ประเภทของอาชญากรรม
อาชญากรรมกับสังคมมักมีความสัมพันธ์ต่อกันโดยตรง เป็นปรากฏการณ์อย่างหนึ่งซึ่งมีเป็นประจำในสังคมจะพบว่าในสังคมขนาดใหญ่มักมีจำนวนของอาชญากรรมเกิดขึ้นมากเป็นเงาตรมตัว จึงเป็นสิ่งจำเป็นเพื่อประโยชน์ในการศึกษางานการป้องกันอาชญากรรมนั้น
ประเภทของอาชญากรรม
ปัจจุบันนักอาชญากรรมวิทยานิยม แบ่งอาชญากรรมออกเป็น 6 ประเภท ตามลักษณะพฤติกรรม
1. อาชญากรรมพื้นฐาน (Basic Crime)
- ความหมายอาชญากรรมพื้นฐาน เป็นอาชญากรรมที่เกิดขึ้นพร้อมกับการเกิดสังคมมนุษย์ หรืออาจจะกล่าวได้ว่าไม่มีสังคมใดไม่มีอาชญากรรมพื้นฐาน เพียงแต่อาจจะแตกต่างกันที่ความรุนแรง และความถี่ของอาชญากรรม(CCTV)ที่เกิดขึ้น เป็นอาชญากรรมซึ่งเกี่ยวกับการประทุษร้ายต่อชีวิต ร่างกาย และทรัพย์สินของผู้อื่น
- ลักษณะของอาชญากรรมพื้นฐาน มักมีลักษณะของอาชญากรรม ดังนี้ เช่น เป็นอาชญากรรมที่มีลักษณะทั่ว ๆ ไป ไม่มีความซับซ้อน ไม่เทคนิคสูง ซึ่งเกิดขึ้นได้ในทุกสังคม และมีทั้งที่มีความรุนแรง และไม่รุนแรงขึ้นอยู่กับลักษณะของการทำความผิด และมักเป็นอาชญากรรมที่เกี่ยวกับการประทุษร้ายต่อชีวิต ร่างกาย และทรัพย์สินของผู้อื่น
- การประกอบอาชญากรรมพื้นฐาน มีทั้งกลุ่มที่เป็นมืออาชีพ และ กลุ่มที่ไม่ได้เป็นมืออาชีพ ได้แก่ อาชญากรรมที่เกี่ยวกับชีวิต ประทุษร้ายต่อทรัพย์ การประพฤติผิดของเด็กและเยาวชน อย่างไรก็ดี อาชญากรรมพี้นฐานในทุกสังคม มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นเป็นลำดับและเรียกว่าเป็นอาชญากรรมของชนชั้นต่ำ
- มาตรการควบคุมและป้องกันอาชญากรรมพื้นฐาน ครอบครัวมีอิทธิพลมากในการอบรมสั่งสอนเด็กและเยาวชนต้องให้ความเข้าใจและความรักรวมถึวต้องให้เวลาแก่เด็กและเยาวชนอยู่เสมอ ขจัดความไม่ยุติธรรมในสังคม รวมทั้งจัดสวัสดิการให้แก่ประชาชนในด้านการศึกษา อาชีพ และ ดูแลเรื่องความเจ็บป่วย
2. อาชญากรรมที่ปราศจากผู้เสียหาย (Victimless Crime)
- ความหมายของอาชญากรรมที่ปราศจากผู้เสียหาย เป็นอาชญากรรมที่ไม่มีเหยื่อ หรือผู้เสียหาย หรืออาจจะกล่าวได้ว่าผู้กระทำความผิดเป็นทั้งอาชญากรและเป็นเหยื่อไปพร้อม ๆ กัน
ความผิดตกเป็นเหยื่อเสียเอง และมักเป็นการกระทำที่ฝ่าฝืนศีลธรรมอันดีของประชาชนและมีกฏหมายอาญาบัญญัติเป็นความผิด
- การประกอบอาชญากรรมที่ปราศจากผู้เสียหาย มักกระทำความผิดที่ฝ่าฝืนศีลธรรมอันดีงามของประชาชน ได้แก่ ความผิดเกี่ยวกับการพนัน ความผิดเกี่ยวกับรักร่วมเพศ และความผิดเกี่ยวกับการทำแท้ง รวมถึงความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด อย่างไรก็ดี อาชญากรรมที่ปราศจากผู้เสียหายเมื่อนำมาเปรียบเทียบกับอาชญากรรมประเภทอื่นแล้วพบว่าเป็นอันตรายต่อสังคมในระดับต่ำ
