ความรู้เรื่องภัยที่เกิดจากการกระทำของคนโดยตั้งใจและการป้องกัน (การจารกรรม)
4.2 การจารกรรม (espionage)
4.2.1 กล่าวทั่วไป การจารกรรมเป็นกิจกรรมที่มีความเป็นมาตั้งแต่สมัยโบราณ ความสำคัญของการจารกรรมเป็นที่ยอมรับของบรรดาผู้นำชนชาติต่าง ๆ ในสมัยโบราณ การจารกรรมเมื่อเอ่ยข้นครั้งใดก็เป็นเรื่องน่าตี่นเต้น ลึกลับซับซ้อน ความรู้เรื่องการจารกรรมจะมีไม่มาก ส่วนใหญ่เป็นเรื่องเทคนิคของการปฏิบัติในรายละเอียดต่าง ๆ เพื่อให้การจารกรรมนั้นสำเร็จตามเป้าหมาย และฝึกฝนให้ชำนาญและต้องเรียนรู้เทคนิค ส่วนผู้ที่มีหน้าที่ต่อต้านการจารกรรมแบบป้องกัน (CCTV) หรือ เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยของหน่วยงานทั่ว ๆ ไป ไม่จำเป็นต้องรู้รายละเอียดของการจารกรรมมากนัก
4.2.2 ความหมายของการจารกรรม ในระเบียบว่าด้วยการรักษาความปลอดภัยให้ความหมายของคำว่า “การจารกรรม” หมายถึง การกระทำ ใด ๆ โดยทางลับ เพื่อให้ได้สิ่งที่เป็นความลับของทางหน่วยงานให้แก่ผู้ที่ไม่มีอำนาจในหน่วยงานนั้น ๆ หรือผู้ที่ไม่จำเป็นต้องรู้ ในพจนานุกรม ให้ความหมาย “การจารกรรม” หมายถึง การสอดแนม การลอบเข้าไปสืบความลับ หรือการหาข่าวลับ โดยทางลับ
4.2.3 เรื่องของความลับ การจารกรรมเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับความลับ ความหมายของคำว่า ความลับ หมายถึง “ สิ่งที่เป็นความลับของหน่วยงาน” เช่น เอกสาร บริภัณฑ์ ยุทธภัณฑ์ และสิ่งอื่น
ลักษณะของความลับทางวิชาการ
1 ) ลับ นั้นเป็นคำประกอบสิ่งที่เป็นรูปธรรม หรือ นามธรรม เช่น เอกสารลับ ข่าวสารลับ
2) สิ่งที่เป็นความลับ จะต้องมีเจ้าของ เช่น เอกสารลับของหน่วยงาน ความลับขององค์กร
3) สิ่งที่เจ้าของหวง
4) ความหวงของข่าวสาร เกี่ยวกับสิ่งนั้น ถือเป็นเรื่องลับและหวง
สรุปความลับ ก็คือ ความรู้สึก ของคนเป็นเจ้าของวัสดุ เอกสาร ข่าวสาร ว่ามีความสำคัญที่จะต้องปิดบังไว้เป็นความรู้เฉพาะคนเป็นเรื่องส่วนตัว ถ้ามีผู้อื่นบังเอิญรู้ก็ควรเก็บไว้เป็นความลับโดยมารยาท ส่วนความลับของหน่วยงานหรือของทางราชการ เป็นเรื่องดีหรือเสีย ความเป็นความตายของหน่วยงานและส่วนรวม ผู้เป็นเจ้าของความลับจะต้องเป็นผู้รับผิดชอบกำหนดให้เป็นความลับและต้องเป็นหน้าที่ของคนทุกคนที่เกี่ยวข้องต้องช่วยกันรักษาความปลอดภัย เราจึงต้องมีการรักษาความปลอดภัยเพื่อสงวนความลับไว้
