ประเภทของอาชญากร
อาชญากรเป็นผลผลิตของสังคมเกิดจากสภาพแวดล้อมของสังคมที่บีบคั้นให้คนมีพฤติกรรมเบี่ยงเบนไปจากบรรทัดฐานของสังคม ฝ่าฝืนกฏระเบียบ จึงถือว่าอาชญากรรมและอาชญากรเป็นธรรมชาติที่ต้องมีอยู่ทุกสังคมเพราะเป็นมีอาชญากรรมเป็นอาชีพ
ประเภทของอาชญากร
ประเภทอาชญากร มีอยู่หลายประเภท ปัจจุบันได้แบ่งประเภทของอาชญากรออกเป็น 5 ประเภท คือ
1. อาชญากรอาชีพ (Professional Criminal)
- ลักษณะของอาชญากรอาชีพ เป็นอาชญากรที่เลี้ยงชีพด้วยการประกอบอาชญากรรมเป็นเพียงวิธีการหาเงิน มักชอบอยู่ในสังคมที่มีความเจริญเพื่อหาช่องทาง(CCTV)ในการประกอบอาชญากรรม การเป็นอาชญากรอาชีพที่แท้และไม่แท้นั้นมัลักษณะดังนี้ อาชญากรอาชีแท้ ชนิดที่ให้ผลกำไรเป็นเงินเป็นทอง
ได้แก่ความผิดที่เกี่ยวกับทรัพย์อาชญากรอาชญากรอาชีพจะยึดเอาอาชญากรรมเป็นเครื่องมือในการหาเลี้ยงชีพแสวงหารายได้จากการประกอบอาชญากรรมเป็นสำคัญ โดยปรับปรุงฝีมือและเทคนิคใหม่ ๆ ในการประกอบอาชญากรรมของตน มักคบหาสมาคมกับผู้มีฝีมือเหนือกว่ามักจะเป็นผู้ที่มีจิตบกพร่อง
- อาชญากรรมที่เกิดขึ้นจากอาชญากรมืออาชีพ การดำเนินชีวิตของอาชญากรอาชีพนั่นจะถือว่าคนทุกคนล้วนโกงทั้งสิ้น จึงเป็นเพียงวิธีการหาเงินขชนิดหนึ่ง ซึ่งไม่ต่างจากการหาเงินของนักธุรกิจ จึงไม่ค่อยมีความสำนึกผิดและเตรียมหาผู้ช่วยเหลือไว้เมื่อถูกจับกุม
2. อาชญากรองค์การ (Organized Criminal)
- อาชญากรประเภทนี้จะดำเนินงานอย่างเป็นระบบแบบแผน มีกำลังเงินมากและให้สินบนแก่เจ้าหน้าที่ในกระบวนการยุติธรรมจะได้ดำเนินการได้สะดวกไม่ติดขัด ทำความเสียหายให้แก่สังคมและเศรษฐกิจของประเทศอย่างร้ายแรงที่สุด ปัจจัยที่สนับสนุนมี 2 ประการ ปัจจัยทางด้านการเงิน และ ปัจจัยทางด้านการเมือง มีการรวมกันเพื่อกระทำความผิด มีการวางแผนในการกระทำความผิด มีการแบ่งหน้าที่กันทำ มีทั้งฝ่ายสมองและฝ่ายสั่งงานและฝ่ายปฏิบัติงาน
- อาชญากรรมที่เกิดขึ้นจากอาชญากรองค์การ ได้แก่ การค้าของเถื่อน การค้ายาเสพติด การผูกขาดอาชีพบางอย่าง การเปิดบ่อนการพนัน การเรียกค่าคุ้มครอง เป็นต้น
3. อาชญากรคอปกขาว (White Collar Criminal)
- ลักษณะของอาชญากรคอปกขาว อาชญากรประเภทนี้กระทำความผิดอาญาโดยอาศัยอำนาจหน้าที่ตำแหน่งการงานแสวงหาผลประโยชน์ในทางมิชอบ ทั้งนี้เพื่อให้ตนเองได้ผลประโยชน์อันเกิดจากความโลภ ไม่ใช่เกิดจากความยากจน อาชญากรนี้ จึงมีอยู่ในทุกอาชีพ
