1.เพื่อเป็นการแก้แค้นทดแทน (Retribution) สมัยโบราณเมื่อมีการกระทำความผิดเกิดขึ้น ผู้เสียหายหรือญาติมักจะใช้วิธีแก้แค้นเพื่อตอบแทนฝ่ายตรงข้ามนั้นโดยใช้หลัก “ตาต่อตา ฟันต่อฟัน” ผู้ที่ตกเป็นเหยื่อหรือญาติของเหยื่อจะใช้วิธีการตอบแทนโดยการแก้แค้นที่รุนแรงและเกินขอบเขต ปราศจากมนุษยธรรม ในปัจจุบันการลงโทษถือหลักการแก้แค้นตอบแทนได้วิวัฒนาการไปตามแนทางอาชญาวิทยาสมัยใหม่ ซึ่งการมีบทลงโทษต่าง ๆ เป็นการเปิดโอกาสให้แก่ชุมชนได้แก้เค้นผู้กระทำผิดโดยผ่านทางกฏหมาย
2.เพื่อเป็นการยับยั้งการกระทำความผิด (Deterrence) การลงโทษผู้กระทำความผิด มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นการยับยั้งการกระทำความผิดซ้ำ และเพื่อให้ผู้อื่นเกิดความเกรงกลัวไม่กล้าเอาเยี่ยงอย่าง เช่น การจำคุก หรือ การประหารชีวิต โดยเป็นการลงโทษเพื่อให้เป็นบทเรียนให้ผู้กระทำผิดรู้สำนึกและเข็ดหลาบไม่คิดกระทำผิดอีกในอนาคต การลงโทษไม่เป็นการยับยั้งมนุษย์จากการประกอบอาชญากรรมเสมอไป ปัจจะบันอาชญากรรมยังเกิดขึ้นทุกหัวระแหงและทวีความรุนแรงขึ้นดูเหมือนว่าอาชญากรมิได้เกรงกลัวต่อโทษทัณฑ์แต่ประการใด
3.เพื่อเป็นการตัดผู้กระทำความผิดออกจากสังคม (Incapaciation) วัตถุประสงค์ของการลงโทษ ถือเป็นการตัดบุคคลผู้กระทำผิดออกจากสังคม โดยเฉพาะการประหารชีวิตถือเป็นการตัดออกจากสังคมถาวร การจำคุก กักขังเป็นการตัดผู้กระทำผิดออกจากสังคมเพียงชั่วระยะเวลาหนึ่งเท่านั้น เพื่อให้คนในสังคมปลอภัยจากอาชญากรรม
4.เพื่อเป็นการแก้ไขผู้กระทำความผิด (Rehabilitation and Correction) เป็นการห้ามปราบเพื่อมิให้เกิดการประกอบอาชญากรรม จึงเป็นงานที่รัฐบาลจะต้องทำการเพื่อแก้ไขฟี้นฟูหรือเยียวยารักษาผู้กระทำความผิดเปลี่ยนให้เขาเคารพกฏหมายให้ได้ และจึงก่อให้เกิดวิธีการปฏิบัติในแบบต่าง ๆ แกผู้ต้องขัง เช่น การฝึกวิชาชีพ ให้การศึกษา และการบำบัดทางการแพทย์จิตวิทยาควบคู่ไปกับการลงโทษ และประกอบอาชีพเลี้ยงตนเองได้เมื่อพ้นโทษ
5.เพื่อเป็นการป้องกันอาชญากรรม (Prevention Crime) การปกป้องคุ้มครองสังคมที่เพรียบพร้อมบริบูรณ์ด้วยปัจจัยจำเป็นต่อการรณรงค์ต่อต้านอาชญากรรมโดยยึดหลักความถูกต้องชอบธรรม ในการรักษาความสงบสุขและความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนการป้องกันและปราบปรามแบ่งเป็นขั้นตอนดังนี้
-วางแผนในการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรม
-ให้การศึกษาแก่ประชาชนในเรื่องการป้องกันทรัพย์สินและความปลอดภัย
-การประสานงานของสถาบันที่เกี่ยวข้องในกระบวนยุติธรรม
-จริยธรรมของผู้ปฏิบัติงานในกระบวนการยุติธรรม
จะเห็นได้ว่าการปลอดจากอาชญากรรมนั้นต้องกระทำร่วมกันหลายฝ่าย ซึ่งแนวทางการป้องกันจะต้องเกี่ยวข้องกับการปฏิบัติต่อผู้กระทำผิดเพื่อให้กลับตนเป็นคนดี โดยวางแนวทางที่จำเป็นจะต้องกระทำ การกำหนดโทษ การควบคุม
ตามปฏิญญาสากลขององค์การสหประชาชาติ ไม่สนับสนุนการลงโทษที่โหดร้ายและการปฏิบัติต่อผู้กระทำหรือนักโทษอย่างหยาบช้าทารุณ โดยมีเหตุผลของการลงโทษทารุณโหดร้ายและการปฏิบัติต่อผู้กระทำความผิดอย่างต่ำช้า และการปฏิบัติที่เป็นการไม่ยอมรับเกียรติภูมิของความเป็นมนษย์ ฉะนั้น การใช้บทลงโทษประเภทใดจะขัดต่อปฏิญญาสากลสิทธิมนุษยขนหรือไม่ย่อมขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ของสังคมนั้น ๆ
จะต้องมีการกำหนดโทษให้เหมาะสมโดยพิจารณาถึงความจริงที่ว่า มนุษย์แต่ละคนมีความสามาถไม่เท่าเทียมกันในการรับผิดชอบ และยังมีคนหลายประเภทที่ควรได้รับการลดโทษหรือไม่ต้องรับโทษเลย โดยมุ่งที่จะปรับปรุงแก้ไขอบรมบ่มนิสัยของผู้กระทำความผิดให้สามารถกลับตนเป็นคนดีได้ เพราะการลงโทษโดยการทำให้ผู้กระทำความผิดได้รับความยากลำบากหรือได้รับผลร้ายนั้น ในบางกรณีก็ไม่เหมาะสมกับตัวผู้กระทำความผิดและไม่สามารถให้ผู้ทำความผิดประพฤติตัวดีขึ้นได้
วัตถุประสงค์ของทัณฑวิทยาแต่เดิม การลงโทษผู้กระทำความผิดให้เข็ดหลาบ โดยมุ่งแก้แค้นเพียงอย่างเดียว แต่เมื่อระยะเวลาผ่านไปพร้อม ๆ กับกระบวนการพัฒนาแนวความคิดในการลงโทษคำนึงถึงสิทธิมนุษยชนและประโยชน์ของสังคมมากขึ้น รวมทั้งฝึกและพัฒนาอาชีพเพื่อมีงานทำเมื่อกลับสู่สังคม อันเป็นการป้องกันสังคมให้ปลอดภัยและป้องกันอาชญากรรมอีกทางหนึ่งด้วย