บริษัท มีเดีย เสิร์ซ จำกัด

จำหน่ายและติดตั้ง กล้องวงจรปิด CCTV FUJIKO KENPRO JVC SAMSUNG PELCO PANASONIC LG MESSOA SANYO บริการดูหน้างานประเมินราคาฟรีถึงที่ สอบถามรายละเอียดได้ที่ เลขที่ 200 ซอยบรมราชชนนี 70 ถนนบรมราชชนนี แขวงศาลาธรรมสพน์ เขตทวีวัฒนา กทม. 10170

 
โทร. 02-888-3507-8,  081-700-4715

Line กล้องวงจรปิด cctv dvr ip camera @CctvBangkok.com   E-mail กล้องวงจรปิด cctv dvr ip camera contact@mediasearch.co.th

กล้องวงจรปิด cctv facebook icon
promotion kenpro

 

บทบาทของอาชญากรรม

โดยทั่วไปย่อมรู้จักกันดีว่าหมายถึงการกระทำที่ผิดกฏหมายก่อให้เกิดความสูญเสียทั้งชีวิตและทรัพย์สินและเป็นสิ่งที่ทุกคนไม่ต้องการเข้าไปเกี่ยวข้อง การจำกัดความหรือการให้ความหมายจึงขึ้นอยู่กับผู้ให้ความหมายของอาชญากรรมจึงต้องแยกพิจารณาตามศาสตร์หรือสำนักคิดต่าง ๆ

บทบาทของอาชญากรรม

 


           

ความหมายอาชญากรรม

ความหมายของอาชญากรรม จำต้องนำแนวความคิดของท่านที่มีชื่อเสียงมาเป็นคำตอบ ดังนี้ คือ
ท่านพุทธทาสภิกขุ ได้ให้ความหมาย(CCTV)ของอาชญากรรมไว้ว่า ความผิดทุกอย่างที่สมควรจะได้รับโทษเนื่องจากการกระทำความผิดต่อสังคม คือ สิ่งที่เป็นความผิดอย่างหนึ่งและสิ่งที่เกี่ยวกับโทษอีกอย่างหนึ่งซึ่งทั้งสองประเด็นนี้ได้กำหนดไว้แล้วในกฏหมายและในแง่ของความผิดถือได้ว่าเป็นพฤติกรรมที่เบี่ยงเบนออกไปจากกฏของสังคม
จากความหมายของคำว่า “ อาชญากรรม “ นักอาชญาวิทยามองด้านนิติศาสตร์และด้านสังคมศาสตร์

อาจกล่าวโดยสรุปถึงความหมายของอาชญากรรมแนวคิดปัจจุบันว่ามีองค์ประกอบดังนี้ คือ

1.การกระทำผิดโดยเจตนา

2.ความผิดนั้นมีลักษณะร้ายแรง มีอันตรายต่อสังคม

3.การกระทำที่เป็นอาชญากรรมย่อมได้รับโทษจากสมาชิกของสังคมและกฏหมายบ้านเมือง

อาจกล่าวโดยสรุปว่าคำจำกัดความของอาชญากรรม ต้องคำนึงถึงความเป็นมาของอาชญากรรม เพราะว่าการกระทำความผิดและการลงโทษนั้นพิจารณาถึงการกระทำความผิดเป็นสำคัญ โดยไม่ได้พิจารณาถึงตัวบุคคลผู้เป็นิอาชญากรแต่ประการใด แต่ในปัจจุบันนั้นต้องพยายามสืบเสาะหาตัวผู้กระทำความผิดให้ได้จริงๆจึงจะลงโทษในการให้คำจำกัดความของอาชญากรรมยังต้องคำนึงถึงปัจจัยทางสังคมและหลักกฏหมายซึ่งมีองค์ประกอบของบุคคล ทรัพย์สินและหลักศีลธรรมเข้าไปเกี่ยวข้องด้วย

 

 