- อาชญากรรมที่เกิดจากอาชญากรคอปกขาว เช่น การโกงภาษีรัฐบาล สมุห์บัญชีโกงเงินบริษัท ข้าราชการคอร์รัปชั่น และการขายสินค้าควบคุมในตลาดมืด เป็นต้น
4. อาชญากรติดนิสัย (Habitual Criminal)
- ลักษณะของอาชญากรติดนิสัย การกระทำความผิดซ้ำ ๆ และไม่คิดจะเลิกทำความผิดนั้น และมีสิ่งที่ผลักดันให้กลายเป็นอาชญากรติดนิสัยเริ่มจากความจำเป็นบางอย่างบีบบังคับให้ทำความผิดที่ละเล็กที่ละน้อยจนเป็นความเคยชินและกลายเป็นชีวิตของอาชญากรอย่างสมบูรณ์ จะเห็นได้ว่า ลักษณะของอาชญากรติดนิสัย เป็นผู้ที่ดำรงชีวิตอยู่โดยอาศัยการโจรกรรมไม่คิดเลิก มักเป็นผู้หากินทุจริตตลอดไป การลงโทษอาชญากรประเภทนี้จึงไม่ได้ผล เพราะถือว่าเป็นอาชญากรผู้มีความชั่วร้ายติดอยู่ในบุคลิกภาพ ซึ่งในทางปฏิบัติปัจจุบันนักโทษบางรายที่มีพฤติกรรมเป็นอาชญากรติดนิสัย
อาชญากรประเภทนี้จะได้รับการขัดเกลานิสัยจิตใจให้ดีขึ้น
- อาชญากรรมที่เกิดขึ้นจากอาชญากรติดนิสัย เช่น การฉ้อโกง รวมถึงพวกลักเล็กขโมยน้อย เป็นต้น
5. อาชญากรครั้งคราว (Occasional Criminal)
- อาชญากรประเภทนี้ไม่ใช่ผู้ร้ายในสันดาน การกระทำความผิดเกิดขึ้นโดยผู้กระทำความผิดไม่ได้มีเจตนาที่จะฝ่าฝืนระเบียบของสังคม แต่กระทำเพราะความประมาทเลิ่นเล่อ หรือ ปราศจากความระมัดระวังและกระทำความผิดเพราะความจำเป็น ป้องกันตัว ปกป้องเกียรติยศชื่อเสียงของตนเอง รวมถึงเกิดบันดาลโทสะ จึงได้กระทำความผิดนั้น และยังรวมถึงการกระทำความผิดต่อความมั่นคงของประเทศหรือการล้มล้างรัฐบาล หรือบางที่เรียกว่า อาชญากรการเมือง เช่นการขายความลับของชาติ เป็นต้น
- อาชญากรรมที่เกิดขึ้นจากอาชญากรครั้งคราว เช่น อาชญากรรมการเมือง กรณี 14 ตุลาคม 2516 ความผิดต่อชีวิต เช่น การฆ่าผู้อื่น สามี ภรรยา ความผิดต่อร่างกาย เช่นการทำร้ายร่างกาย ในการแบ่งอาชญากรแบ่งตามพฤติกรรมในการประกอบอาชญากรรมเพื่อให้เห็นถึงลักษณะของอาชญากรรมอย่างชัดเจนเป็นการแบ่งแบบกว้าง ๆ ซึ่งเป็นยอมรับโดยทั่วไป
อาชญากรเป็นผลผลิตของสังคมเกิดจากสถาพแวดล้อมของสังคมให้คนมีพฤติกรรมเบี่ยงเบนไป ฝ่าฝืนกฏระเบียบกฏหมายของสังคม ทั้งอาชญากรและอาชญากรรมเป็นธรรมชาติที่ต้องมีอยู่ทุกสังคมเพราะเป็นผลผลิตของสังคม เพื่อที่จะได้ทราบถึงปัจจัยอันประกอบกกันเป็นเหตุให้ผู้นั้นกระทำความผิด อันนำไปสู่การดำเนินการควบคุมและป้องกันอาชญากรรม
|