ประวัติและวิวัฒนาการของราชทัณฑ์ไทย
หน่วยงานสุดท้ายของกระบวนการยุติธรรมทางอาญาทำหน้าที่หลักในการปฏิบัติต่อผู้ทำความผิดด้วยการลงโทษ การควบคุม รวมทั้งการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนในฐานะที่เป็นพลเมืองของชาติเพื่อประโยชน์ในการแก้ไขและปรับปรุงเปลี่ยนทัศนคติผู้ทำความผิดให้เป็นคนดี ตลอดจนปฏิบัติตามนโยบายของรัฐบาลที่สอดคล้องกับภาวะทางสังคมและเศรษฐกิจ
ขอบเขตและความหมายของงานราชทัณฑ์
ราชทัณฑ์ หมายถึง โทษหลวง คือโทษซึ่งพระเจ้าแผ่นดินเป็นผู้มีอำนาจใช้ควบคุมผู้ทำความผิดเพื่อการลงโทษและฟื้นฟูจิตใจ และใช้แรงงานเพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อสังคมต่อมาความเปลี่ยนแปลงทางสังคมมีผลให้ขอบเขตงานกว้างขวางขึ้นจึงต้องขยายขอบเขตไปถึงการดำเนินงานแก้ไขพฤติกรรม เช่น การใช้ระบบบ้านกึ่งวิถี การคุมประพฤติ เป็นต้น ไม่ว่าจะเป็นไปในวิธีใดก็เพื่อแก้ไขให้ผู้ทำความผิดกลับตนเป็นคนดีมีประโยชน์ต่อบ้านเมือง ไม่กลับไปทำความผิดอีก ตาม พรบ. กักกันผู้มีสันดานเป็นผู้ร้าย และ พรบ. (CCTV)จักการฝึกอบรมเด็กบางจำพวก ได้กำหนดอำนาจหน้าที่ความรับผิดชอบ ดังนี้
- ควบคุม กักขังผู้ทำความผิดไว้ไม่ให้หลบหนี
- แก้ไข อบรมผู้ต้องขังให้กลับตัวเป็นคนดี
- ฝึกอาชีพให้แก่ผู้ต้องขัง
วัตถุประสงค์และวิธีการในงานราชทัณฑ์
ผู้ศึกษามักประสบกับปัญหาการตัดสินถึงความเหมาะสมหรือวิธีการต่าง ๆ ที่จะนำมาแก้ไขผู้ทำความผิด เพื่อให้สำเร็จตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ ถึวงแม้ว่าจะยึดหลักมนุษยธรรมและปฏิบัติตามความคิดแนวฟื้นฟู อบรมจิตใจเพื่อป้องกันสังคมในอนาคต
วิวัฒนาการของงานราชทัณฑ์ในประเทศไทย
ในประเทศไทยงานราชทัณฑ์มีความสอดคล้องกับการปกครองและการเปลี่ยนแปลงทางสังคม การเมืองและเศรษฐกิจ ในประเทศไทยงานราชทัณฑ์แบ่งออกเป็น ก่อนรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า สมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าจนถึงสมัยเปลี่ยนแปลงการปกครอง และสมัยเปลี่ยนแปลงการปกครองจนถึงปัจจุบัน
วิวัฒนาการของการลงโทษผู้กระทำความผิดในประเทศไทย
ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันมีวิวัฒนาการคล้ายคลึงกับรูปแบบและวิธีการลงโทษผู้ทำความผิดในอารยประเทศ ดังนี้
- การลงโทษประหารชีวิต
- การลงโทษที่ก่อให้เกิดความเจ็บปวดทรมานแก่เนื้อตัวร่างกายของผู้ทำความผิด
- การเนรเทศหรือส่งตัวไปต่างถิ่น
- โทษจำคุก
- โทษปรับ
- โทษริบทรัพย์สิน
- โทษกักขัง
เรือนจำหรือทัณฑสถาน เป็นหน่วยงานที่มีหน้าที่ปรับปรุงแก้ไขพฤติกรรมผู้ทำความผิดเพื่อให้เกิดการเชื่อฟังและเคารพในระเบียบวินัย พร้อมให้การศึกษาอบรมเพื่อสร้างทัศนคติที่ดี และการพัฒนาในพฤติกรรม เพื่อประโยชน์ของตนเองและสังคม วิธีการปฏิบัติต่อผู้ทำความผิดเป็นรายบุคคลเพื่อปรับสภาพจิตใจ เพื่อการบำบัด พร้อมทั้งความร่วมมือเพื่อการสงเคราะห์ผู้ทำความผิดได้ปรับตัวสู่สังคมอย่างปกติสุข
ติดตามข่าวสารที่ LINE : @cctcbangkok
|