บทบาทของอาชญากรรม



อาจกล่าวโดยสรุปว่าคำจำกัดความของอาชญากรรม ต้องคำนึงถึงความเป็นมาของอาชญากรรม เพราะว่าการกระทำความผิดและการลงโทษนั้นพิจารณาถึงการกระทำความผิดเป็นสำคัญ โดยไม่ได้พิจารณาถึงตัวบุคคลผู้เป็นิอาชญากรแต่ประการใด แต่ในปัจจุบันนั้นต้องพยายามสืบเสาะหาตัวผู้กระทำความผิดให้ได้จริงๆจึงจะลงโทษในการให้คำจำกัดความของอาชญากรรมยังต้องคำนึงถึงปัจจัยทางสังคมและหลักกฏหมายซึ่งมีองค์ประกอบของบุคคล ทรัพย์สินและหลักศีลธรรมเข้าไปเกี่ยวข้องด้วย

บทบาทอาชญากรรม

1.อาชญากรรมกับสังคม

อาชญากรรมเป็นสิ่งที่ไม่พึงประสงค์สำหรับสังคม แต่อาชญากรรมก็มีบทบาทสำคัญกับสังคม กล่าวคือ

1.อาชญากรรมเป็นเครื่องกำหนดชนชั้นของสังคม อาชญากรรมจึงถือเป็นปัจจัยหนึ่งของสังคม เนื่องจากอาชญากรรมเป็นปัจจัยหนึ่งของสังคม จึงไม่ปรากฏว่ามีสังคมใดที่จะปราบปรามอาชญากรรมให้สงบราบคาบลงได้ เพียงแตรสังคมต้องควบคุมอาชญากรรมให้อยู่ในขอบเขตที่จำกัดมิให้ก่อเกิดอันตรายร้ายแรงต่อสังคมยิ่งขึ้นเท่านั้น

2.สังคมมีอาชญากรรมก็จำเป็นต้องมีอาชญากร ผู้ประกอบอาชญากรรม ผลของการมีอาชญากรเกิดขึ้นจึงก่อให้เกิดสถาบันต่าง ๆ ทางสังคมขึ้น อาชญากรมิใช่แต่ผู้ประกอบอาชญากรรมเท่านั้น แต่เป็นผู้สร้างให้มีกฏหมายอาญา และกระบวนการยุติธรรมทางอาญา

 

2.อาชญากรรมกับกฏหมาย

ตามความหมายของกฏหมาย หมายถึง “การกระทำผิดต่อกฏหมายใด ๆ ก็ตามถือว่าเป็นการประกอบอาชญากรรมทั้งสิ้น” แต่อย่างไรก็ดี ในลักษณะดังกล่าวนี้จะเห็นได้ชัดว่า ความหมายของอาชญากรรมตามนัยของกฏหมายก่อให้เกิดความไม่ยุติธรรมขึ้นในสังคม เช่น คดีเกี่ยวกับการพนันเป็นการกระทำความผิด แต่นักพนันลอตเตอรี่ของรัฐบาลกลับได้รับการยอมรับว่าเป็นผู้บริสุทธิ์ ทั้ง ๆ ที่เป็นนักการพนันเหมือนกัน

จากกรณีดังกล่าว จึงมีผลผลักดันก่อให้เกิดมวลพยายามที่จะแสวงหาความเหมาะสมในการปฏิบัติต่อผู้กระทำผิดและการกำหนดขอบเขตของกฏหมายอาญา ดังนี้

บทบาทของอาชญากรรม

1. ความหมายอาชญากรรมมีขอบเขตกว้างขวาง จึงจำแนกลักษณะความผิดให้เด่นชัดไปว่า การกระทำผิดอย่างใดควรจะได้รับการลงโทษอย่างใด อาจแบ่งออกเป็นสองประเภท คือ ความผิดลหุโทษ และ ความผิดอุกฉกรรจ์ ความผิดลหุโทษเป็นความผิดเล็กน้อยไม่ร้ายแรงเท่ากับความผิดประเภทอื่น ๆ หรือความผิดอุกฉกรรจ์ จึงควรได้รับการให้อภัย และผู้กระทำผิดอาจจะได้รับการผ่อนผันโดยถูกลงโทษเพียงโทษปรับ ไม่ใช่โทษจำคุก หรือไม่ได้รับการตัดสิทธิทางสังคมอย่างหนึ่งอย่างใด เป็นต้น

