กฎการเดินสายและติดตั้งอุปกรณ์ไฟฟ้าในงานติดตั้งกล้องวงจรปิด
1.วงจรไฟฟ้าที่เป็นวงจรย่อย
สายป้อนหรือสายเมนซึ่งมีวิธีการเดินสายอยู่หายวิธีด้วยกันเพื่อให้เลือกใช้งานได้ตามความเหมาะสมแต่ละวิธีจะมีข้อกำหนดการใช้งานที่แตกต่างกันออกไป ในการเลือกไปใช้งานจึงจำเป็นต้องศึกษาถึงรายละเอียดของแต่ละวิธีการเดินสายนี้ไม่รวมถึงการเดินสายภายในเครื่องอุปกรณ์ไฟฟ้า เช่น ในมอเตอร์ ในแผงควบคุม ละสวิทช์ต่างๆ ซึ่งประกอบสำเร็จรูปจากโรงงงาน
2.ข้อกำหนดทั่วไปสำหรับการเดินสาย
การเดินสายไฟฟ้าที่ถูกต้องทั้งในด้านวิชาการและข้อกำหนดของการไฟฟ้า จุดประสงค์เพื่อให้มีอายุการใช้งานยาวนาน สะดวกในการใช้งานและการบำรุงรักษา รวมถึงประประหยัดค่าใช้จ่ายในการติดตั้งและบำรุงรักษาอีกด้วย ข้อกำหนดทั่วไปที่สำคัญมีดังนี้
2.1การเดินสายไฟที่มีแรงดันต่างกัน
• สายไฟฟ้าแรงต่ำระบบกระแสสลับ และกระแสตรงที่มีแรงดันต่างกันสามารถ ติดตั้งรวมอยู่ภายในช่องเดินสายหรือเครื่องห่อหุ้มเดียวกันได้ แต่ฉนวนของสายทั้งหมดที่ติดตั้งกล้องวงจรปิดนั้นต้องเหมาะสมกับระบบแรงดันสูงสุด เช่น สายของระบบไฟฟ้ากระแสตรงแรงดัน 48 โวลต์ สามารถติดตั้งรวมในช่องเดินสายเดียวกับสายของระบบไฟฟ้ากระแสสลับแรงดัน 380 โวลต์ แต่สายไฟฟ้าทั้งหมดต้องเป็นชนิดทนแรงดัน 750 โวลต์
• ห้ามติดตั้งสายไฟที่ใช้กับระบบแรงต่อรวมกับสายไฟที่ใช้กับระบบแรงสูงในช่องเดินสาย บ่อพักสายหรือเครื่องห่อหุ้มเดียวกัน สามารถทำได้เฉพาะในแผงสวิตซ์ หรือเครื่องห่อหุ้มอื่น ที่ไม่ได้ใช้เพื่อการเดินสายนั้น
2.2การติดตั้งใต้ดิน
การเดินสายไฟฟ้าใต้ดินในงานระบบกล้องวงจรปิด(CCTV) มีข้อกำหนดในการติดตั้งดังนี้
• เคเบิ้ลฝังดินโดยตรง หรือร้อยอยู่ในท่อร้อยสายไฟ ความลึกในการติดตั้งต้องไม่น้อยกว่าที่กำหนดในตาราง แต่ถ้าเป็นบริเวณที่มีรถยนต์วิ่งผ่านความลึกต้องไม่น้อยกว่า 60 เซนติเมตร ในการติดตั้งที่มีแผ่นคอนกรีตปิดหุ้มต้องเป็นแผ่นคอนกรีตหนาไม่น้อยกว่า 50 มิลลิเมตร
• เคเบิลใต้ดินติดตั้งใต้อาคารต้องติดตั้งอยู่ในช่องเดินสาย และช่องเดินสายต้องยาวเลยผนังด้านนอกของอาคารออกไปจากแนวติดตั้งไม่น้อยกว่า 15 เซนติเมตร
• สายที่โผล่ขึ้นจากดินต้องมีการป้องกันด้วยสิ่งห่อหุ้มหรือช่องเดินสาย ซึ่งฝังจมลงไปในดิน แส่วนที่โผล่เหนือพื้นต้องไม่น้อยกว่า 2.40 เมตร
