การรักษาความปลอดภัยเกี่ยวกับบุคคล
7 การรักษาความปลอดภัยเกี่ยวกับบุคคล
7.1 การรักษาความปลอดภัยเกี่ยวกับบุคคล คนส่วนมากมักจะเข้าใจว่าเป็นการจัดกำลังคุ้มกันบุคคล หรือ การจัดมือปืน คุ้มกันบุคคลให้พ้นจากการถูกลอบทำร้าย หรือ ถูกลอบฆ่า เรียกว่า การอารักขาบุคคลสำคัญ เป็นการรักษาความปลอดภัยเฉพาะกรณี
7.2 ปัญหาเรื่องคน เหตุใดคนจึงประมาทเลินเล่อ คดโกง ทุจริต หรือทำให้ความลับรั่วไหลเป็นเรื่องของคนแต่ละคนซึ่งไม่เหมือนกันไม่มีใครตอบได้ถูกต้อง อย่างไรก็ดี แต่ก็พอหาเหตุที่มาผลักดันให้คนกระทำการอันเป็นภัยซึ่งรวมเรียกว่า“การละเมิดการรักษาความปลอดภัย” ซึ่งประมวลจุดอ่อนคนที่ผลต่อความปลอดภัยได้ดังนี้
7.2.1.1 นิสัยสันดานและจุดอ่อน(CCTV)ของบุคคล มีอยู่หลายประการ ได้แก่
7.2.1.1.1ความภาคภูมิใจและความถือดีทำให้คนที่รักษาความลับไม่ได้รู้อะไรมาก็ชอบคุยเพื่อแสดงให้เห็นว่าเป็นผู้รู้ เป็นคนสำคัญทำให้ผู้อื่นสนใจ จุดอ่อนนี้ถ้าฝ่ายตรงข้ามยั่วยุหรือสนับสนุนก็จะยิ่งคุยอวดมากขึ้น
7.2.1.1.2 ความประพฤติและอุปนิสัยที่เสื่อมเสีย ความยับยั้งในการพูดเมื่อมึนเมาแล้วขาดสติ มัวเมาในการพนัน รสนิยมสูงโดยไม่คำนึงถึงฐานะฯลฯ จึงเป็นเหตุให้ผู้มีจุดอ่อนหลงผิดเห็นแก่ตัวเห็นความสำคัญในทางส่วนตัวหนือกว่าความปลอดภัยของส่วนรวม ทำการทุจริตคดโกง หรือหลงเข้าสู่กับดักของฝ่ายตรงข้าม
7.2.1.1.3 ความเชื่อใจ ความไว้วางใจในญาติ สามี ภรรยา หรือเพื่อน ทำให้เปิดเผยความลับ ข่าวสารที่มีผลกระทบต่อความปลอดภัยโดยคิดว่าไม่เป็นอะไร
7.2.1.1.4 ความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ ความประมาทเลินเล่อ และ การเกียจคร้าน ที่จะปฏิบัติตามระเบียบรักษาความปลอดภัยและการละเมิดทำให้ความลับรั่วไหล(กล้องวงจรปิด) อาจเกิดได้ทุกหนทุกแห่ง หรือแม้แต่ในบ้าน รวมทั้งการแอบฟังทางโทรศัพท์ของฝ่ายตรงข้าม
7.2.1.1.5 ความกระตือรือร้นจนเกินสมควร บางคนอาจมีใจมุ่งมั่นกับเรื่องที่สำคัญ หรือ เรื่องลับ ที่ตนได้ทราบหรือทำอยู่ เมื่อสนทนากับผู้อื่นจึงเผลอพูดออกไปในที่ที่ไม่เหมาะสมเป็นเหตุให้ความลับรั่วไหล ละเมิดการรักษาความปลอดภัย
7.2.1.1.6 สภาพแวดล้อมส่วนตัว อาจจะเป็นจุดอ่อนให้บางคนถูกบีบให้กระทำการอันเป็นภัยต่อประเทศชาติหรือหน่วยงานได้
7.2.1.2 การดำเนินการของฝ่ายตรงข้าม จุดอ่อนและนิสัยทำให้บุคคลละเมิดการรักษาความปลอดภัยด้วยตนเองแล้ว ฝ่ายตรงข้ามยังใช้จุดอ่อนมาดำเนินการเพื่อทำการจารกรรม วินาศกรรม ซึ่งมีวิธีการหลายประการ เช่น
7.2.1.2.1 ใช้เงินเป็นเหยื่อ ล่อให้เป้าหมายที่มีจุดอ่อนด้านการเงิน ยอมละเมิดการรักษาความปลอดภัยโดยยอมตนเป็นเครื่องมือ วิธีนี้เป็นวิธีที่ง่ายที่สุดและได้ผลเสมอ
7.2.1.2.2 การใช้กามารมณ์เป็นเครื่องมือ ล่อเป้าหมายที่มีความต้องการทางกามารมณ์ เพื่อสนองความต้อง แล้วชักชวนหรือบับบังคับให้เปิดเผยความลับ หรือ ละเมิดการรักษาความปลอดภัย เป็นจุดอ่อนในการรักษาความปลอดภัยอีกทางหนึ่งโดยเฉพาะระดับชาติ