2. การจำแนกพฤติกรรมระหว่างการกระทำความผิดของเด็กให้แตกต่างกับสภาพของอาชญากร เด็กเป็นเพียงผู้กระทำความผิดตามกฏหมายมิใช่เป็นอาชญากรแต่อย่างใด ได้มีหลักประกันตามพระราชบัญญัติศาลเยาวชนและครอบครัว ซึ่งผลของกฏหมายดังกล่าวก่อให้เกิดการปฏิบัติต่อเด็กที่กระทำความผิดแตกต่างไปจากอาชญากร

3. เพื่อป้องกันผู้ทำความผิดลหุโทษ ไม่ให้ต้องตกอยู่ในภาวะและมีสภาพเป็นอาชญากร จึงควรกำหนดขอบเขตของกฏหมายมให้เป็นที่แน่นอน และควรแยกพิจารณาการกระทำความผิดต่อกฏหมายอาญาต่างหาก ซึ่งถือว่าเป็นการกระทำความผิดเกี่ยวกับสวัสดิภาพของประชาชน แนวความคิดนี้มีทั้งฝ่ายค้านและฝ่ายสนับสนุน

3.อาชญากรรมกับศาสนา

ศาสนา ถือเป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจทางสังคมและส่งเสริมให้ปฏิบัติต่อกันอย่างถูกต้องเพื่อความสงบลุขในสังคม
ฉะนั้น อาชญากรรมกับศาสนาจึงมีความสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิด ลักษณะของกฏหมายในปัจจุบันมิได้ยึดหลักธรรมทางศาสนาแต่เพียงอย่างเดียวเท่านั้น แต่ยังประกอบด้วยเงื่อนไขและข้อเรียกร้องทางสังคมด้านอื่น ๆ ซึ่งขัดต่อหลักศาสนาอยู่ด้วย

4.อาชญากรรมกับขนบธรรมเนียมประเพณี

เป็นสิ่งที่สังคมยึดถือปฏิบัติสืบต่อกันมาและเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวในสังคมให้เกิดความรู้สึกเป็อันหนึ่งอันเดียวกัน อย่างไรก็ดี ขนบธรรมเนียมประเพณีมีบทบาทต่อการควบคุมสังคมเป็นอย่างยิ่ง แม้ว่าจะเป็นที่ยอมรับกันในสังคม แต่การฝ่าฝืนขนบธรรมเนียมประเพณีไม่จำเป็นต้องได้รับโทษของบ้านเมือง เพียงแต่ผู้ฝ่าฝืนอาจถูกตำหนิเท่านั้น และในทางตรงกันข้ามขนบธรรมเนียมประเพณีที่ไม่ดีไม่งามบางประเภทก็อาจจะได้รับการยกเลิกโดยกฏหมายได้เช่นเดียวกัน อาจจะกล่าวได้ว่า ความสัมพันธ์ของกฏหมายกับขนบธรรมเนียมประเพณีมีทั้งคล้ายคลึงและแตกต่างกัน อย่างไรก็ดี ขนบธรรมเนียมประเพณีที่ไม่ดีงามบางประเภทก็อาจจะนำไปสู่ปัญหาการเกิดอาชญากรรมได้

5.อาชญากรรมกับศีลธรรม

ศีลธรรม หมายถึง ระเบียบปฏิบัติทำให้คนเป็นคนดี นอกจากนี้ระดับศีลธรรมในจิตใจของคนย่อมสูงต่ำแตกต่างกันขึ้นอยู่กับประสบการณ์การเรียนรู้ของแต่ละคนที่แตกต่างกัน รวมทั้งค่านิยมของบุคคลที่แตกต่างกันไปด้วย ฉะนั้น ข้อขัดแย้งระหว่างศีลธรรมและกฏหมายย่อมต้องเกิดขึ้นได้เสมอเพราะความแตกต่างในด้านเนื้อหาและวัตถุประสงค์ กฏหมายเน้นที่การแสดงออกของความประพฤติ แต่ศีลธรรมเป็นเรื่องความรู้สึกภายในจิตใจกำหนดให้มนุษย์ประพฤติ

