การรักษาความปลอดภัยเกี่ยวกับสถานที่
9 การรักษาความปลอดภัยเกี่ยวกับสถานที่
9.1 มาตรการรักษาความปลอดภัยเกี่ยวกับสถานที่ ส่วนมากจะเป็นภัยจากธรรมชาติ และ ภัยจากคนนอก ดังนั้น วิธีรักษาความปลอดภัยพื้นฐาน คือ พยายามสกัดกั้น ผลักดันศัตรูไม่ให้เข้ามาทำความเสียหายด้วยวิธีการต่าง ๆ เช่น การเลี้ยงสุนัขเฝ้าบ้าน สร้างกำแพง รั้ว กริ่งไฟฟ้า และกล้องวงจรปิด เพื่อจัดการป้องกันและขัดขวางเสียก่อนที่จะเข้ามาทำความเสียหาย
9.2 คำจำกัดความ “การรักษาความปลอดภัยเกี่ยวกับสถานที่ คือการกำหนดการพิทักษ์รักษาความปลอดภัยแก่ อาคาร สถานที่ ตลอดจนวัสดุอุปกรณ์ เจ้าหน้าที่ พร้อมทั้งเอกสารที่อยู่ในอาคาร ให้พ้นจากการจารกรรม การก่อวินาศกรรม และเหตุอื่นใดที่ทำให้เกิดความเสียหายแก่สถานที่ อาคาร
9.3 หลักการรักษาความปลอดภัยเกี่ยวกับสถานที่
9.3.1 การรักษาความปลอดภัยเกี่ยวกับสถานที่ มักจะคิดไปที่การป้องกันความเสียหายของตัวอาคาร ทรัพย์สิน หรือตัวบุคคล
9.3.2 คนทำหน้าที่ในการรักษาความปลอดภัยเกี่ยวกับสถานที่ มี 3 ประการ ดัง
1) คอยเฝ้าตรวจ ผู้ที่เข้ามาในสถานที่
2) พิสูจน์ ผู้ที่เข้ามามีสิทธิหรือไม่
3) สกัดกั้นหรือขัดขวาง ถ้าทราบว่าผู้เข้ามาเป็นผู้ไม่มีสิทธิ หรือเป็นศัตรู
9.3.3 วัตถุทำหน้าที่อะไรในการรักษาความปลอดภัยเกี่ยวกับสถาน เราเรียกวัตถุที่ใช้ในการป้องกันสถานที่ว่า เครื่องช่วยในการรักษาความปลอดภัย หรือ เรียกง่าย ๆ ว่า เครื่องมือรักษาความปลอดภัย เช่น กล้องวงจรปิด
โดยมีความคิดว่าเครื่องมือเหล่านี้ถ้าไปติดตั้งที่ไหนทำให้เกิดความปลอดภัยได้โดยไม่ต้องอาศัยคน เช่น การปล้นธนาคาร ก็มักจะมีผู้ถามว่ามีกล้องวงจรปิดหรือเปล่า จับภาพคนร้ายได้ไหม และการจับภาพคนร้ายได้จะทำให้ตำรวจสืบหาตัวคนร้ายและจับได้
9.3.3.1 ระบบเครื่องกีดขวาง ช่วยในการรักษาความปลอดภัย ประกอบด้วย พลังงาน สัตว์ ธรรมชาติ สิ่งที่สร้างขึ้น คน
9.3.3.2 หน้าที่ของระบบเครื่องกีดขวาง มีอยู่ 4 ประการด้วยกัน คือ การแจ้งเตือน การขจัดโอกาส การหน่วงเหนี่ยวทางกาย การป้องปรามทางจิตวิทยา
9.4 ข้อพิจารณาในการวางมาตรการรักษาความปลอดภัยเกี่ยวกับสถานที่
9.4.1 ความสำคัญของภารกิจขององค์กรหรือส่วนราชการนั้น ๆ สภาพของสถานที่ สถานการณ์ทางเศรษฐกิจ ตลอดจนการสนับสนุนช่วยเหลือที่ได้รับจากหน่วยงานอื่น ๆ
9.4.2 ขีดความสามารถในการล่วงล้ำของฝ่ายตรงข้าม ว่าจะใช้เวลาเท่าใด ในลักษณะใด จู่โจม แอบแฝงหรือว่าเปิดเผย รวมทั้งอุบัติเหตุที่เกิดจากภัยธรรมชาติ
9.4.3 นำวิธีการที่ฝ่ายตรงข้ามกระทำต่อฝ่ายเรามากที่สุด ภัยจากปรากฏการณ์ธรรมชาติ ตลอดจนอุปัทวเหตุ อันเกิดแก่สถานที่นั้นมากที่สุด เพื่อนำมาพิจารณาให้ได้มาตรการรักษาความปลอดภัยที่เหมาะสมและมีประสิทธิภาพมากที่สุด
9.4.4 การทำจารกรรมหรือก่อวินาศกรรม ศัตรูจะพยามยามเข้าถึง ที่เป็นเป้าหมายแต่ไม่จำเป็นต้องไปอยู่ในเป้าหมายนั้น เช่น ศัตรูอยู่ไกลเป้าหมายสามารถทำจารกรรมได้ โดยใช้เครื่องมือที่มีเทคโนโลยีสูง เช่น กล้องถ่ายภาพหรือเครื่องฟังเสียงระยะไกล การก่อวินาศกรรมโดยใช้วิธีที่ซับซ้อน