4.2.4 องค์ประกอบหลักของข่ายงานจารกรรม องค์ประกอบหลักของหน่วยงานจารกรรมเป็นหลักการจัดการทั่วไปของหน่วยงานจารกรรมเพื่อนำมากล่าวเป็นพื้นฐานให้เห็นภาพของงานจารกรรม และเพื่อได้เข้าใจแนวความคิดในการป้องกันการจารกรรม
องค์ประกอบของข่ายงานการจารกรรม มีดังนี้
4.2.4.1 ผู้อุปถัมภ์ (sponsor) คือ ผู้สนับสนุนการจัดตั้งองค์กรลับเพื่อการจารกรรมและควบคุมการปฏิบัติทั่วไปในระดับนโยบาย
4.2.4.2 องค์กรลับหรือข่าวกรอง มีหน้าที่ในการอำนวยการ วางแผนสั่งการเรื่องต่าง ๆ ตามนโยบายของผู้อุปถัมภ์ต่อเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติ ได้แก่ ผู้คุมข่ายงานหรืสายลับในหน่วยงานแต่ละแห่ง
4.2.4.3 เจ้าหน้าที่ผู้คุมข่ายงาน ในทางปฏิบัติองค์การลับจะต้องแต่งตั้งเจ้าหน้าที่คุม¬ข่ายงานเพื่อคุมในแต่ละเรื่อง โดยทำหน้ที่ควบคุมการปฏิบัติงานของสายลับในข่ายงานที่ตนรับผิดชอบ เราเรียกว่าเจ้าหน้าที่คุมเรื่อง
4.2.4.4 เป้าหมาย คือ สถานที่ บุคคล หรือ สิ่งของ ที่องค์กรลับกำหนดขึ้นเป็นเป้าหมาย ในการปฏิบัติงานกจารกรรม
4.2.4.5 สายลับ บุคคลที่ทำงานให้กับองค์กรลับ สายลับแบ่งออกได้ 3 ประเภท ดังนี้
4.2.4.5.1 สายลับหลัก ทำหน้าที่เป็นหัวหน้าควบคุมและสั่งการต่อสายลับอื่น ๆ ในสายงานของตน แต่บางกรณีอาจจะใช้สายลับหลัก ทำหน้าที่ เจ้าหน้าที่ผู้ควบคุมข่ายงานก็ได้ สายลับหลักจะต้องเป็นผู้มีความสามารถในงานจารกรรม และบางครั้งอาจต้องลงมือปฏิบัติต่อเป้าหมายด้วยตนเอง
4.2.4.5.2 สายลับปฏิบัติการ ทำหน้าที่ปฏิบัติการต่อเป้าหมายด้วยตนเอง โดยสายลับประเภทนี้จะอยู่ในความควบคุมของสายลับหลัก หรือถ้าไม่มีสายลับหลักก็ให้ขึ้นตรงต่อเจ้าหน้าที่ควบคุมข่าย
4.2.4.5.3 สายลับสนับสนุน สายลับมีหน้าที่ให้ความช่วยเหลือและสนับสนุนการปฏิบัติการลับมีหลายประเภท เช่น ผู้สะกดรอย ทำหน้าที่เฝ้าสังเกตุเป้าหมาย ผู้สีบสวน ทำหน้าที่รวบรวมข่าวสารเกี่ยวกับเป้าหมาย ผู้จัดหาอุปกรณ์ ทำหน้าที่จัดหาเครื่องมือในการสนับสนุนการปฏิบัติการ
4.2.5 วิธีทำจารกรรม โดยทั่วไปวิธีที่สายลับใช้แทรกซึมเป้าหมายเพื่อทำการจารกรรม มีอยู่ 3 วิธี คือ
4.2.5.1 การส่งสายลับเข้าไปในเป้าหมาย โดยไม่ให้ผู้อื่นทราบสถานะแท้จริงของตัวสายลับ ทำการรวบรวมข่าวสาร เข้าไปอยู่ในกลุ่มเป้าหมาย เช่น งานเลี้ยง หรือเข้าไปอยู่ถาวร เช่น ไปทำงานในหน่วยงานที่เป็นเป้าหมาย
