การปฏิบัติต่อผู้ต้องขัง
บุคคลซึ่งถูกพิพากษาตามคำสั่งศาลให้ได้รับโทษ ในการปฏิบัติต่อผู้ต้องขังควรเน้นให้เห็นว่า ไม่ใช่เป็นการกีดกันให้ออกห่างจากสังคม แต่ยังคงเป็นส่วนหนึ่งของสังคม สมควรจะสนับสนุนช่วยเหลือในการฟื้นฟูจิตใจผู้ต้องขังให้กลับสู่สังคมตามปกติ เพื่อช่วยเหลือส่งเสริมความสัมพันธ์อันดีระหว่างผู้ต้องขังกับครอบครัวและสังคม และผลประโยชน์ทางสังคมอย่างอื่นของผู้ต้องขัง
ขอบเขตของการปฏิบัติต่อผู้ต้องขัง
ในการปฏิบัตินั้นมีขอบเขตแห่งการฟื้นฟูและพัฒนาบุคลิกภาพของผู้ต้องขัง โดยเน้นการแก้ไขทั้งสภาพร่างกาย จิตใจ สถานภาพทางสังคมและอาชีพของผู้ต้องขัง ทั้งนี้เพื่อให้เกิดความสำนึกรับผิดชอบ ดำเนินชีวิตอย่างสุจริตและต้องคำนึงถึงคุณค่า ศักดิ์ศรีของความเป็นคนอีกทั้งการให้บริการเกี่ยวกับปัจจัยสี่และการางเคราะห์ที่จำเป็น
รูปแบบและวิธีปฏิบัติต่อผู้ต้องขัง
เป็นการผสมผสานทั้งภาคทฤษฎีและปฏิบัติ เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ของการดำเนินงานในเรือนจำมีการกำหนดนโยบายอย่างชัดเจน การฝึกอบรมวิชาชีพและวิชาการ การควบคุมให้อยู่ในระเบียบวินัยแก่ผู้ต้องขังและจะต้องให้สอดคล้องกันเพื่อประโยชน์แก่ตัวผู้ต้องขัง รูปแบบการปฏิบัติต่อผู้ต้องขังมี ดังนี้
การควบคุมผู้ต้องขัง
การควบคุมผู้ต้องขัง สามารถแบ่งออกเป็น 3 ระดับ
ปัญหาและอุปสรรคในการบริหารเรือนจำ
ในการใช้ระบบเรือนจำควบคุมผู้ต้องขังไว้เพื่อดำเนินการแก้ไข ฝึกอบรมและฟื้นฟูจิตใจ ยังมีอุปสรรคและข้อขัดข้องจากความขัดแย้งกันระหว่าการลงโทษกับการแก้ไข ได้มีนักทัณฑวิทยากล่าวไว้ว่า “ การจำคุกจะเป็นที่ยอมรับกันว่าเป็นการกำหนดโทษต่อเมื่อมาตรการอื่น ๆ ที่ใช้ปฏิบัติต่อผู้ทำผิดประสบความล้มเหลว หรือได้รับการพิจารณาว่าไม่เหมาะสม”
ราชทัณฑ์เป็นหน่วยงานสุดท้ายของกระบวนการยุติธรรมโดยมีเรือนจำและทัณฑสถานทำหน้าที่หลักในการปฏิบัติต่อผู้ทำความผิดตามคำพิพากษาของศาล ประกอบด้วย การลงโทษ การควบคุม การให้การศึกษาอบรมวิชาชีพ การบำบัดรักษา การสงเคราะห์ รวมทั้งการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนในฐานะที่เป็นพลเมืองของชาติ เพื่อประโยชน์ในการแก้ไขเปลี่ยนทัศนคติเป็นรายบุคคล
ติดตามข่าวสารที่ LINE : @cctcbangkok
|