จำหน่ายและติดตั้ง กล้องวงจรปิด CCTV FUJIKO KENPRO SAMSUNG PELCO PANASONIC LG WATASHI บริการดูหน้างานประเมินราคาฟรีถึงที่ สอบถามรายละเอียดได้ที่ เลขที่ 200 ซอยบรมราชชนนี 70 ถนนบรมราชชนนี แขวงศาลาธรรมสพน์ เขตทวีวัฒนา กทม. 10170

 
โทร. 02-888-3507-8,  081-700-4715

Fax กล้องวงจรปิด cctv dvr ip camera แฟ็กซ์. 02-888-3199   E-mail กล้องวงจรปิด cctv dvr ip camera E-mail : Krittiwit@gmail.com

กล้องวงจรปิด cctv facebook icon
promotion kenpro

 

ข้อกำหนดการเดินสายและวัสดุ

ขอบเขต

ข้อกำหนดนี้ครอบคลุมถึงการเดินสายทั้งหมด ยกเว้น การเดินสายที่เป็นส่วนประกอบภายในของเครื่องอุปกรณ์ไฟฟ้า เช่น มอเตอร์ แผงควบคุม และแผงสวิตช์ต่าง ๆ ซึ่งประกอบสำเร็จรูปจากโรงงาน การเดินสายที่นอกเหนือจากนี้ ยอมให้ทำได้เมื่อได้รับความเห็นชอบจากการไฟฟ้าฯแล้ว

ข้อกำหนดการเดินสายและวัสดุ

 

ข้อกำหนดทั่วไปสำหรับระบบแรงต่ำ

1. สายไฟฟ้าของระบบไฟฟ้าที่มีแรงดันต่างกัน ให้เป็นไปตามข้อกำหนด ระบบแรงต่ำทั้ง AC และ DC ให้ติดตั้งสายไฟฟ้ารวมกันอยู่ภายในท่อสาย ห้ามติดตั้งสายไฟฟ้าระบบแรงต่ำรวมกับสายไฟฟ้าระบบแรงสูงในท่อสาย

2. สายไฟฟ้าต้องมีการป้องกันความเสียหายทางกายภาพดังนี้ การเดินสายทะลุผ่านโครงสร้างไม้ต้องห่างจากขอบไม้ไม่น้อยกว่า 3 ซม. การเดินสายชนิดที่มีเปลือกนอกไม่เป็นโลหะทะลุผ่านโครงสร้างโลหะต้องมีบุชชิ่งเพื่อป้องกันฉนวนของสายชำรุด เป็นต้น

3. การป้องกันการผุกร่อน

4. การติดตั้งวัสดุ และการจับยึด ท่อสาย รางเดินสาย การเดินสายในท่อ เป็นต้น

5. จุดเปลี่ยนการเดินสายจากวิธีใช้ท่อสาย

6. ต้องป้องกันไม่ให้เกิดกระแสเหนี่ยวนำในเครื่องห่อหุ้ม หรือท่อสายที่เป็นโลหะ

7. ท่อสาย กล่อง ตู้ เครื่องประกอบ และเครื่องห่อหุ้มที่เป็นโลหะต้องต่อลงดิน

8. ในท่อสาย และรางเคเบิลต้องไม่มีท่อสำหรับงานอื่นที่ไม่ใช้งานไฟฟ้า

9. เมื่อเดินท่อสายผ่านที่มีอุณหภูมิแตกต่างกันมาก ต้องมีการป้องกันการไหลเวียนของอากาศภายในท่อจากส่วนที่มีอุณหภูมิเย็นกว่า เพื่อไม่ให้เกิดเป็นหยดน้ำ

10. การกำหนดสีของสายไฟฟ้าหุ้มฉนวน

การเดินสายบนผิวอาคาร

ข้อกำหนดการเดินสายและวัสดุ(cctv)

1. ใช้สายระบบแรงต่ำทั่วไปภายในอาคาร โดยใช้วายไฟฟ้าตามมาตรฐาน มอก. 11 – 2531

2. การเดินสายต้องป้องกันไม่ให้ฉนวนของสายชำรุด

3. การเดินสายโดยใช้เข็มขัดรัดสาย ต้องมีระยะห่างของเข็มขัดไม่เกิน 20 เซนติเมตร

4. การต่อ และการต่อแยกสายให้ทำในกล่องต่อสายสำหรับงานไฟฟ้าที่มีคุณสมบัติงานไฟฟ้าเท่านั้น

5. การเดินสายทะลุผ่านผนัง ต้องร้อยสายผ่านฉนวนที่เหมาะสม และไม่ดูดความชื้น

6. การเดินสายให้ติดตั้งเรียงเป็นชั้นเดียว ห้ามซ้อนกัน

7. สายไฟฟ้าหุ้มฉนวน และเปลือกแกนเดียว สายแบน 2 แกน ฯ หากเดินบนผิวภายนอกอาคาร ยอมให้เฉพาะติดตั้งชายคา หรือกันสาดเช่นสายสัญญาณโทรศัพท์ สายสัญญาณ cctv