4.2.5.2 ชักชวนบุคคลที่อยู่ในเป้าหมายให้เป็นคนรวบรวมและรายงานข่าวที่ต้องการ อาจใช้การล่อลวง บีบบังคั หักหลัง และให้ผลประโยชน์ตอบแทน หรืออีกหลายวิธีที่เหมาะสมกับนิสัย จุดอ่อน ¬ของบุคคลที่เป็นเป้าหมาย
4.2.5.3 การใช้เครื่องมือและเทคนิคต่าง ๆ เช่นใช้เครื่องดักฟังทางโทรศัพท์ ใช้เครื่องฟังเสียง กล้องถ่ายรูปพิเศษ สำหรับการใช้เครื่องมือเหล่านี้ต้องมีเจ้าหน้าที่ที่มีความรู้ในการติดตั้งและเป็นผู้ดำเนินการ
4.2.6 แหล่งที่มาของข่าวสารเพื่อการจารกรรม (กล้องวงจรปิด)
ผู้มีหน้าที่รักษาความปลอดภัย หรือผู้ที่มีหน้าที่ต่อต้านจารกรรมเชิงป้องกัน จำเป็นจะต้องทราบ ก็คือ ช่องทางที่มาของแหล่งข่าวสารเป้าหมายจะถูกจารกรรม หรือวิธีที่สายลับจะหาข่าวในเป้าหมายจะได้หาวิธีป้องกันได้ถูกต้อง
แหล่งที่มาซึ่งข่าวสาร หรือวิธีที่สายลับจะใช้หาข่าวนั้นมีอยู่หลายทางด้วยกัน ดังนี้
4.2.6.1 การขโมยข่าวสารจากการบันทึกรายงาน หรือแหล่งที่คล้ายกัน
4.2.6.2 การขโมยข่าวสาร หรือ การซื้อข่าวสารจากพนักงานในหน่วยงานนั้น ๆ
4.2.6.3 การใช้วิธีการต่าง การถ่ายสำเนา คัดลอกเอกสาร กรรมวิธีการผลิต เครื่องมือหรือต้นแบบการปฏิบัติงาน
4.2.6.4 การใช้หน่วยงานบังหน้า สโมสร สมาคม หน่วยงานต่าง เป็นเครื่องบังหน้าในการหาข่าวของหน่วยงานนั้น ๆ หรือทำให้ล่วงรู้ความลับได้
4.2.6.5 การขู่เข็ญ ทำร้าย ลักพาตัวคนใกล้ชิดหรือญาติมิตรของพนักงาน แลกกับความลับจากพนักงาน
4.2.6.6 การขู่เข็ญว่าจะเปิดความลับของพนักงาน ในเรื่องส่วนตัวของพนักงานนั้น ๆ เพื่อแลกกับข่าวสารความลับจากพนักงานนั้น
4.2.6.7 การเก็บข่าวสารจากงานสังคมของเป้าหมาย เช่น การฉลองตำแหน่ง เลี้ยงรุ่น หรือ งานสังสรรค์ต่าง ๆ เป็นต้น
4.2.6.8 วิธีการต่าง ๆ เช่น การลวงสอบถาม การหลอกซักถาม กับญาติสนิทหรือเพื่อนของพนักงานนั้น ๆ
4.2.6.9 การเก็บข่าวสารด้วยการสังเกตุของสายลับเอง การทดสอบ การขนส่ง เอกสารที่ปกปิด และเรื่องที่ต้องการทราบ
4.2.6.10 การเก็บข่าวสารจากขยะ การดาษคาร์บอน สำเนา หรือ บันทึกหลักฐาน ที่ทิ้งแล้ว
4.2.6.11 การบ่อนทำลายด้วยการเสอนให้ค่าตอบแทนเป็นเงินหรือสิ่งของอื่น ๆ ใช้การพูดปลุกระดม ให้เกลียดชัง รัก และแสวงหาอำนาจ เพื่อจูงใจให้พนักงานหาข่าวหรือเปิดเผยความลับให้
