ในทางทัณฑวิทยาจะมุ่งศึกษาถึงความมุ่งหมาย และเหตุผลในการลงโทษตลอดจนการแก้ไขฟื้นฟูให้กลับตนเป็นคนดี ซึ่งแนวคิดนี้ได้เกิดขึ้นพร้อม ๆ กับมีการกระทำความผิดและการลงโทษ โดยได้มีวิวัฒนาการจากแนวความคิดในสมัยโบราณจนกระทั่งมาสู่แนวความคิดในปัจจุบัน
แนวความคิดและวิวัฒนาการในการลงโทษ
สมัยโบราณมนุษย์ขาดการศึกษาและยังด้อยความเจริญและยังคงเชื่อเรื่องภูตผีปีศาจโดยคนในสังคมส่วนรวมเชื่อว่าจะเกิดอันตรายหรือความหายนะอันเป็นผลจากความโกรธแค้นจากภูตผีปีศาจ ต้องหาทางป้องกันโดยนำตัผู้ทำผิดไปลงโทษเพื่อเป็นการสังเวย ต่อมาผู้ใดกระทำบางอย่างที่อาจก่อให้เกิดอันตรายต่อความมั่นคง หรือสวัสดิภาพของส่วนรวมย่อมถือว่าเป็นอาชญากรรมร้ายแรง ผู้ทำความผิดนั้นจึงต้องถูกลงโทษถึงชีวิต ดังนั้นการลงโทษเป็นเรื่องของการแก้แค้นตอบแทนระหว่างคู่กรณี จึงทำให้เกิดความอาฆาตจองเวรระหว่างตระกูล และมักจะทวีความรุนแรงมากขึ้นเรื่อย ๆ เรียกว่า“การแก้แค้นตอบแทนแบบตาต่อตาฟันต่อฟัน”นักอาชญาวิทยาและนักทัณฑวิทยา(CCTV)ได้เริ่มมีการตื่นตัวและได้ศึกษาถึงแนวคิดและวิธีการลงโทษอย่างเป็นแก่นสารมากยิ่งขึ้นจนเป็นที่ยอมรับมาจนถึงปัจจุบัน แนวความคิดในการลงโทษที่สำคัญมีดังนี้ คือ
1. แนวความคิดทางทัณฑววิทยาของสำนักคลาสสิค (Classical School of Penology)
2. แนวความคิดทางทัณฑววิทยาของสำนักนีโอคลาสสิค (Neo-Classical School of Penology)
3. แนวความคิดทางทัณฑวิทยาของสำนักพอสสิทีฟ (Positive School of Penology)
จากปฏิกิริยาของสังคมต่อผลสะท้อนของอาชญากรรมของสำนักทั้งสามในเรื่องทัณฑวิทยา คือ การดูแลแก้ไขฟื้นฟูผู้ทำความผิดที่ฝ่าฝืนกฏหมายได้ปรากฏขึ้นเป็นครั้งแรกโดยจะมุ่งเน้นสงเคราะห์ผู้ทำความผิดเป็นรายบุคคลแม้จะมีความแตกต่างกันในกระบวนการ ทั้งยังพบว่าผู้ที่ฝ่าฝืนกฏหมายมักจะมีพื้นฐานการศึกษา สถาพแวดล้อมทางสังคม วัฒนธรรม ในช่วงเวลาที่แตกต่างกัน ซึ่งต่อมาจึงได้มีการพัฒนาและปรับปรุงเปลี่ยนแปลงแนวความคิดในการลงโทษเพื่อความเหมาะสมและคำนึงถึงความมีมนุษยธรรมมากยิ่งขึ้น