การเดินสายเปิดบนวัสดุฉนวน

1. การเดินสายเปิดบนวัสดุฉนวนภายในอาคารให้ใช้ได้เฉพาะในโรงงานอุตสาหกรรม งานเกษตรกรรม และงานแสดงสินค้าเท่านั้น

2. ต้องมีการป้องกันความเสียหายทางกายภาพตามข้อกำหนดการเดินสาย และสายต้องอยู่สูงจากพื้นไม่น้อยกว่า 2.50 เมตร

3. การเดินสายในสถานที่ชื้น เปียก หรือมีไอที่ทำให้เกิดการผุกร่อน ต้องมีการจัดทำเพื่อไม่เกิดความเสียหายแก่สายไฟฟ้าได้

4. สายไฟฟ้าที่ใช้ต้องเป็นสายหุ้มฉนวน

5. วัสดุฉนวนสำหรับการเดินสายต้องเป็นชนิดที่เหมาะสมกับสภาพการใช้งาน

6. การเดินเปิดบนตุ้มภายนอกอาคาร ยอมให้เป็นไปตามที่กำหนดของการเดินสายบนตุ้ม

7. การเดินสายเปิดบนวัสดุฉนวนภายในอาคารให้เป็นตามที่กำหนด

8. การเดินสายเปิดบนลูกรอก หรือลูกถ้วยภายนอกอาคารให้เป็นไปตามที่กำหนด

กล่องสำหรับงานไฟฟ้า

 

1. ขอบเขต ครอบคลุมการติดตั้ง และการใช้กล่องสำหรับงานไฟฟ้า

2. ข้อกำหนด และลักษณะการใช้งาน กล่องต้องทำจากวัสดุที่ทนทานต่อการผุกร่อน ต้องจัดให้มีบุชชิ่ง กล่องต้องสามารถบรรจุตัวนำ หรือเคเบิลได้ทั้งหมด กล่องต้องมีฝาปิด หลังการติดตั้งกล่องต้องไม่มีรูหรือโตมากเกินไป

การต่อทางไฟฟ้า

1. การต่อสายตัวนำต้องใช้อุปกรณ์ต่อสาย และวิธีการต่อสายที่เหมาะสมโดยเฉพาะการต่อตัวนำที่เป็นโลหะต่างชนิดกัน

2. ขั้วต่อสาย Terminai

3. การต่อสาย Splice ต้องใช้อุปกรณ์สำหรับการต่อสายที่เหมาะสมกับงาน หรือโดยการเชื่อมประสาน การเชื่อม หรือการบัดกรี ที่เหมาะสมกับสภาพการใช้งาน

การเลือกชนิดและขนาดของสายไฟฟ้า

การพิจารณาเลือกสายไฟฟ้าที่เหมาะสมนั่นมีหลายข้อที่ต้องพิจารณา ซึ่งจะส่องผลต่อประสิทธิภาพ ความเชื่อถือได้และความปลอดภัยในการใช้งาน ข้อกำหนดที่จะต้องพิจารณาในการเลือกสายไฟฟ้าได้แก่

- พิกัดแรงดัน

- พิกัดกระแส

- สายควบ

- แรงดันตก

ท่อประเภทต่าง ๆ

- ท่อโลหะหนา ท่อโลหะหนาปานกลาง และท่อโลหะบาง การใช้งาน ใช้กับงานเดินสายโดยทั่วไป ทั้งในสถานที่แห้ง ชื้น เละเปียก การติดตั้งต้องให้เหมาะสมกับสภาพการใช้งาน ถ้าเป็นงานที่ต้องนำท่อฝั่งดินจะต้องเพิ่มความระมัดระวังเป็นพิเศษ โดยเฉพาะในบริเวณที่มีความชื้นแฉะมาก ๆ เพราะอาจทำให้ท่อผุกร่อนได้ การติดตั้งควรมีการป้องกันอีกชั้นหนึ่ง เช่น การทาสี หรือเคลือบด้วยสารออร์แกนิก เป็นต้น

- ท่อโลหะอ่อน การใช้งานของท่อชนิดนี้ใช้ในสถานที่แห้ง เพื่อป้องกันสายจากความเสียหายทางกายภาพ หรือเพื่อการเดินซ่อนสาย และห้ามใช้ในสถานที่ดังนี้ คือ ในปล่องลิฟต์หรือปล่องขนของ ในห้องแบตเตอรี่ เพราะอาจผุกร่อนได้ ฝังดินหรือฝังในคอนกรีต ในสถานที่เปียก เป็นต้น

- ท่อโลหะอ่อนกันของเหลว จะต่างจากท่อโลหะอ่อนคือจะมีการห่อหุ้มด้วยพีวีซี การใช้งาน ท่อชนิดนี้ใช้ในที่ซึ่งมีสภาพการติดตั้งและการบำรุงรักษาต้องการความอ่อนของตัวท่อ หรือเพื่อป้องกันของแข็ง หรือไอ หรือในสถานที่อันตราย

- ท่อโลหะแข็ง ท่อชนิดนี้ใช้งานอยู่ทั่วไป ได้แก่ ท่อพีวีซี และท่อพีวี มีคุณสมบัติติดไฟยาก แต่ก็มีข้อเสียที่เมื่อไหม้ไฟจะมีก๊าซที่เป็นพิษต่อบุคคลมาก และไม่คงทนเมื่อถูกแสงแดดนาน ๆ จะทำให้กรอบ