วิธีช่องทางและแหล่งที่มาของข่าวหรือความลับเพื่อการจารกรรมที่สายลับนำมาใช้ในการหาข่าวนั้นมีมากมาย แล้วแต่สายลับจะพลิกแพลงให้เหมาะสมกัยวัตถุประสงค์ เป้าหมาย สิ่งแวดล้อม สุดแต่สายลับผู้ทำการจารกรรมจะพิจารณาเลือกใช้ ส่วนในด้านฝ่ายการป้องกันก็จำเป็นต้องทราบถึงวิธีการต่าง ๆ และมาตรการการป้องกันให้ครอบคลุมทุกด้านและดีที่สุด
4.2.7 ข่าวสารที่เป็นเป้าหมายในการจารกรรม
การทำการจารกรรม สายลับ หรือหน่วยงานการจารกรรมไม่ได้หาข่าวไปเรื่อย ๆ อย่างไม่มีเป้าหมาย แต่จะต้องกำหนดเรื่องราว วัตถุประสงค์ที่แน่นอนเสียก่อนว่าจะจารกรรมเรื่องอะไร และเพื่อไปทำอะไรแล้วจึงกำหนดหัวข้อข่าวสาร เพื่อกำหนดวิธีการหาข่าวต่อไป ซึ่งอาจจะแตกต่างกันไปตามระดับงานจารกรรม เช่น การจารกรรมระดับชาติ การจารกรรมทางธุรกิจ การจารกรรมระดับหน่วยงาน เป็นต้น
4.2.7.1 การจารกรรมระดับชาติ สายลับจะสนใจข่าวสารใด ๆ ซึ่งเกื้อกูลต่อการประเมินศักยภาพที่เป็นข่าวสารที่ข้าศึกใช้ประโยชน์ในการก่อวินาศกรรม ในการบ่อนทำลายและการปฏิบัติ ข่าวสารบางเรื่องที่หน่วยงานหรือองค์กรลับจะมีความสนใจเป็นพิเศษ เพื่อจารกรรมระดับชาติ เช่น
4.2.7.1.1 กำลังพล การวางกำลัง ที่ตั้ง การเคลื่อนย้าย และประสิทธิภาพในการรบของทหาร
4.2.7.1.2 สาธารณูปโภค แหล่งพลังงาน เช่น ประปา ไฟฟ้า การหาข่าวที่ตั้ง ขีดความสามารถในการผลิต การดำเนินงาน
4.2.7.1.3 การคมนาคม เส้นทาง ถนน การสื่อสาร การโทรคมนาคม ฯลฯ
4.2.7.1.4 ความสามารถในการผลิต ตารางการผลิตทางอุตสาหรรมเพื่อใช้ในราชการ รายละเอียดคำสั่งผลิตต่าง ๆ
4.2.7.1.5 การรายงานเฉพาะของผลิตผล เครื่องมือยุทโธปกรณ์พิเศษ คู่มือการใช้งาน ของยุทโธปกรณ์
4.2.7.1.6 การรายงานการทดสอบเครื่องมือ ผลิตผล และข้อมูลในการผลิตใหม่ ๆ
4.2.7.1.7 แหล่งทรัพยากรธรรมชาติ แหล่งวัตถุดิบ หรือส่วนประกอบการผลิต เช่น โรงเลื่อย โรงสี โรงถลุงแร่
4.2.7.1.8 ปริมาณของผลผลิตสำเร็จรูป จุดหมายปลายทางนำส่งผลผลิต วิธีการขนส่ง เส้นทางขนส่ง
4.2.7.1.9 จุดเสี่ยงภัย และจุดวิกฤติ วิธีการที่เป็นไปได้¬ของการก่อวินาศกรรมให้ได้ผล
4.2.7.1.10 การรักษาความปลอดภัยต่าง ๆ ที่หน่วยงานนำมาใช้เพื่อการป้องกันการก่อวินาศกรรม เช่น จุดยามรักษาความปลอดภัย วิธีปฏิบัติของเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย และความเชื่อถือของเจ้าหน้าที่ด้านการรักษาความปลอดภัย
4.2.7.1.11 รายชื่อของพนักงานที่ไม่พอใจองค์การ หรือหน่วยงาน หรืออดีตพนักงาน หรือผู้ที่อ่อนไหวที่จะถูกบ่อนทำลายได้ง่าย
