ความรู้เกี่ยวกับอาชญาวิทยาเบื้องต้น
อาชญวิทยาเป็นการใช้วิธีทางวิทยาศาสตร์เพื่อศึกษาด้านอาชญากรรมพิจารณาในเรื่องของการเกิดและการควบคุมอาชญากรรม รวมทั้งศึกษาพัฒนาการโดยอาศัยระบบความคิดทั้งวิทยาศาสตร์และปรัชญาจึงได้นำไปใช้ในการควบคุมอาชญากรรม แก้ไขปัญหาสังคมและผู้กระทำความผิด ทำให้เกิดความเป็นธรรม อาชญวิทยาซึ่งจะได้กล่าวเป็นลำดับดังนี้ ความหมาย อาชญวิทยาเป็นการใช้วิธีทางวิทยาศาสตร์เพื่อศึกษาด้านอาชญากรรมพิจารณาในเรื่องของการเกิดและการควบคุมอาชญากรรม รวมทั้งศึกษาพัฒนาการโดยอาศัยระบบความคิดทั้งวิทยาศาสตร์และปรัชญาจึงได้นำไปใช้ในการควบคุมอาชญากรรม แก้ไขปัญหาสังคมและผู้กระทำความผิด ทำให้เกิดความเป็นธรรม อาชญวิทยาซึ่งจะได้กล่าวเป็นลำดับดังนี้ ความหมาย วัตถุประสงค์ ขอบเขต ความสัมพันธ์ และประโยชน์
1.2 ความหมายของอาชญาวิทยา
เป็นวิชาที่มีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับวิชาจิตวิทยา ชีววิทยา สังคมวิทยา และวิชาสถิติ นักอาชญาวิทยาได้พยายามวิเคราะห์และให้คำนิยามความหมายของอาชญาวิทยาไว้ว่าเป็นวิชาที่ศึกษาถึงอาขญากรรมเป็นปรากฏการณ์ของสังคมในอันที่จะต้องศึกษาถึงแนวทางแห่งการบัญญัติกฏหมาย การดำเนินการของสังคมต่อผู้กระทำการละเมิดกฏหมาย อาชญาวิทยาพอสรุปได้ว่า เป็นวิชาที่ประกอบด้วยสาขาใหญ่ ๆ 3 สาขา คือ
1. สังคมวิทยากฏหมาย
2. วิทยาศาสตร์
3. ทัณฑวิทยา
1.3 การศึกษาของวัตถุประสงค์ของอาชญาวิทยา(CCTV) เพื่อให้รู้สาเหตุของอาชญากรรม ลักษณะอาชญากร วิธีการปฏิบัติต่อผู้กระทำผิด วิธีป้องกันแก้ไขปัญหาอาชญากรรม เพื่อพัฒนาหลักการนำไปสู่การบัญญัติกฏหมายที่กำหนดพฤติกรรมและการแก้ไขปัญหาอาชญากรรม และกำหนดมาตรการในการควบคุมสังคมที่เกี่ยวกับอาชญากรรม
1.4 ขอบเขตของอาชญาวิทยา
วิชาที่มีขอบเขตการศึกษาที่กว้างขวางและเกี่ยวข้องกับวิชาอื่น จึงทำให้การศึกษาอาชญาวิทยาเป็นการศึกษาแบบสหวิชา โดยนำเอาวิธีการและข้อมูลความรู้จากสาขาวิชาต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องในการศึกษามาประกอบด้วย โดยสรุปว่า อาชญาวิทยาประกอบด้วยเรื่องสำคัญ 3 เรื่อง คือ
1.4.1 สังคมวิทยากฏหมาย กล่าวถึงการพัฒนากฏหมาย มีความเป็นมาและมีเงื่อนไขอะไรรวมทั้งนโยบายในการบริหารงานยุติธรรมทางอาญา
1.4.2 เหตุแห่งการเกิดอาชญากรรม รวมทั้งหลักการที่นำมาอธิบายถึงสาเหตุของอาชญากรรมโดยอาศัยสาขาวิชาต่าง ๆ เช่น จิตวิทยา สังคมวิทยา รัฐศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ เป็นต้น