ท่อโลหะและเครื่องประกอบการเดินต่อต้องใช้วัสดุที่เหมาะสม ทนต่อความชื้น สภาพอากาศ และสารเคมี ทนแรงกระแทกและแรงอัด ไม่บิดเบี้ยวเพราะความร้อน ต้องทนต่อแสงแดดได้ ท่อที่ใช้เหนือดินต้องมีคุณสมบัติติดไฟยาก ท่อที่อยู่ใต้ดินต้องมีคุณสมบัติทนความชื้น ทานสารที่ทำให้ผุกร่อน และต้องมีความแข็งแรงพอที่จะทนแรงกระแทกได้ วัสดุที่ใช้ต้องสามารถทนน้ำหนักกดที่อาจเกิดขึ้นหลังการติดตั้ง

การเดินสายไฟฟ้าด้วยรางเคเบิล (Cable Tray)

รางเคเบิล แบ่งออกเป็น 3 แบบ คือ

1. รางเคเบิลแบบบันได

2. รางเคเบิลแบบมีช่องระบายอากาศ

3. รางเคเบิลแบบด้านล่างทึบ

การติดตั้งรางเคเบิล มีข้อกำหนด ดังนี้

1. รางเคเบิลต้องยาวต่อเนื่องตลอดทั้งทางกล และทางไฟฟ้า

2. สายที่ติดตั้งบนรางเคเบิลเมื่อเดินแยกเข้าช่องเดินสายอื่น ต้องมีการจับยึดให้มั่นคงด้วยอุปกรณ์ที่เหมาะสม

3. ห้ามติดตั้งสายเคเบิลระบบแรงต่ำในรางเคเบิลเดียวกันกับสายเคเบิลระบบแรงสูง นอกจากจะกั้นด้วยแผงกั้นที่แข็งแรง และไม่ติดไฟ

4. รางเคเบิลแกนเดียว สายเส้นไฟ และเส้นศูนย์ของแต่ละวงจรต้องเดินรวมกันเป็นกลุ่มสายต้องมัดเข้าด้วยกัน เพื่อป้องกันกระแสไม่สมดุล จากการเหนี่ยวนำ

5. รางเคเบิลต้องติดตั้งในที่เปิดเผย เข้าถึงได้ และมีที่ว่างพอเพียงที่จะปฏิบัติงานบำรุงรักษาสายเคเบิลได้สะดวก

6. การต่อสายในรางเคเบิลต้องทำให้ถูกต้องตามวิธีการต่อสาย จุดต่อสายต้องอยู่ภายในรางเคเบิล และไม่สูงเลยขอบด้านข้างของรางเคเบิล

การเลือกชนิดรางเคเบิลสำหรับเดินสายไฟฟ้า

ส่วนใหญ่รางเคเบิลจะไม่มีฝาปิด การใช้งานในบางสถานที่อาจออกแบบให้มีฝาปิดได้ รางเคเบิลที่นิยมใช้อย่างแพร่หลายคือ แบบบันได และ แบบมีช่องระบายอากาศ

การต่อลงดิน

จุดประสงค์เพื่อลดอันตรายที่อาจเกิดกับบุคคล และความเสียหายที่อาจเกิดกับระบบไฟฟ้า หรือ เครื่องใช้ไฟฟ้า การต่อลงดินทำหน้าที่หลัก 2 ประการ คือ

1. เมื่อเกิดแรงดันเกินจะจำกัดแรงดันไฟฟ้าของวงจรไม่ให้สูงจนอาจทำให้เครื่องใช้ไฟฟ้าเสียหาย และลดแรงดันไฟฟ้าที่อาจเกิดขึ้นที่เครื่องอุปกรณ์ไฟฟ้าหรือส่วนประกอบ เพื่อลดอันตรายต่อบุคคลที่อาจไปสัมผัส 2. เมื่อเกิดกระแสไฟฟ้ารั่วลงดินจะช่วยลดความเสียหายของอุปกรณ์ไฟฟ้า หรือระบบไฟฟ้า การต่อลงดินที่ถูกต้องจะช่วยให้เครื่องป้องกันทำงานได้ตามที่ได้ออกแบบไว้

การต่อลงดินสำหรับสายภายในอาคาร แบ่งออกเป็น 2 ชนิดคือ

1. การต่อลงดินของระบบไฟฟ้า

2. การต่อลงดินของเครื่องอุปกรณ์ไฟฟ้า

วิธีต่อลงดินสำหรับสายภายในอาคาร แบ่งวิธีต่อลงดินออกเป็น 2 วิธี คือ

1. วิธีต่อลงดินของระบบไฟฟ้า

2. วิธีต่อลงดินของเครื่องอุปกรณ์ไฟฟ้า

 

 

 

line

ติดตามข่าวสารที่ LINE : @cctvbangkok.com

 


FUJIKO CCTV


KENPRO CCTV

PANASONIC CCTV


HIKVISION CCTV