- มาตรการควบคุมและป้องกันอาชญากรรมที่ปราศจากผู้เสียหาย การควบคุมสถานเริงรมย์ทั้งในด้านการจัดการบริการที่เกินขอบเขต ทำหนดเวลาเปิดปิด รวมทั้วกำหนดอายุของผู้ใช้บริการ การเปลี่ยนค่านิยมที่ชอบวัตถุ รวมถึงรัฐควรมีนโยบายที่ชัดเจนในการรณรงค์ต่อต้านในเรื่องยาเสพติดครอบครัวและโรงเรียนต้องอบรมสั่งสอนโดยปลูกฝังความคิด และค่านิยมที่ดีให้แก่เด็กและเยาวชนอย่างถูกต้อง
3.อาชญากรรมคอปกขาว (White Collar Crime
- อาชญากรรมคอปกขาว เป็นอาชญากรรมซึ่งผู้กระทำความผิดมักอยู่ในองค์กรทั้งในภาคราชการ รัฐวิสาหกิจ หรือเอกชน ใช้อำนาจหน้าที่ที่ตนมีอยู่เพื่อแสวงหาประโยชน์ในทางมิชอบให้ตนเองและพวกพ้อง เรียกว่า การทุจริคอร์รัปชั่น เป็นต้น อาชญากรรมประเภทนี้จะไม่ใช้ความรุนแรงเพื่อให้ได้มาซึ่งทรัพย์สิน แต่เป็นอาชญากรรมที่มุ่งประโยชน์ตอบแทนในทางที่มิชอบด้วยกฏหมายเช่นเดียวกับอาชญากรรมพี้นฐาน ด้วยเหตุนี้อาชญากรรมคอปกขาวจึงถูกเรียกว่า อาชญากรรมของคนชั้นสูง
- ลักษณะของอาชญากรรมคอปกขาว ผู้กระทำความผิดมักมีลัษณะดังนี้
1.บุคคลที่กระทำความผิดจะมีตำแหน่ง ฐานะการงานและอำนาจพอที่จะดำเนินการมิชอบได้
2.มีความสลับซับซ้อนและซ้อนเร้นจากสายตาและการสังเกตุการณ์ของสาธารณชนทั่วไป
3.เป็นการกระทำความผิดที่ฝ่าฝีนกฏหมายอาญา
4.เป็นบุคคลที่สังคมยอมรับ มีการศึกษาดี อาจเป็นข้าราชการ รัฐวิสาหกิจ หรือนักการเมือง
5.ใช้เทคนิคและการวางแผนที่มีประสิทธิภาพสูง
6.การกระทำความผิดที่ไห้ผลประโยชน์ตอบแทนสูง
7.ผู้กระทำความผิดมีสถานภาพทางการเมือง สถานภาพทางสังคม และ เศรษฐกิจที่อยู่ในระดับสูง
8.ลักษณะการกระทำความผิดไม่รุนแรง และไม่สะเทือนขวัญประชาชน
- การประกอบอาชญากรรมคอปกขาว มักจะมีลักษณะของการกระทำความผิดกฏหมายอาญา ได้แก่
1.การจัดซื้อครุภัณฑ์ และพัสดุ โดยการเบิกไม่ตรงกับราคาที่เป็นจริง
2.ข้าราชการรับเงินสินบนหรือคอร์รัปชั่น เช่น กรณีข้าราชการเบิกค่าใช้จ่ายเกินความเป็นจริง
3.การประกวดราคาและการฮั้วการประมูล เพื่อให้พวกพ้องชนะการประมูล เป็นต้น
- การควบคุมและป้องกันอาชญากรรมคอปกขาว
1.มาตรการทางวินัย หากบุคคลในหน่วยงานทุจริตต้องเร่งทำการสอบสวนทันที ถ้าผิดจริงต้องปลดออกทันทีเช่นกัน
2.จัดสวัสดิการและให้รางวัลกับข้าราชการดีเด่น เช่นสวัสดิการที่อยู่อาศัย ปรับปรุงฐานะความเป็นอยู่ของเจ้าหน้าที่และข้าราชการ