4.2.7.1.12 สถานที่ตั้ง กำลัง การประกอบกำลัง และภารกิจของหน่วยข่าวกรองทางทหาร และพลเรือน และหน่วยงานรักษาความปลอดภัยทางทหารและพลเรือน
4.2.7.1.13 ข้อมูลเกี่ยวกับบุคลากรหรือพนักงาน ข้าราชการที่อ่อนไหว ต่อการถูกข่มขู่เรื่องส่วนตัวว่าจะถูกเปืดเผย ฯลฯ
4.2.7.2 การจารกรรมทางธุรกิจ ข่าวสารที่น่าสนใจมักจะเป็นข้อมูลการดำเนินงานทางธุรกิจเพื่อให้ได้ผลกำไร ถ้าฝ่ายตรงข้ามได้ไปจะทำให้นำไปวางแผนเพื่อให้ได้เปรียบในทางธุรกิจ ทางด้านการแข่งขัน เช่นข่าวสารที่เป็นเป้าหมายทางการจารกรรมทางธุรกิจ เช่น
4.2.7.2.1 การออกแบบทางด้านการผลิต
4.2.7.2.2 การทดสอบ ข้อมูลทางวิศวกรรม
4.2.7.2.3 กรรมวิธีในการผลิต และสูตรลับทางการผลิต
4.2.7.2.4 วิธีการลดต้นทุนทางด้านการผลิต
4.2.7.2.5 การวิจัย และการค้นคว้าหาข้อมูลทางการผลิต
4.2.7.2.6 ความลับทางการค้า เช่นแผนการกำหนดราคาและกลยุทธทางการตลาด
4.2.7.2.7 แผนที่การสำรวจแหล่งน้ำมัน และแหล่งแร่
4.2.7.2.8 ข่าวสารการทำสัญญา และการรวมบริษัทฯ
4.2.7.2.9 ข่าวเกี่ยวกับการจดทะเบียนสิ่งประดิษฐ์
4.2.7.2.10 เกี่ยวกับรายงานการสียภาษี
4.2.7.2.11 เกี่ยวกับรายชื่อบริษัทที่ติดต่อทางไปรษณีย์
4.2.7.2.12 แผนการลดราคา และ รายงานการขาย
4.2.7.2.13 เกี่ยวกับการประมูล และ การลงทุน
4.2.7.2.14 โปรแกรมทางคอมพิวเตอร์
4.2.7.2.15 การบันทึกเกี่ยวกับ เงินเดือน และ ค่าตอบแทน ของพนักงาน
4.2.7.2.16 สำนักงาน แผนผังโรงงาน แบบพิมพ์
4.2.7.2.17 ข่าวสารข้อมูลเกี่ยวกับลูกค้า
4.2.7.2.18 สิ่งอำนวยความสะดวก และ ขีดความสามารถของโรงงาน
4.2.7.2.19 การวางแผนป้องกันความสูญเสีย
4.2.7.2.20 การพัฒนาการผลิต ฯลฯ หัวข้อข่าวสารที่เป็นเป้าหมายของการจารกรรมทั้งระดับชาติ และระดับธุรกิจ ตามความสนใจขององค์กรลับ ไม่ได้จำกัดเฉพาะเรื่องที่กล่าวมาเท่านั้น และข่าวสารเรื่องหนึ่งเรื่องใดอาจเป็นเป้าหมายทั้งระดับชาติ และ ระดับธุรกิจก็ได้ ดังนั้นผู้รับผิดชอบด้านการรักษาความปลอดภัยของหน่วยงานใดต้องศึกษา พิจารณา ว่าข่าวสารใดในหน่วยงาน¬ของตนน่าจะเป็นเป้าหมายของการจารกรรม เพื่อจะได้วางแผนการป้องกันการจารกรรมได้ตรงต่อข่าวสารที่เป็นเป้าหมาย
4.2.8 มาตรการการป้องกันการจารกรรม การป้องกันหรือต่อต้านการจารกรรม มีอยู่ 2 แบบ คือ