7.2.1.2.3 การใช้กลอุบายหรืออิทธิพลต่าง ๆ เช่น ใช้อำนาจหน้าที่หลอกลวงหรือบีบบังคับเป้าหมายให้หลงเชื่อ และ ยอมให้ความร่วมมือละเมิดการรักษาความปลอดภัย ฝ่ายตรงข้ามจะหาจุดอ่อนหรือปมด้อยของเป้าหมายซึ่งถ้าถูกเปิดเผยจะทำให้เสียหายต่อชื่อเสียงและวงศ์ตระกูล
7.2.1.2.4 การดำเนินการทางจิตวิทยา เป้าหมายที่มีความเบี่ยงเบนหรือผิดปกติทางจิต ข้อสังเกตุสำหรับบุคคลประเภทนี้ มักแสดงออกความคิดเห็นในด้านตำหนิ โจมตีองค์กร วิธีการที่ฝ่ายตรงข้ามใช้ การให้ข่าวสาร เกลี้ยกล่อม เป้าหมายที่มีปัญหาวามคิดเห็นขัดแย้งทางการเมืองหรือสังคม หลงเชื่อรือคล้อยตามยอมเป็นเครื่องมือในที่สุด
7.2.1.2.5 การดำเนินการโดยสายลับ ส่งสายลับแทรกซึมเข้าไปในองค์กรหรือหน่วยงานที่เป็นเป้าหมาย ซึ่งใช้มากในการปฏิบัติการระดับชาติ บุคคลประเภทนี้เป็นภัยร้ายแรงที่สุด ยากแก่การป้องกันและสืบสวน
7.3 มาตรการในการรักษาความปลอดภัยเกี่ยวกับบุคคลต้องเริ่มจากการเลือกคนดีมีคววามซื่อสัตย์เชื่อถือไว้วางใจได้นิสัยดีปราศจากจุดอ่อนไม่มีปมด้อยต่างๆดังกล่าวจึงเกิดเป็นมาตรการรักษาความปลอดภัยเกี่ยวกับบุคคลผู้บริหารจะต้องประสานงานระหว่างการรักษาความปลอดภัยองค์กรเข้ากับการบริหารงานบุคคลโดยวิธีการคัดเลือกบุคคลเข้าทำงานการกรองคนที่มีศักยภาพที่จะทำความเสียหายให้แก่องค์กรออกเสียก่อนเสียตั้งแต่แรก การรักษาความปลอดภัยเกี่ยวกับบุคคลไม่ได้อยู่ที่การสอบประวัติก่อนบรรจุอย่างเดียว จะต้องดำเนินการเป็น 2 ขั้นตอน ดังนี้
ขั้นแรก ความรับผิดชอบของผู้บริหารองค์กร ต้องให้มีการสืบประวัติบุคคลทุกคนเพื่อความวางใจก่อนบรรจุเข้าทำงาน เพื่อความปลอดภัย
ขั้นสอง เมื่อเข้าทำงานแล้ว ผู้บังคับบัญชาต้องติดตามดูแลพฤติกรรมของผู้ใต้บังคับบัญชาอย่างต่อเนื่องตลอดที่ทำงานอยู่ ไม่ใช้ตรวจสอบแค่ครั้งแรกแล้ว เหตุเพราะคนเปลี่ยนแปลงได้
การรักษาความปลอดภัยบุคคลก็เป็นเรื่องปกติในชีวิตประจำวัน และเมื่อทำงานด้วยกันก็ต้องดูว่าคงเส้นคงวาหรือไม่ แต่ในทางปฏิบัติบุคคลในองค์กรก็ต้องเป็นหูเป็นตาคอยสังเกตุพฤติกรรม แต่ไม่ใช่ไปคอยจับผิด แต่ช่วยกันสังเกตุอย่างมีสติและเหตุผล แล้วรายงานให้ผู้บังคับบัญชาทราถ้ามีสิ่งผิดปกติ
การรักษาความปลอดภัยเกี่ยวกับบุคคลของหน่วยงานหรือองค์กร ประกอบด้วยมาตรการ 5 ประการ คือ
1) การตรวจสอบประวัติบุคคล
2) การรับรองความไว้วางใจ
3) การอบรมเรื่องการรักษาความปลอดภัย
4) การลงทะเบียนความไว้วางใจ
5) การให้ปฏิบัติหน้าที่เกี่ยวกับความลับ
บทสรุป การรักษาความปลอดภัยเกี่ยวกับบุคคล คน เป็นปัจจัยสำคัญที่สุดของการรักษาความปลอดภัย เป็นเหตุที่จะก่อให้เกิดภัยหรือความเสียหาย และมีหน้าที่ป้องกันความเสียหายนั้น ๆ ในทางปฏิบัติจะทำให้มีประสิทธิภาพสมบูรณ์นั้นยาก เพราะเรื่องเกี่ยวกับคนนั้นเป็นเรื่องละเอียดอ่อนต้องทำอย่างมีสติและรอบคอบไม่ประมาท
|