อาชญากรรมที่มีอยู่ในสังคมที่ทำลายความสงบเรียบร้อยของสังคม การป้องกันจึงถือว่าเป็นหน้าที่ของคนในสังคมและการป้องกันจะได้ผลต้องอาศัยความร่วมมือของทุกฝ่าย มิใช่หน้าที่โดยเฉพาะของหน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่งแต่เพียงฝ่ายเดียวเท่านั้น
การป้องกันอาชญากรรม ในการป้องกันอาชญากรรมจึงมีวัตถุประสงค์ในการลดช่องโอกาสที่จะทำความผิดนักอาชญาวิทยาได้สรุปไว้เป็น 4 ขั้นตอน ดังนี้
1.การป้องกันมิให้มีการประกอบอาชญากรรมอาจแบ่งออกได้เป็น3แนวทางป้องกันไม่ให้คนดีประกอบอาชญากรรม ป้องกันไม่ให้บุคคลที่เคยกระทำความผิดกลับมากระทำความผิดซ้ำป้องกันไม่ให้ผู้ที่คิดจะกระทำความผิดมีโอกาสประกอบอาชญากรรม ซึ่งเป็นการยับยั้งผู้กระทำความผิดโดยทางอ้อม
2. การป้องกันปราบปรามอาชญากรรมโดยกระบวนการยุติธรรม ได้แก่ ตำรวจ อัยการ (CCTV) ศาลยุติธรรม และราชทัณฑ์ การปฏิบัติหน้าที่ของบุคคลส่วนนี้มีบทบาทสำคัญในการควบคุมและป้องกันอาชญากรรม ในกระบวนการยุติธรรมจะเห็นได้ว่าเจ้าหน้าที่ตำรวจเป็นองค์กรแรกที่เกี่ยวข้องในการดูแลและพิทักษ์รักษาบ้านเมืองให้สงบเรียบร้อยจึงควรหาวิธีการที่จะทำงานป้องกันอาชญากรรมให้มีประสิทธิภาพ ในการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมจึงอาจแบ่งได้เป็น 2 ส่วน คือ การป้องกันอาชญากรรม และ การปราบปรามอาชญากรรม
3. การป้องกันอาชญากรรมโดยการลงโทษ หลังจากศาลพิพากษาลงโทษผู้กระทำความผิด ฝ่ายงานราชทัณฑ์จะรับตัวไปควบคุมจำคุกตามกำหนดโทษ เพราะการควบคุมผู้กระทำความผิดไว้ ทำให้สังคมปลอดภัยชั่วระยเวลาหนึ่ง และการป้องกันระยะยาวโดยการแก้ไข อบรม และฟี้นฟูจิตใจให้กลับตัวเป็นคนดี มีการฝึกอาชีพเพื่อพ้นโทษจะได้ประกอบอาชีพสุจริต
4. การป้องกันอาชญากรรมโดยชุมชน
1.การใช้มาตรการคุมประพฤติ เป็นการให้โอกาสผู้กระทำความผิดสามารถแก้ไขกลับตัวได้ในระยะเวลาที่ศาลกำหนด หลักการบังคับเช่นนนี้ เท่ากับเป็นการควบคุมมิให้ผู้กระทำความผิดทำขึ้นอีกถ้าทำอีกผู้กระทำความผิดจะต้องถูกพิพากษาลงโทษ จะเห็นได้ว่าชุมชนมีบทบาทสำคัญโดยมีส่วนร่วมในการป้องกัน แก้ไข และควบคุม การก่ออาชญากรรมและแก้ไขพฤติกรรมของผู้กระทำความผิดได้ ถ้าเห็นว่าผู้กระทำผิดมีความประพฤติไม่ดีกระทำผิดเงื่อนไขของศาลก็จะต้องรายงานให้ศาลทราบทันที
2.อาสาสมัครเนื่องจากกระบวนการยุติธรรมมีบุคลากรและงบประมาณไม่มากพอที่จะป้องกันและควบคุมอาชญากรรมได้อย่างมีประสิทธิภาพประชาชนที่มีน้ำใจและเสียสละยอมเป็นอาสาสมัครเข้ามาช่วยเหลือเป็นกำลังสนับสนุนในการช่วยเหลือแก้ไขฟื้นฟูผู้กระทำความผิด อาสาสมัครเป็นผู้ที่มีความรู้เกี่ยวกับทรัพยากรชุมชนและเป็นผู้ที่ใช้ชีวิตอยู่ในชุมชนเดียวกับผู้ถูกคุมประพฤติอาสาสมัครจึงเป็นเสมือนแกนนำของชุมชนในการแสดงบทบาทเกี่ยวกับการนำไปสู่การป้องกันอาชญากรรม และการให้ความรู้แก่ชุมชนในการแก้ไขฟื้นฟูผู้กระทำความผิดในชุมชนถือว่าเป็นบทบาทสำคัญยิ่งมีการรวมตัวเป็นแกนนำของภาคเอกชนสมทบกับภาครัฐบาลในการปฏิบัติภารกิจ
3. การมีส่วนร่วมของประชาชนในการป้องกันอาชญากรรมที่เกิดในชุมชน มุ่งเน้นที่ความร่วมมือ ร่วมใจของคนในชุมชนเป็นสำคัญ ความมีน้ำใจ เสียสละ ความมีคุณธรรม ความเมตตากรุณาต่อเพื่อนมนุษย์ ส่งผลต่อการพัฒนาประเทศชาติโดยส่วนรวม ถ้าทุกคนมีความสามัคคี มีความรู้สึกว่าทุกคนมีส่วนร่วมเป็นเจ้าของ “ชุมชน” มีความรู้สึกเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ฉะนั่นถ้าทุกคนในชุมชนมีส่วนร่วมในการป้องกันอาชญากรรมในชุมชนของเราเองทุกคนในชุมชนก็จะมีชีวิตอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุขอย่างแท้จริง
การป้องกันอาชญากรรมเป็นการคาดการณ์หรือประเมินล่วงหน้าเกี่ยวกับช่องทางหรือโอกาสของการกระทำความผิด รวมทั้งความพยายามที่จะกระทำการใด เพื่อเป็นการมิให้การการะทำความผิดใด ๆ เกิดขึ้น ในการป้องกันอาขชญากรรมไม่อาจพึ่งพาการคุ้มครองภาครัฐแต่เพียงอย่างเดียว คนในสังคมควรจะมีส่วนร่วมในการป้องกันอาชญากรรม ไม่ว่าจะเป็นครอบครัว เพื่อน และ ชุมชน ก็ต้องมีบทบาทและมีความเข้มแข็ง มีศีลธรรมประจำใจ ในขณะเดียวกันก็ต้องมีการรณรงค์ให้คนในสังคมรู้จักบทบาทหน้าที่ของตนเองด้วย รวมถึงวัฒนธรรมต้องอยู่ในจิตสำนึกของคนทุกคนในสังคม ซึ่งกระบวนการนี้นอกจากจะป้องกันอาชญากรรมแล้วยังลดอัตราการเกิดของอาชญากรรมลงได้