3.มาตรการทางสังคม ปลูกจิตสำนึกถึงความรักชาติโดยไม่เห็นแก่ประโยชน์ส่วนตัวและพรรคพวก และเมื่อข้าราชการกระทำความผิดต้องลงโทษอย่างจริงจัง
4.มาตรการทางนโยบาย เกี่ยวกับบริหารงานบุคคล มีการตรวจสอบและความประพฤติในการคัดเลือกบุคคลเข้ารับราชการอย่างรัดกุมและรอบคอบมากขึ้น
4.อาชญากรรมองค์การ (Organized Crime)
- ความหมาของอาชญากรรมองค์การ เป็นลักษณะของบุคคลที่รวมตัวกันกระทำความผิดเกี่ยวกับธุรกิจการเงินโดยการจัดการบริหารเป็นทางการและมีประสิทธิภาพ การกระทำความผิดนี้ยากแก่การจับกุมปราบปราม “องค์การอาชญากรรม” หมายถึง กลุ่มที่มีการจัดโครงสร้างของบุคคลสามคนหรือมากกว่าและมีการประสานงานระหว่างกันมีเป้าหมายในการกระทำอาชญากรรมร้ายแรง เพื่อให้ได้มาซี่งผลประโยชน์ทางการเงินหรือทางวัตถุไม่ว่าจะโดยทางตรงหรือทางอ้อม
- ลักษณะของอาชญากรรมองค์การ ผู้กระทำความผิดมักมีลักษณะเป็นการรวมตัวกันเป็นกลุ่มอาชญากรที่มีจุดหมายในการประกอบอาชญากรรม มีการรวมตัวกันอย่างมั่นคงถาวร โดยหวังผลประโยชน์ร่วมกัน มีการจัดแบ่งงานกันรับผิดชอบและมีประสิทธิภาพ บุคคลที่เป็นหัวหน้าเป็นบุคคลที่มีอำนาจทางเศรษฐกิจและการเมืองเป็นที่ยอมรับของสังคมและมักจะดึงข้าราชการ นักการเมือง
ร่วมเป็นสมาชิกเพื่อให้องค์การทำงานได้สะดวก มักใช้ความรุนแรงในการดำเนินธุรกิจที่ผิดกฏหมายและยึดเป็นอาชีพและพยายามขยายธุรกิจให้ออกไปในวงกว้างจัดสรรเงินพิเศษเพื่อดูแลพวกพ้อง รวมถึงการให้สินบนแก่เจ้าหน้าที่ของรัฐในกระบวนการยุติธรรม
- การประกอบอาชญากรรมองค์การ มักปรากฏว่ามีลัษณะของการกระทำความผิดกฏหมายอาญา เช่นการจัดตั้งสำนักโสเภณี การเรียกค่าคุ้มครอง การค้ายาเสพติด
- มาตรการควบคุมและป้องกันอาชญากรรมองค์การ มีการออกกฏหมายในการปราบปรามอย่างจริงจัง การบังคับใช้กฏหมายควรกระทำอย่างเด็ดขาด รวมถึงการจัดหาเทคโนโลยีและเครื่องมืออุปกรณ์ต่าง ๆ ที่ทันสมัยและเพียงพอ และตรวจสอบหน่วยงานที่รับผิดชอบคดีพิเศษอย่างมีประสิทธิภาพ จัดการประชุมแลกเปลี่ยนความเห็นจะทำให้เกิดประโยชน์ในการปราบปรามแก้ไข
5.อาชญากรรมเศรษฐกิจ (Economie Crime)
- ความหมายของอาชญากรรมเศรษฐกิจ เป็นการการะทำความผิดกฏหมายซึ่งกระทบต่อเศรษฐกิจและความมั่นคงของประเทศ ผู้กระทำความผิดมักมีสถานภาพทางสังคม และมีตำแหน่งหน้าที่การงานและมีความรู้
- ลักษณะของอาชญากรรมเศรษฐกิจ มักจะมีลักษณะเป็นการกระทำที่ละเมิดกฏหมายอาญาเเกี่ยวกับเศรษฐกิจ ความผิดอาญาที่เป็นอันตรายต่อเศรษฐกิจและสังคมที่มีผลกระทบต่อเศรษฐกิจโดยส่วนรวมของสังคม
