล๊อกเครื่องปลดวงจรในตำแหน่งปลดด้วย
วงจรควบคุมมอเตอร์
โดยทั่วไปวงจรมอเตอร์สามารถแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ
1. วงจรกำลัง คือ วงจรที่จ่ายกำลังไฟฟ้าให้แก่มอเตอร์ เพื่อให้มอเตอร์สามารถทำงานได้ตามวัตถุประสงค์
2. วงจรควบคุม คือ วงจรที่ใช้ควบคุมการทำงานของตัวเริ่มเดินเครื่องมอเตอร์เพื่อให้สามารถทำงานได้ตามลำดับที่กำหนด
ติดตามข่าวสารที่ LINE : @cctcbangkok.com
|