1.4.3 การควบคุมอาชญากรรม ในการควบคุมสังคมให้ปลอดภัยจากอาชญากรรม เช่น มาตรการลงโทษ โดยการใช้สถาบัน การคุมประพฤติ เป็นต้น
1.5 ความสัมพันธ์ของอาชญาวิทยากับกฏหมายอาญา
อาชญาวิทยาและกฏหมายอาญาต่างมีความเกี่ยวข้องกัน ต่างศึกษาถึงอาชญากรรมและการลงโทษผู้กระทำความผิด จึงเป็นเรื่องที่ศึกษาถึงสาเหตุของอาชญากรรม ลักษณะและประเภทของอาชญากรรม และการปฏิบัติต่อผู้กระทำความผิดรวมทั้งวิธีการป้องกันและแก้ไขปัญหาอาชญากรรม ในการศึกษาอาชญาวิทยาจึงมีอิทธิพลต่อการศึกษากฏหมายอาญา ผลจากการศึกษาอาขญาวิทยาพบว่า บุคคลที่กระทำความผิดและก่ออาชญากรรมนั้นมีปัจจัยจากหลายสาเหตุ เช่น ความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ ความบกพร่องทางร่างกาย จิตใจ หรือมีสันดานที่ชั่วร้าย ทำให้มีผลต่อการกำหนดโทษของผู้กระทำความผิดรวมทั้งการปฏิบัติต่อผู้กระทำผิด และมีผลต่อการตรากฏหมายอาญาโดยตรง
1.6 ประโยชน์ของการศึกษาอาชญาวิทยา
การศึกษาอาชญาวิทยามีประโยชน์สำคัญหลายประการ ดังนี้
1.6.1 ส่งเสริมให้เกิดการศึกษาค้นคว้าถึงปัญหาและปัจจัยที่ก่อให้เกิดอาชญากรรม
1.6.2. อธิบายถึงปัญหาอาชญากรรมที่เกิดขึ้นรวมทั้งสาเหตุของการเกิดอาชญากรรม แนวทางแก้ไขอย่างถูกต้อง เหมาะสม และเป็นธรรม
1.6.3. เครื่องมือในการ ตรากฏหมายอาญา ทั้งกำหนดทิศทางเพื่อแก้ไขกฏหมายอาญา
1.6.4 อธิบายถึงความน่าจะเป็น เกี่ยวกับเหตุการณ์ในอนาคต ประโยชน์ในการแก้ปัญหาสังคมและสิ่งแวดล้อม ที่มีผลต่อการเกิดอาชญากรรมในสังคม
1.6.5 หลักการปฏิบัติงานในชีวิตประจำวันให้ถูกทิศทาง
1.7 บทสรุป
อาชญาวิทยาเป็นวิชาที่ศึกษาอาชญากรรมในฐานะที่เป็นปรากฏการณ์อย่างหนึ่งของสังคมโดยศึกษาสาเหตุของอาชญากรรม รวมถึงการป้องกันและแก้ไขผู้กระทำความผิดเพื่อให้กลับตนเป็นคนดีสู่สังคม ผลของการศึกษาอาชญาวิทยาพบว่าการที่คนกระทำผิดโดยก่ออาชญากรรมนั้น มักมีปัจจัยมาจากหลายด้าน ซึ่งบางกรณีไม่ใช่เกิดจากเจตนาชั่วร้าย หากเกิดจากความบกพร่องทางร่างกายหรือจิตใจ เหตุสุดวิสัย สถานการณ์บีบบังคับ บีบคั้น สมควรได้รับการพิจารณาบรรเทาโทษ ซึ่งผลจากข้อเท็จจริงมีผลทำให้การกำหนดโทษของผู้กระทำผิดกฏหมายอาญามีข้อยกเว้นในการที่จะลงโทษผ่อนหนักให้เป็นเบา จึงนับว่าอาชญาวิทยามีความสัมพันธ์และมีผลต่อการตรากฏหมาย และการกำหนดโทษของบุคคลในกฏหมายอาญาโดยตรง
|