- การประกอบอาชญากรรมเศรษฐกิจ มีลักษณะของการกระทำความผิดกฏหมายอาญา การฉ้อโกงในตลาดหลักทรัพย์ เช่นการปั่นหุ้น การยักยอกทรัพย์ธุรกิจทางการเงิน แชร์ลูกโซ่ แชร์น้ำมัน รวมถึงการกระทำความผิดต่อผู้บริโภค การโฆษณาหลอกลวง การขายสินค้าปลอมแปลง การค้ากำไรเกินควร เป็นต้น
- มาตรการควบคุมและป้องกันอาชญากรรมเศรษฐกิจ ประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนเข้าใจลักษณะของคดีเศรษฐกิจที่สลับซับซ้อน เช่นคดีปั่นหุ้น คดีแชร์ หรือบัตรเครดิต เพื่อให้เกิดความร่วมมือในการแจ้งเบาะแส จัดตั้งหน่วยรับผิดชอบเกี่ยวกับคดีเศรษฐกิจโดยตรง พร้อมทั้งอบรมองค์การให้มีความรู้ เทคนิค กลยุทธ์ และรูปแบบของการกระทำความผิดอย่างต่อเนื่อง
6.อาชญากรรมการเมือง (Political Crime)
- ความหมายของอาชญากรรมการเมือง เป็นอาชญากรรมที่สนับสนุนและนำมาซึ่งการก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางการปกครอง และความไม่สงบด้วยวิธีต่าง ๆ โดยมุ่งหวังทำลายความมั่นคงของราชอาณาจักร โดยมีกฏหมายบัญญัติว่าเป็นความผิด แต่ผู้ทำความผิดประเภทนี้ไม่คิดว่าตนเองเป็นผู้กระทำความผิด
- ลักษณะของอาชญากรรมการเมือง เป็นบุคคลที่ได้รับการศึกษาดีมีความรู้กฏหมาย แต่ต้องละเมิด
ของการกระทำเช่นนี้จะได้รับการตอบโต้จากสังคมอย่างรุนแรง
- การประกอบอาชญากรรมการเมือง มีลักษณะของการกระทำความผิดกฏหมายอาญา เช่น กรณีการแบ่งแยกดินแดนของขบวนการก่อการร้าย การก่อการจลาจลต่อสู้ระหว่างประชาชน เป็นกลุ่มที่มีความคิดมุ่งหวังเพื่อจะเปลี่ยนแปลงระบอบการเมืองการปกครองโดยจะล้มล้างรัฐบาล เป็นต้น
- มาตรการในการควบคุมและป้องกันอาชญากรรมการเมือง ขจัดความไม่ยุติธรรมในสังคม รวมทั้งจัดสวัสดิการให้แก่ประชาชนในด้านการศึกษา ความเจ็บป่วยและอาชีพ การปลูกจิตสำนึกที่ดีแก่ประชาชนให้เกิดความรักชาติเสียสละต่อประเทศชาติ เห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวม สื่อมาลชนต้องนำเสนอข้อมูลข่าวสารที่เป็นประโยชน์และช่วยประชาสัมพันธ์ รัฐบาลโดยหน่วยงานที่รับผิดชอบ ศูนย์รักษาความปลอดภัย ศูนย์ข่าวกรอง และกระทรวงมหาไทย ควรร่วมวางแผนกำหนดนโยบายในการปราบปรามให้มีประสิทธิภาพ ควรประชุมเพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นอย่างต่อเนื่อง
อาชญากรรมมีการกระทำความผิดที่แตกต่างกันโดยแบ่งตามลักษณะของพฤติกรรม อาชญากรรมพื้นฐาน อาชญากรรมปราศจากผู้เสียหาย อาชญากรรมคอปกขาว อาชญากรรมองค์การ อาชญากรรมเศรษฐกิจ และอาชญากรรมทางการเมือง ในการแบ่งประเภทอาชญากรรมมีประโยชน์ในการศึกษางานป้องกันรวมทั้งเป็นประโยชน์โดยตรงต่อการจัดทำสถิติอาชญากรรมในหน่วยงานของตำรวจ ราชทัณฑ์ และศาล
|