• การต่อสายหรือต่อแยก ให้เป็นไปตามที่กำหนดไว้ในแต่ละวิธีการเดินสาย สำหรับสายเคเบิลใต้ดินที่อยู่ในราง อนุญาตให้มีการต่อสายหรือต่อแยกสายในรางได้ แต่การต่อและต่อแยกต้องทำด้วยวิธี และใช้วัสดุที่ได้รับการรับรองแล้ว
• ห้ามใช้วัสดุที่มีคม สิ่งที่ทำให้ช่องเดินสายผุกร่อน หรือมีขนาดใหญ่กลบทับสาย และช่องเดินสาย
• ช่องเดินสาย เช่น ท่อร้อยสายกล้องวงจรปิด รางเดินสายไฟและสายภาพกล้องวงจรปิด เป็นต้น ซึงความเปียกชื้นสามารถผ่านเข้าไปสัมผัสส่วนที่มีไฟฟ้าได้ ต้องอุดปลายใดปลายหนึ่ง หรือทั้งสองปลายตามความเหมาะสม
• ปลายท่อของสายกล้องวงจรปิดซึ่งฝังอยู่ในดิน ณ จุดที่สายเคเบิลออกจากท่อต้องมีบุชชิ่ง อนุญาตให้ใช้ซีลลิ่งที่มีคุณสมบัติในทางป้องกันเทียบเท่ากับบูชชิ่งแทนได้
• ท่อโลหะที่ฝังดินต้องมีการป้องกันการผุกร่อน การป้องกันทำได้โดยการเคลือบด้วยวัสดุที่ทนต่อการผุกร่อน เช่น สังกะสี แคดเมียม อีนาเมล (Enamel) หรือหุ้มด้วยคอนกรีต
2.3การติดตั้งวัสดุ และการจับยึด
• ท่อร้อยสายกล้องวงจรปิด รางเดินสาย รางเคเบิล เคเบิล กล่อง ตู่ และเครื่องประกอบการเดินท่อต้องยึดกับที่ให้มั่นคง
• การเดินสายไฟกล้องวงจรปิดในท่อร้อยสายสำหรับแต่ละจุดที่มีการต่อสาย ปลายท่อ จุดต่อ ไฟฟ้า จุดต่อแยก จุดติดสวิตซ์ หรือจุดดึงสาย ต้องติดตั้งกล่องหรือเครื่องประกอบการเดินท่อ นอกจากจะเป็นการต่อสายในเครื่องห่อหุ้มสายที่มีฝาเปิดออกได้และเข้าถึงได้ภายหลังการติดตั้ง กรณีนี้ไม่ต้องติดตั้งกล่อง หรือเครื่องประกอบการเดินท่อ
• ช่องเดินสายที่เดินสายกล้องวงจรปิดที่เดินผ่านสถานที่ซึ่งมีอุณหภูมิแตกต่างกันมาก เช่น เดินท่อร้อยสายเข้าออกห้องเย็น ต้องมีการป้องกันการไหลเวียนของอากาศภายในท่อ จากส่วนที่มีอุณหภูมิไปส่วนที่เย็นกว่า เพื่อไม่ให้เกิดการควบแน่นเป็นหยดน้ำภายในท่อ
• สายไฟและสายกล้องวงจรปิดในช่องเดินสายต้องมีกรจับยึดเป็นช่วงๆ โดยมีระยะห่างไม่เกินตามที่กำหนดในตาราง แต่ถ้าระยะตามแนวดิ่งน้อยกว่าร้อยละ 25 ของระยะที่กำหนดในตารางก็ไม่ต้องจับยึด การจับยึดมีจุดประสงค์เพื่อป้องกันไม่ให้น้ำหนักของสายไฟฟ้า ทำให้ฉนวนของสายชำรุด หรือไปดึงอุปกรณ์ที่สายยึดอยู่ชำรุด เช่น เครื่องป้องกันกระแสไฟฟ้าเกิน
2.4การป้องกันไม่ให้เกิดกระแสเหนี่ยวนำ