6.อาชญากรรมกับการกระทำความผิดของเด็กและเยาวชน

ในปัจจุบันเยาวชนและเด็กกระทำความผิดเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก จึงควรได้รับผลตอบแทนจากการกระทำนั้นเช่นเดียวกับผู้กระทำความผิดที่เป็นผู้ใหญ่หรือไม่ ความจริงแล้วได้มีแนวคิดที่จะแยกพิจารณาการกระทำความผิดทางอาญาของเด็กและเยาวชนให้แตกต่างไปจากการประกอบอาชญากรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการพิจารณาคดี ได้มีการจัดตั้งศาลคดีเด็ก โดยมุ่งหวังที่จะให้เด็กและเยาวชนสามารถกลับตนเป็นคนดีอันเป็นประโยชน์ต่อตัวเด็กและเยาวชนเอง

ในทางสังคมมีวิธีปฏิบัติต่อเด็กที่กระทำความผิดทางอาญาแตกต่างไปจากอาชญากรโดยทั่วไปเพราะเห็นว่าเด็กยังอ่อนต่อวัยและด้อยประสบการณ์ การกระทำของเด็กจึงอยู่บนรากฐานของความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ ฉะนั้น การปฏิบัติต่อเด็กที่กระทำผิดกฏหมายจึงต้องมีวิธีการแตกต่างออกไปตามวัยและความรู้สึกผิดชอบของเด็ก วิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว จึงมีบทบาทสำคัญในกระบวนการยุติธรรมที่เกี่ยวกับเด็ก เยาวชน ผู้เยาว์ และครอบครัว เป็นการคุ้มครองสวัสดิภาพของเด็กและเยาวชนในคดีอาญา และคุ้มครองประโยชน์หรือส่วนได้ส่วนเสียของผู้เยาว์ ดังนั้นจึงมีผลทำให้กระบวนการยุติธรรมทางอาญาสำหรับเด็กและเยาวชนมีลักษณะพิเศษ

บทสรุป

การกระทำความผิดที่เป็นการละเมิดกฏหมายโดยทั่วไปนั้น เรียกว่า อาชญากรรม แต่ไม่รวมถึงความผิดลหุโทษ และไม่รวมถึงความผิดของเด็กและเยาวชน ที่ถือว่าเป็นพฤติกรรมที่เบี่ยงเบน ดังนั้น บรรทัดฐานของอาชญากรรมจึงยังไม่มีกรอบที่คงที่ตลอดไป

 

 


FUJIKO CCTV


KENPRO CCTV

PANASONIC CCTV


HIKVISION CCTV
เธซเธ?เน?เธฒเน?เธฃเธ?เธ?เธฅเน?เธญเธ?เธงเธ?เธ?เธฃเธ?เธดเธ” เน€เธ?เธตเน?เธขเธงเธ?เธฑเธ?เธ?เธฅเน?เธญเธ?เธงเธ?เธ?เธฃเธ?เธดเธ” เธชเธดเธ?เธ?เน?เธฒเธ?เธฅเน?เธญเธ?เธงเธ?เธ?เธฃเธ?เธดเธ” เธงเธดเธ?เธตเธ?เธฒเธฃเธ?เธณเธฃเธฐเน€เธ?เธดเธ?เธ?เธฅเน?เธญเธ?เธงเธ?เธ?เธฃเธ?เธดเธ” เธ•เธดเธ”เธ•เน?เธญเธ?เธฅเน?เธญเธ?เธงเธ?เธ?เธฃเธ?เธดเธ”

บริษัท มีเดีย เสิร์ซ จำกัด เลขที่ 200 ซอยบรมราชชนนี 70 ถนนบรมราชชนนี แขวงศาลาธรรมสพน์ เขตทวีวัฒนา กทม. 10170
Tel. 02-888-3507-8 Fax. 02-888-3199 E-mail: krittiwit@gmail.com
www.MediaSearch.co.th | www.CctvBangkok.com