9.4.5ใครก็ตามที่มีความตั้งใจ เสียสละเวลา กำลังคน กำลังทรัพย์ วัสดุ และความคิด ก็จะผ่านเครื่องกีดขวางได้ทุกชนิด ไม่มีเครื่องกีดขวางชนิดใดที่จะผ่านไม่ได้ ขอให้จำไว้ว่าเครื่องกีดขวางเป็นเพียงเครื่องถ่วงแวลาเท่านั้น
9.4.6 การรักษาความปลอดภัยเกี่ยวกับสถานที่ จะได้ผลต้องใช้ระบบความปลอดภัยที่ซับซ้อนเพื่อให้เกิดการถ่วงเวลาสะสมเพียงพอที่จะสามารถควบคุมสถานการณ์ได้
9.4.7 สถานที่แต่ละที่มีความแตกต่างกันแล้วแต่ภารกิจ สิ่งที่เป็นความลับ ทรัพย์สิน ลักษณะอาคารและสถานที่ ต้องพิจารณาวางมาตรการป้องกันให้เหมาะสมแต่ละอาคารสถานที่
9.5 มาตรการรักษาความปลอดภัยเกี่ยวกับสถานที่
เนื่องจากอาคารสถานที่ในปัจจุบันมักจะซับซ้อนและใหญ่โต จะต้องมีการรักษาความปลอดภัยประกอบด้วยมาตรการและรายละเอียกมากขึ้น เพื่อให้เหมาะสมกับความสำคัญของสถานที่ในความรับผิดชอบ
สำหรับระบบการรักษาความปลอดภัยเกี่ยวกับสถานที่อย่างน้อยควรมีรายละเอียดต่าง ๆ ดังนี้
1) จัดให้มีพื้นที่การรักษาความปลอดภัย (restricted area)
2) ระบบสัญญาณแจ้งเหตุและการสื่อสาร (alarm & communication)
3) การระมัดระวังและการป้องกันทางวัตถุ (physical protection)
4) การควบคุมบุคคลและยานพาหนะ (personal & control)
5) ระบบยามรักษาการณ์ (guard force system)
6) ระบบป้องกันและระงับอัคคีภัย และการหนีไฟ (fire protection, fire fighting & fire escape)
9.6 การสำรวจและตรวจสอบทางการรักษาความปลอดภัย
9.6.1 การสำรวจทางการรักษาความปลอดภัย (security survey)
การรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับขีดความสามารถและจุดอ่อนขององค์กรหรือหน่วยงาน เพื่อนำมาประมวลผลโดยมีความประสวค์จะช่วยให้ผู้บริหารวิเคราะห์พิจารณาได้ว่า วิธีการ หรือ มาตรการรักษาความปอดภัยแบบไหนควรนำมาใช้ป้องกันให้พ้นจากภัย
9.6.2 การตรวจสอบทางการรักษาความปลอดภัย (security inspection) การทบทวนและสืบสวนเพิ่มเติมของมาตรการรักษาความปลอดภัยของสถานที่นั้นสมบูรณ์ หรือมีอุปสรรคข้อบกพร่องจุดอ่อนหรือไม่จะได้แก้ไขปรับปรุงให้เข้มแข็งและมีประสิทธิภาพขึ้นการตรวจสอบการรักษาปลอดภัยนั้นมีหลักและวิธีการที่คล้ายกันจะแตกต่างกันก็ตรงวิธีปฏิบัติ การกำหนดมาตรการรักษาความปลอดภัยจะต้องจัดให้เจ้าหน้าที่ควบคุมการรักษาความปลอดภัยของหน่วยงานดำเนินการในรายละเอียดของการสำรวจ
9.7 แผนการรักษาความปลอดภัยเกี่ยวกับสถานที่ (security plan)