เมื่อเดินสายไฟกล้องวงจรปิดกระแสสลับผ่านวัตถุที่เป็นสารแม่เหล็ก อาจเกิดกระแสเหนี่ยวนำขึ้นได้ กระแสเหนี่ยวนำนี้ทำให้เครื่องห่อหุ้ม หรือช่องเดินสายที่เป็นโลหะเกิดความร้อน จนทำให้ฉนวนของสายชำรุด และยังเป็นผลให้มีค่ากำลังไฟฟ้าสูญเสียอีกด้วย การป้องกันอาจทำได้ ดังนี้
• เมื่อติดตั้งสายไฟกระแสสลับในเครื่องห่อหุ้ม หรือช่องเดินสายที่เป็นโลหะต้องรวมสายไฟฟ้าทุกเส้น และสายนิวทรัลรวมทั้งสายดินของเครื่องอุปกรณ์ไฟฟ้า (ถ้ามี) ไว้ในเครื่องห่อหุ้ม หรือช่องเดินสายเดียวกัน ในการเดินสายควบและใช้ท่อร้อยสายหลายท่อ ในแต่ละท่อร้อยสายต้องมีครบทั้งสายไฟฟ้า สายนิวทรัล และสายดินของเครื่องอุปกรณ์ไฟฟ้า
• เมื่อสายเดี่ยวของวงจรเดินผ่านโลหะที่มีคุณสมบัติเป็นสารแม่เหล็ก ต้องทำการตัดร่องให้ถึงกันระหว่างรูแต่ละรูที่ร้อยสายแต่ละเส้น หรือโดยการร้อยสายทุกเส้นของวงจรผ่านช่องหรือรูเดียวกัน
2.5การป้องกันไฟลุกลาม
การเดินสายไฟที่ผ่านผนัง ฉากกั้น พื้น หรือเพดาน ต้องมีการป้องกันไม่ให้ควันไฟหรือไฟลุกลามผ่านได้เมื่อเกิดเพลิงไหม้ การป้องกันอาจทำได้โดยการซีลด้วยวัสดุที่ทนไฟตรงรูที่สายหรือช่องเดินสายผ่านทะลุ
2.6การกำหนดสีของสายไฟหุ้มฉนวนระบบแรงต่ำ
• สายนิวทรัล ใช้สีเทาอ่อน หรือสีขาว
• สายเส้นไฟ ต้องใช้สายที่มีสีต่างไปจากสายนิวทรัล และสายดิน
ในระบบไฟฟ้า 3 เฟส ให้ใช้สายที่มีสีฉนวน หรือ ทำเครื่องหมายเป็นสี ดังนี้ เฟส A ใช้สีดำ
เฟส B ใช้สีแดง
เฟส C ใช้สีน้ำเงิน
• สายดินของเครื่องอุปกรณ์ไฟฟ้าใช้สีเขียว หรือ สีเขียวแถบเหลือง หรือใช้เป็นสายเปลือย สายไฟฟ้าที่มีขนาดโตกว่า 16 ตร.มม. อาจทำเครื่องหมายที่ปลายสายแทนการกำหนดสีก็ได้
2.7ข้อกำหนดการเดินสายสำหรับระบบแรงสูง
การติดตั้งต้องเป็นไปตามที่กำหนดในเรื่องการติดตั้งระบบแรงต่ำ และมีข้อเพิ่มเติม ดังนี้
• กล่อง เครื่องประกอบเดินสาย และเครื่องหุ้มอื่นที่คล้ายกัน ต้องมีฝาปิดที่เหมาะสม เพื่อป้องกันการสัมผัสที่มีไฟฟ้าโดยบังเอิญและป้องกันความเสียหายทางกายภาพต่อชิ้นส่วนต่างๆหรือฉนวน
• สายใต้ดินต้องฝังลึกไม่น้อยกว่า 0.90 เมตรในทุกกรณี ถ้าเป็นสายฝังดิน โดยตรงต้องมีแผ่นคอนกรีตหน้าไม่น้อยกว่า 0.10 เมตร ปิดทับอีกชั้นหนึ่งเหนือสายเคเบิ้ล มีระยะห่างจากสายเคเบิ้ลระหว่าง 0.30 ถึง 0.45 เมตร แผ่นคอนกรีตต้องกว้างพอที่จะปิดคลุมออกไปจากแนวสายทั้งสองข้างอย่างน้อยข้างละ 0.15 เมตร
|