ท่อสำหรับร้อยสายภาพและสายไฟงานกล้องวงจรปิด
การเดินสายไฟและสายภาพกล้องวงจรปิด(CCTV)สำหรับบ้านพักอาศัย หรืออาคารที่เป็นตึก สามารถเลือกใช้วิธีเดินสายแบบเกาะผนังหรือเลือกวิธีเดินสายในท่อร้อยสายก็ได้ แต่ในการเดินสายในท่อร้อยสายไฟฟ้าจะมีค่าใช้จ่ายสูงกว่า เมื่อเทียบกับการเดินสายแบบเกาะผนัง แต่ก็มีประโยชน์และข้อดีหลายประการดังนี้
1.ท่อร้อยสายที่เป็นโลหะ สามารถป้องกันสายไฟจากความเสียหายทางกายภาพได้ เช่น การถูกกระทบกระแทกจากภายนอก หรือ ถูกสารเคมีต่างๆ
2.ป้องกันอันตรายกับคนที่อาจจะไปสัมผัสสาไฟฟ้าซึ่งฉนวนเสียหาย หรือเสื่อมสภาพ
3.สะดวกต่อการร้อยสาย และเปลี่ยนสายไฟฟ้าใหม่เมื่อสายสายเดิมหมดอายุการใช้งาน
4.ท่อร้อยสายไฟที่เป็นโลหะต้องมีการต่อลงดิน ถ้าสายชำรุดตัวนำแตะกับท่อ เครื่องป้องกันกระแสเกินจะทำงานตัดวงจรก่อนที่จะเป็นอันตรายต่อผู้ที่อาจจะไปสัมผัสท่อ
5.ท่อร้อยสายภาพและสายไฟที่เป็นโลหะสามารถป้องกันไฟไหม้ได้ หากเกิดการลัดวงจรภายในท่อ ประกายไฟ หรือความร้อนจะถูกจำกัดอยู่ภายในท่อ
ท่อร้อยสายสำหรับงานติดตั้งกล้องวงจรปิดที่นิยมใช้ในปัจจุบัน มีดังนี้
1.ท่อพีวีซี (PVC)
ท่อพีวีซีพลาสติกชนิดโพลีไวนิลคลอไรด์ นิยมใช้เดินสายภายในอาคาร โดยทั่วไป มี 2 สี คือ สีขาวกับสีเหลือง ถ้าต้องการดัดท่อให้โค้งงอตามความต้องการ ต้องใส่ลวดสปริงขนาดที่เหมาะสมแล้วเป่าด้วยเครื่องลมร้อนโดยรอบจนได้ที่ จึงดัดท่อให้ได้ตามมุมที่ต้องการ ใช้น้ำเช็ดให้ทั่วบริเวณที่โค้งงอจนอุณหภูมิลดลงเป็นปกติก็จะได้ท่อที่โค้งทำมุมตามที่ต้องการ มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางตั้งแต่ ½ - 2 นิ้ว ยาวท่อนละ 3 เมตร
2.ท่อโลหะหนา (Rigid Metal Conduit), RMC
เป็นท่อที่มีความแข็งแรงที่สุดสามารถทนต่อสภาพแวดล้อมต่างๆ ได้ดี ทำมาจากเหล็กกล้าเคลือบสังกะสีทั้งผิวภายนอกและภายในเรียกว่า ท่อ RSC (Rigid Steel Conduit) สามารถใช้งานได้ทั้งในและนอกนอกอาคาร รวมทั้งฝังในดิน ท่อ RMC มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางตั้งแต่ ½ - 6 นิ้ว และยาวท่อนละ 10 ฟุต หรือประมาณ 3 เมตร
3.ท่อโลหะหนาปานกลาง (Intermediate Metal Conduit), IMC
เป็นท่อที่มีความหนากว่าท่อ EMT ทำจากเหล็กกล้าเคลือบสังกะสี ผิวภายในเคลือบด้วยอีนาเมล สามารถใช้งานแทนท่อ RMC ได้ทุกสถานที่มีราคาถูกกว่าเรียกว่า ท่อ IMC การเดินสายกล้องวงจรปิดใช้ลักษณะเดียวกับท่อ RMC โดยท่อ IMC จะมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางตั้งแต่ ½ - 4 นิ้ว และยาวท่อนละ 10 ฟุต หรือประมาณ 3 เมตร
4.ท่อโลหะบาง (Electrical Metallic Tubing), EMT
เป็นที่มีผนังบางกว่าท่อRMC และ IMC จึงมีความแข็งแรงน้อยกว่าและราคาถูกกว่า ทำจากเหล็กกล้าเคลือบสังกะสี ผิวภายในเคลือบด้วยอีนาเมล สามารถใช้ได้เฉพาะภายในอาคารเท่านั้น เรียกว่า ท่อ EMT โดยใช้ดินลอยเกาะผนัง เดินในฝ้าเพดาน หรือเดินในผนังคอนกรีต ไม่ควรใช้ในกรณีที่มีการกระทบกระแทกทางกล และห้ามใช้ฝังดิน ท่อ EMT มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางตั้งแต่ ½ - 2 นิ้ว และยาวท่อนละ 10 ฟุต หรือ ประมาณ 3 เมตร
5.ท่อโลหะอ่อน (Flexible Metal Conduit), FMC
ทำจากเหล็กกล้าชุบสังกะสีทั้งผิวภายนอกและภายใน เป็นท่อที่มีความอ่อนตัวสูง สามารถโค้งงอไปมาได้ เหมาะสำหรับใช้กับอุปกรณ์ที่สั่นสะเทือนขณะใช้งาน หรืองานที่ต้องการความโค้งงอด้วยมุมหักสูงๆ เช่น จุดต่อดวงโคม ห้ามใช้ในสถานที่เปียก ฝังในคอนกรี ฝังในดินและสถานที่อันตราย เช่น ในห้องแบตเตอรี่ ปล่องลิฟท์ ฯลฯ มีขนาดตั้งแต่ ½ - 4 นิ้ว มีความยาวไม่เกิน 2 เมตร
6.ท่อโลหะแข็ง (Rigid Nonme tallic Conduit), RNC
ท่อโลหะแข็งทำมาจากสารโลหะ ซึ่งมีคุณสมบัติเหมาะสมทางกายภาพ เช่น ไฟเบอร์ ใยหิน ซีเมนต์พีวีซีอย่างแข็ง อีพอคซี่เสริมใยแก้ว หรือ โพลีเอทธิลีนความหนาแน่นสูง ท่อชนิดนี้มีความแข็งแรงน้อยกว่าท่อโลหะ แต่ทนความชื้น การกัดกร่อนจากสารเคมีในอากาศได้ดีกว่า ท่อชนิดนี้สามารถใช้เดินเกาะผนัง เดินในผนัง ในเพดาน และฝังในดิน
|