9.7.1 การกำหนดรักษาความปลอดภัยเกี่ยวกับสถานที่ รวมทั้งอาคาร สิ่งที่เป็นความลับ รวมถึงเจ้าหน้าที่ของหน่วยงานนั้นให้พ้นจากภัย หรือ เหตุอื่นใด อาจทำให้เสียสมรรถภาพในการปฏิบัติภารกิจได้ การวางแผนจะรักษาความปลอดภัยก็จะต้องอาศัยการรายงานผลการสำรวจขององค์กรเป็นข้อมูลพื้นฐานประกอบกับปัจจัยต่าง ๆ เพื่อให้ได้ผลดีที่สุดในการรักษาความปลอดภัยขององค์การหรือหน่วยงาน ส่วนองค์กรหรือหน่วยงานที่ตั้ง ขึ้นใหม่ จะต้องจัดทำแผนขึ้น ตามปกติจะทำเป็นลายลักษณ์อักษรเพื่อเป็นหลักฐานผู้เกี่ยวข้องทุกคนทราบและปฏิบัติตาม ส่วนมาตรการที่จะต้องปฏิบัติเมื่อเกิดเหตุการณ์ฉุกเฉิน มักจะกำหนดเป็นเฉพาะเรื่องเพื่อประโยชน์ในการเตรียมเครื่องมือเครื่องใช้และการฝึกซ้อมเจ้าหน้าที่ให้ปฎิบัติหน้าที่ได้ทันท่วงทีหรือมีคำสั่งให้ใช้แผนนั้น ๆ
9.7.2 หัวข้อแผนการรักษาความปลอดภัยเกี่ยวกับสถานที่ ซึ่งมักจะเขียนตามหัวข้อต่อไปนี้
9.7.2.1ความมุ่งหมายของแผน คือ การป้องกันการโจรกรรม การจารกรรม และการก่อวินาศกรรม ส่วนการป้องกันการก่อการร้าย การป้องกันการโจมตีด้วยอาวุธ หรือ การป้องกันวสาธารณะภัยจะไม่อยู่ในแผนนี้โดยตรง อาจจะทำเป็นแผนป้องกันเฉพาะก็ได้
9.7.2.2พื้นที่ที่มีการรักษาความปลอดภัย ระบะพื้นที่ ข¬ององค์กรหรือหน่วยงานแบ่งเป็นขอบเขต มีเครื่องหมายกำหนดเขต หรืออาจจะทำเป็นแผนผังประกอบก็ได้
9.7.2.3มาตรการการควบคุม กำหนดพื้นที่ของการควบคุมบุคคล ยานพาหนะ วัตถุที่ผ่านเข้า - ออก ตลอดจนมาตรการควบคุมความเคลื่อนไหวระหว่างที่อยู่ในพื้นที่
9.7.2.4เครื่องช่วยในการรักษาความปลอดภัย เช่น การป้องกันทางวัตถุ แสงสว่าง รั้ว และสัญญาณแจ้งเหตุ รวมถึงการติดตั้งกล้องวงจรปิด
9.7.2.5 หน่วยรักษาการณ์ หมายถึง การวางกำลัง การจัดหน่วยรักษาการณ์ คำแนะนำทั่วไป
9.7.2.6การปฏิบัติในกรณีฉุกเฉิน การปฏิบัติเมื่อมีเหตุฉุกเฉินต่อบุคคลหรือต่อหน่วยงาน เช่น การก่อวินาศกรรม การเกิดไฟไหม้ ฯลฯ
9.7.2.7คำแนะนำในการประสานงาน การติดต่อประสารงานกับองค์กรหรือส่วนราชการ รวมทั้งการประสานงานกับบุคคลภายนอกตามความเหมาะสมและความจำเป็น
บทสรุป การรักษาความปลอดภัยสถานที่ ถ้าจะให้มีประสิทธิภาพ (efficiency) และ ประสิทธิผล (effective) ต้องมีองค์ประกอบ 4 อย่างด้วยกัน ดังนี้
1) เครื่องช่วยในการรักษาความปลอดภัยเกี่ยวกับสถานที่ เช่น รั้ว กำแพง เครื่องมือสี่อสาร หรือ การ ติดตั้งกล้องวงจรปิด (CCTV)ฯลฯ
2) ระเบียบคำสั่งหรือแผนในการรักษาความปลอดภัย กำหนดเขตหวงห้าม ระเบียบควบคุมบุคคลและยานพาหนะที่ผ่านเข้า - ออก ระเบียบการตรวจค้น แผนป้องกันและระงับอัคคีภัย
3) การอบรม ต้องมีการจัดการอบรมแก่บุคคลในหน่วยงานและองค์กรให้มีความรู้ ความเข้าใจ และปฏิบัติตามระเบียบโดยทั่วกัน
4) บุคคลหรือเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย จะต้องมีบุคคลเพื่อควบคุมความเคลื่อนไหว ให้เป็นไปตามระบบ และใช้เครื่องมือช่วยในการตรวจ พิสูจน์ และขัดขวาง ผู้ที่จะทำให้เกิดความเสียหาย องค์ประกอบที่สำคัญที่สุด ก็คือเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย เพราะองค์ประกอบอื่นหรือเครื่องมือ รวมถึงการควบคุมให้เป็นไปตามระเบียบ ก็ต้องอาศัยคน หรือ เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยนั่นเอง
|