ภัยที่คุกคามต่อความปลอดภัย
3. ภัยนั้นมีอยู่มากมายหลายชนิดและหลายรูปแบบ เช่น ลักขโมย ทุจริต ไฟไหม้ แผ่นดินไหว พายุพัด น้ำท่วม ฟ้าผ่า ก็เป็นภัยทั้งสิ้น เพราะต่างก็นำมาซึ่งความเสียหายด้วยกันทั้งนั้น อย่างไรก็ดี ภัยต่าง ๆ นั้นแบ่งเป็นประเภทใหญ่ ๆ ได้ 2 ประเภท ดังนี้
- ภัยเกิดจากธรรมชาติ
- ภัยเกิดจากการกระทำของคน
3.1 ภัยเกิดจากธรรมชาติ
ภัยจากน้ำท่วม แผ่นดินไหว ฟ้าผ่า เป็นต้น (CCTV)ภัยประเภทนี้ไม่มีใครห้ามไม่ให้เกิดได้หรือมีมาตรการไม่ให้เกิดไม่ได้ เราทำได้เพียงวางมาตรการการบรรเทาความเสียหายเมื่อเกิดภัยนั้นแล้ว
เรื่องภัยธรรมชาติและการป้องกันอยู่นอกขอบการรักษาความปลอดภัย ผู้บริการหรือผู้รับผิดชอบจะต้องคิดถึงภัยนี้โดยการหารือกับทางหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
3.2 ภัยที่เกิดจากการกระทำของคน แยกประเภทออกได้เป็น 2 ประเภท คือ
3.2.1 ภัยที่เกิดจากการกระทำของคนโดยไม่เจตนา หรือไม่ได้ตั้งใจ เกิดจากความประมาท รู้เท่าไม่ถึงการณ์ ของคนที่ทำให้เกิดภัยประเภทนี้ การป้องกันภัยนี้เรียกว่า “ การป้องกันอุบัติเหตุ” จึงเป็นหน้าที่ความรับผิดชอบของผู้ปฏิบัติงาน
3.2.2 ภัยที่เกิดจากการกระทำของคนโดยเจตนา หรือ ตั้งใจ ผู้กระทำมักตั้งใจและปกปิดการกระทำนั้น ๆ เพราะเป็นความผิดกฏหมายทางอาญา และเป็นภัยสำคัญที่คุกคามหน่วยงานและองค์กรต่าง ๆ ในปัจจุบัน การป้องกันภัยนี้เรียกว่า การรักษาความปลอดภัย สำหรับภัยนี้อาจเกิดจากบุคคลภายนอกหรือคนในองค์กรหรือหน่วยงานก็ได้ สำหรับคนในองค์กรอาจจะก่อภัยโดยเกิดจากการไม่พอใจ ไม่ซื่อสัตย์ ซึ่งเป็นเรื่องทางความคิด ทัศนคติ จุดอ่อน อันเกิดจากกิเลสจึงเป็นความรับความชอบของผู้บริหารและหน่วยงานที่จะต้องเลือกบุคลากรหรือผู้ร่วมงานอย่างรอบคอบ ส่วนหน้าที่รักษาความปลอดภัยโดยตรงก็จะต้องคอยสังเกตพฤติกรรม เหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ว่าทำความเสียหายต่อหน่วยงานเพื่อรายงานต่อผู้บริหาร เพื่อเข้าระงับเหตุให้ทันท่วงทีไม่ให้เกิดความเสียหาย
ภัยทุกประเภทไม่ว่าภัยที่เกิดจากภัยธรรมชาติ ภัยจากการกระทำของคนโดยไม่ตั้งใจ คืออุบัติภัย และภัยจากการกระทำของคนโดยตั้งใจ คือ อาชญากรรม มีผลทำให้เกิดความเสียหายหรือความสูญเสียเหมือนกัน แต่เมื่อเรียก วิธีการป้องกันภัยเหล่านั้น ว่า “การรักษาความปลอดภัย” เหมือนกันหมด ดังนั้นน่าจะมีการบัญญัติศัพท์ให้แน่นอน ดังนี้
การป้องกันภัยธรรมชาติ เรียกว่า การบรรเทาสาธารณภัย
การป้องกันภัยจากการกระทำโดยไม่ตั้งใจ เรียกว่า การป้องกันอุบัติภัย
การป้องกันภัยจากการกระทำโดยตั้งใจ เรียกว่า การรักษาความปลอดภัย
ปัจจุบันมีคำว่า “การป้องกันการสูญเสีย” (กล้องวงจรปิด)มาใช้รวมสำหรับการป้องกันภัยทั้ง 3 ประเภท โดยจับประเด็นที่ว่า ไม่ว่าภัยจะเกิดจากอะไร หรือใคร ก็ทำให้เกิดการสูญเสียด้วยกันทั้งสื้น สรุปได้ว่า ถึงแม้ว่าอาชญากรรม หรือภัยที่เกิดจากการกระทำโดยตั้งใจ ทำให้เกิดการสูญเสียต่อหน่วยงานมีหลายชนิด เพื่อให้สะดวกต่อการศึกษา และพิจารณาหาทางป้องกันแบ่งได้เป็น 4 กลุ่ม ดังนี้
การกระทำ หรือ เหตุ หรือ สภาพ ทำให้ทรัพย์สินสูญหาย เสียหาย เรียกว่า การโจรกรรม
คนเสียชีวิต บาดเจ็บ เรียกว่า การก่อวินาศกรรม
ข่าวสารลับ เอกสารลับ รั่วไหล เรียกว่า การจารกรรม
การปฏิบัติงาน จิตใจของคนในองค์กร เรียกว่า การบ่อนทำลาย
|