4.2.8.1 มาตรการแบบรุก และตอบโต้ การสีบสวนและการจับกุมสายลับที่มาทำการจารกรรม ที่เรียกกันโดยทั่วไปว่าเป็นเรื่อง “การข่าว”
4.2.8.2 มาตรการแบบรับและการป้องกัน หรือ การรักษาความปลอดภัย
การสืบสวนการจับกุมเป็นความรับผิดชอบของผู้มีหน้าที่ที่ได้รับการฝึกฝนมาทางนี้โดยเฉพาะ เช่นการจารกรรมระดับชาติ และ ความรับผิดชอบของศูนย์รักษาความปลอดภัย เป็นหน้าที่ความรับผิดชอบของเจ้าหน้าที่ที่มีความรู้และเป็นพนักงานตามกฏหมาย คือ ตำรวจ สำหรับเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยของหน่วยงาน ถ้าไม่มีความรู้ในการสีบาสวน ไม่ควรทำเอง เมื่อมีข้อสงสัยหรือมีพยานหลักฐานว่ามีการจารกรรมเกิดขึ้นในหน่วยงานต้องรีบรายงานให้ผู้บริหารทราบโดยเร็วเพื่อจัดการให้มีการสืบสวนตามความเหมาะสมทันที
สำหรับมาตรการที่เป็นการป้องกันการจารกรรมแบบรับ หรือ การรักษาความปลอดภัย หน่วยงาน ราชการ หรือองค์การ ที่จะนำมาใช้ได้ เพื่อลดการสี่ยงภัยจากการจารกรรมที่อาจจะเกิดขึ้น ในทางปฏิบัติของมากตรการเหล่านั้นจะได้กล่าวในบทต่อไป
4.2.8.2.1 การสืบสวนทางการรักษาความปลอดภัยทางบุคคล ได้แก่ การสอบประวัติใรเรื่องของความสี่อสัตย์ จงรักภักดี มั่นคง น่าเชื่อถือ และความไว้วางใจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งก่อนที่จะบรรจุเป็นพนักงาน หรือก่อนที่จะมอบหมายให้ทำหน้าที่ที่สำคัญเกี่ยวกับความลับและติดตามพฤติกรรมหลังจากเข้าทำงานอย่างต่อเนื่อง
4.2.8.2.2 การป้องกันผู้ที่ไม่มีอำนาจเข้ามาในสถานที่
4.2.8.2.3 กำหนดวิธีการดำเนินการต่อเอกสารและระเบียบของข่าวสารอย่างรอบคอบ การกำหนดชั้นความลับ การดำเนินกรรมวิธี และการทำลายเอกสาร
4.2.8.2.4 การควบคุมการผ่านเข้า - ออก ของพนักงานหรือข้าราชการภายในองค์การอย่างรอบคอบ
4.2.8.2.5 การติดตามพฤติกรรมและตรวจสอบผู้ที่ทำงานเกี่ยวกับความลับตลอดเวลา
4.2.9 สรุป การจารกรรม ก็เป็นเรื่องธรรมดา คนเราจะทำอะไรก็ต้องรู้ข่าวสารข้อเท็จจริง หรือ พูดแบบสมัยใหม่ว่า “ข้อมูลข่าวสาร” ของเรื่องนั้น ๆ เพื่อที่จะได้มาวางแผน แต่ถ้าข้อมูลข่าวสารนั้นเป็นเรื่องเปิดเผย ใคร ๆ ก็รู้ แต่ถ้าเจ้าของ¬ข้อมูลข่าวสารนั้นต้องการสงนความรู้ ไม่ต้องการให้ผู้อื่นรู้ ผู้ที่ต้องการข้อมูลข่าวสารก็ต้องหาวิธีการแสวงหา ก็เกิดการจารกรรมขึ้นมา ผู้ที่รับผิดชอบเจ้าของข้อมูลก็ต้องป้องกันการแสวงหาข้อมูลด้วยวิธีต่าง ๆ เกิดเป็นการรักษาความปลอดภัยขึ้นมา
|